ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 102.80 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1. เดือนกรกฎาคม 2562 (MoM) ลดลง -0.19 2. เดือนสิงหาคม 2561 (YoY) สูงขึ้น 0.52 3. ระยะ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค) ปี 2562 เทียบกับ สูงขึ้น 0.87
ช่วงเดียวกันของปี 2561 (AoA)
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนสิงหาคม 2562 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (YoY) ชะลอตัวจากร้อยละ 0.98 ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้ากลุ่มอาหารสดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวร้อยละ 5.15 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไข่ ผักและผลไม้ ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 5.16 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงต่อเนื่องกัน 4 เดือน ซึ่งเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.49 เงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2562 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 สูงขึ้นร้อยละ 0.87 (AoA)
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า ปี 2562 (ณ เดือนมิถุนายน 2562) เงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-1.3 (YoY) (ค่ากลาง 1.0)
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนสิงหาคม 2562 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ -0.19 (MoM) (กรกฎาคม 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.06) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดงร้อยละ -0.30 ตามการลดลงของ ผักและผลไม้ ร้อยละ -3.96 โดยเฉพาะผักสด ลดลงร้อยละ -9.57 อาทิ กะหล่ำปลี แตงกวา พริกสด คะน้า ผลไม้สด ลดลงร้อยละ -0.72 อาทิ ทุเรียน เงาะ มังคุด เป็นฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ -0.50 อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด กุ้งขาว ผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก ประกอบกับเกิดโรคระบาดในสุกร ความต้องการบริโภคลดลง เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ -0.30 อาทิ กาแฟผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มรสชอกโกแลต และชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม อาหารบริโภคนอกบ้าน ลดลงร้อยละ -0.13 (อาหารแบบตะวันตก (เฟรนด์ฟราย)) จัดโปรโมชั่น ขณะที่ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 3.25 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว ความต้องการมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดน้อย ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.97 โดยเฉพาะไข่ไก่ ไข่เป็ด ปรับสูงขึ้นตามต้นทุน รวมทั้ง นมข้นหวาน นมผง ราคาปรับสูงขึ้น เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 0.08 อาทิ น้ำปลา ซอสหอยนางรม และเครื่องปรุงรส อาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.16 อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.13 ตามการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท (ยกเว้นก๊าชยานพาหนะ (LPG) ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย) โดยลดลงร้อยละ -1.89 ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.58 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.03 อาทิ กระโปรงเด็ก รองเท้าและเสื้อยกทรงสตรี หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.01 ตามการลดลงของสุรา และไวน์ ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (แชมพู โฟมล้างหน้า ผ้าอนามัย) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.04 ตามการสูงขึ้นของค่าเช่าบ้านเป็นสำคัญ ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 0.27 ตามราคาค่าโดยสารรถตู้ วิ่งภายในจังหวัดที่ทยอยปรับขึ้น และค่าโดยสารเครื่องบิน หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา สูงขึ้น 0.06 ตามการสูงขึ้นของเครื่องถวายพระเป็นสำคัญ
2. เทียบเดือนสิงหาคม 2561 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.52 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.63 ตามการสูงขึ้นของผักและผลไม้ ร้อยละ 7.23 โดยเฉพาะ ผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 8.69 (ฝรั่ง มะม่วง สับปะรด) ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 4.99 ( มะนาว พริกสด มะละกอดิบ) ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับราคาฐานปีที่ผ่านมาต่ำ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 7.06 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวมีน้อย ขณะที่ความต้องการมีอย่างต่อเนื่อง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 3.63 (เนื้อสุกร ปลานิล ไก่ย่าง) ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.82 (ไข่ไก่ นมสด นมเปรี้ยว) อาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวราดแกง) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม น้ำผลไม้) ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -0.90 จากการลดลงของ น้ำมันพืช ซีอิ๊ว มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.67 ตามการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ร้อยละ -8.15 (ยกเว้นก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าชยานพาหนะ (LPG) สูงขึ้นเล็กน้อย) ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -2.22 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.09 (รองเท้า เสื้อผ้าบุรุษและสตรี) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ -0.03 โดยเฉพาะของใช้ส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) จากการส่งเสริมการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 6.19 สูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.30 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.79 (ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (สุรา และเบียร์)
3. เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2562 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.87 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.48 จากการสูงขึ้นของทุกหมวดสินค้า โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 4.61 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 4.07 โดยเฉพาะเนื้อสุกร ราคายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 1.21 (ไข่ไก่ นมผง นมสด) ผักและผลไม้ ร้อยละ 5.61 (พริกสด มะนาว มะเขือ) เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 1.31 (กะปิ ซอสมะเขือเทศ เกลือป่น) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.70 (กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) ส่วนอาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.77 และ 1.50 ตามลำดับ
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.04 ตามการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -3.11 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.04 ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่ง การสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.72 ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 3.32 หมวดเคหสถาน และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นในอัตราเท่ากันที่ร้อยละ 0.47 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.15 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.14 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.01
คาดการณ์เงินเฟ้อ ปี 2562 อยู่ระหว่าง 0.7 - 1.3 (YoY) (ค่ากลาง 1.0)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.3 - 3.8 % (สศช.)
ราคาน้ำมันดิบดูไบ 60 - 70 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
อัตราแลกเปลี่ยน 31.0 - 32.0 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
ราคาพลังงาน ยังคงมีความผันผวนในโครงสร้างการผลิตและความต้องการของตลาดโลก รวมทั้งบริบททางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคต่าง ๆ
การลงทุน มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีสัญญาณจากความคืบหน้าการลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ความต่อเนื่องของโครงการเดิม แต่ยังมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ตามแผน
ราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการยังคงมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
ราคาสินค้อุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมหลายตัวที่ผลิตในประเทศมีสัญญาณต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันจาก การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการนำเข้า การส่งออก มีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่โอกาสในการย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออกหลายชนิดมายัง ประเทศไทยยังมีอยู่สูง
ค่าเงินบาท มีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงปริมาณเงิน ทุนไหลเข้าในประเทศ
อื่น ๆ - การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คาดว่าจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อเงินเฟ้อมากนัก แต่อาจจะส่งผลกระทบทางอ้อมใน กรณีที่มีการปรับค่าแรงในระดับอื่นๆ ตามการปรับค่าสาธารณูปโภค รวมทั้งภาษีต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการ คาดการณ์ เป็นต้น
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์