Highlights
ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 2/2562 (เมษายน-มิถุนายน) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยดัชนีมีค่า 65.4 และ 64.2 ตามลำดับจากความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 303 ราย มีรายละเอียด ดังนี้
ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2/2562 (เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้นร้อยละ 39.6 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 51.5 และลดลงร้อยละ 8.9 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 2/2562 มีค่าเท่ากับ 65.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1/2562 ที่ระดับ 62.4 แสดงว่าผู้ส่งออกมีมุมมองว่าการส่งออกจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป
สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออก ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 2/2562 (เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้นร้อยละ 36.2 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 56.0 และลดลงร้อยละ 7.8 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีค่าเท่ากับ 64.2 แสดงว่า ผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามความต้องการของประเทศคู่ค้า
สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป
สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นและผลผลิตน้อยลงกว่าปี 2561
ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนมีนาคม 2562 เท่ากับ 52.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 46.9 และมีค่าสูงกว่าระดับ50 แสดงว่าผู้ส่งออกมีมุมมองที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อภาวะการส่งออกของไทย โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 303 รายมีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้
ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนมีนาคม 2562 มีค่าเท่ากับ 55.8 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกยังมีทิศทางที่ดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญปรับเพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และจีน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็ง และแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนมีนาคม 2562 มีค่าเท่ากับ 54.1 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และภาวะภัยแล้ง ทำให้สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรหลายตัว เป็นที่ต้องการของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น
สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็ง และแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ดัชนีการจ้างงาน เดือนมีนาคม 2562 มีค่าเท่ากับ 49.1 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกบางอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ไม่มีวัตถุดิบในสายการผลิต จึงลดจำนวนแรงงานลง และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต จึงลดการใช้แรงงานลงเช่นกัน
สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าและชิ้นส่วน
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) ผลิตภัณฑ์ยาง และยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนมีนาคม 2562 มีค่าเท่ากับ 50.5 ซึ่งสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อรอการส่งมอบ
สินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ ลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน
ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก
- อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทแข็งค่าขึ้นและมีความผันผวนสูงในช่วงระหว่างเดือน เมื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท และทำให้รายได้ของภาคการส่งออกลดลง และทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
- การนำเข้าวัตถุดิบ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก บริษัทไม่สามารถคุมต้นทุนได้ ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาของบริษัทและความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
- การขนส่งทางเรือโดยตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) จำนวนเรือไม่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้า
- เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ทำให้วางแผนการค้ากับต่างประเทศยากขึ้น
- สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีผลกระทบทำให้ขายสินค้าได้น้อยลงโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม เช่น อิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) โดยเฉพาะกลุ่ม Smart Phone
- ภาษีสรรพสามิตออกมาแล้วมีปัญหากับผู้ประกอบการส่งออก เช่น น้ำมันหล่อลื่น ทำให้ยอดขายลดลง เนื่องจากปัญหาความล่าช้าของขั้นตอนทางราชการ ทำให้เสียโอกาสและเสียเปรียบคู่แข่งทางการค้า
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและเกิดภาวะแห้งแล้ง ทำให้การควบคุมผลผลิตให้ได้มาตรฐานยากขึ้น
ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้
- ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
- ลดขั้นตอนการส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่ต้องใช้ใบอนุญาต จากระบบ Manual ให้เป็นระบบ Electronic แทน
- ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้มากขึ้นในอาเซียน และผลักดันให้นำเข้าอย่างถูกต้อง
- ดูแลมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเฉพาะมาตรการภาษีนำเข้า ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตทำให้ปริมาณ การส่งออกลดลง และควรมีการหารือกับผู้ส่งออกที่เสียโอกาสทางการค้า
- ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางการค้า ทางภาษีใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ
- เจรจากับประเทศคู่ค้าในอาเซียน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ยกเว้น VAT นำเข้าสินค้าเกษตร และสำหรับสินค้าเครื่องจักรกล การเกษตร ควรให้มีการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825
www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th