ดัชนีราคาส่งออก เดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 100.9 (ปี 2555 = 100) เทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 สูงขึ้นใน อัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.3 (YoY) จากผลของราคาสินค้าสำคัญบางรายการที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับคำสั่งซื้อจาก ตลาดต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ทองคำ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและ แปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และ เชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ รวมถึงทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง อาจเป็นปัจจัยกดดันต่อ ทิศทางราคาส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า
ดัชนีราคานำเข้า เดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 93.0 (ปี 2555 = 100) เทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 ลดลง ร้อยละ 0.3 (YoY) เป็นผลมาจากดัชนีราคานำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่หมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ทองคำ อุปกรณ์ ส่วนประกอบ- เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใย หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และผลิตภัณฑ์ทำจากยาง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์- ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน นาฬิกาและส่วนประกอบ
เป็นเกณฑ์วัดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าของประเทศ พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างดัชนีราคาส่งออก กับดัชนีราคานำเข้า ซึ่งอัตราการค้าของไทย ในเดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 108.5 (เดือนกรกฎาคม 2562 เท่ากับ 108.1) ซึ่งอัตราการค้ายังสูงกว่า 100 แสดงว่าประเทศไทยยังมีความสามารถทางการแข่งขันที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากราคาสินค้าส่งออก โดยรวมอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า โดยเฉพาะสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผักและผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง ปุ๋ย เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการสินค้าจากตลาดต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคาส่งออกยังคงสูงกว่าราคานำเข้าเช่นกัน
ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าส่งออกในรูปของดัชนี โดยใช้วัด การเปลี่ยนแปลงของราคาส่งออกที่ผู้ส่งออกในประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ทั้งนี้ ราคาส่งออกที่สำรวจเป็น ราคา F.O.B (Free On Broad) ครอบคลุม 4 หมวดสินค้า ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร หมวดสินค้าอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง มีจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 682 รายการ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 100.9 (ปีฐาน 2555 = 100) (เดือนกรกฎาคม 2562 เท่ากับ 101.2) โดยดัชนีราคาส่งออกเดือนสิงหาคม 2562 ในหมวดสินค้าเกษตรกรรม เท่ากับ 102.1 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม- การเกษตร เท่ากับ 106.3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 102.8 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เท่ากับ 76.8
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนสิงหาคม 2562 เมื่อเทียบกับ
2.1 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออก จำแนกตามรายหมวดสินค้า ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับลดลงทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ จากผลกระทบของสงครามการค้าที่กดดันความต้องการใช้น้ำมันให้เติบโตช้าลง นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาลดลงตามความต้องการสินค้าที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้มีการเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากสต๊อกยางในภาพรวมยังปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่า และความต้องการใช้ยางพาราใน ตลาดโลกลดลง สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าบางกลุ่มได้ปรับสูงขึ้น อาทิ ข้าว ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง โดยเฉพาะข้าวเหนียวและข้าวหอมมะลิ สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเช่นกัน ประกอบกับเกิดโรคระบาดไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง (CMD) และไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง ราคาสูงขึ้นจากผลที่สหภาพยุโรปมีการเพิ่มปริมาณโควต้าการนำเข้าจากไทย รวมถึงความต้องการบริโภคเนื้อไก่จากประเทศจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาส ที่ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อไก่ไปจีนได้มากขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง สำหรับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาลดลงเล็กน้อยเนื่องจากตลาดมีการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งทั้ง 3 ประเทศ ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเนื่องจากมีค่าแรงที่ต่ำกว่า
2.2 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกจำแนกตามรายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ไก่สด แช่เย็น- แช่แข็ง ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ทองคำ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม- การเกษตร ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มสิ่งปรุงรสอาหาร ขณะที่หมวดสินค้าที่ปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ
2.3 เทียบเฉลี่ยกับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2561 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกจำแนกรายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้น ประกอบด้วยหมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง ข้าว ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และสิ่งทอ ขณะที่หมวดสินค้าที่ปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ น้ำตาลทราย และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
ทั้งนี้ แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังคงต้องเฝ้าระวังจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่ไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก อย่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่ง ปัจจัยหนึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนและปัญหา Brexit ที่ยืดเยื้อ นอกจากนี้ มาตรการ กีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ ความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมันดิบ สินค้าเกษตรบางรายการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุปทานล้นตลาด รวมถึงความผันผวนของราคาทองคำย่อมส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย และอาจเป็นปัจจัยกดดันต่อทิศทางราคาส่งออกของไทยในอนาคตได้
ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้านำเข้าที่ผู้นำเข้าในประเทศไทย ได้จ่ายไปเพื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ราคานำเข้าที่สำรวจเป็นราคา C.I.F. (Cost, Insurance และ Freight) ครอบคลุม 5 หมวดสินค้า ได้แก่ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง หมวดสินค้าทุน หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป หมวสินค้า- อุปโภคบริโภค และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 728 รายการ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนสิงหาคม 2562 เท่ากับ 93.0 (ปีฐาน 2555 = 100) (เดือนกรกฎาคม 2562 เท่ากับ 93.6) โดยดัชนีราคานำเข้าเดือนสิงหาคม 2562 หมวดสินค้าเชื้อเพลิง เท่ากับ 66.9 หมวดสินค้าทุน เท่ากับ 104.0 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เท่ากับ 98.6 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค เท่ากับ 103.2 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เท่ากับ 96.6
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนสิงหาคม 2562 เมื่อเทียบกับ
2.1 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 (MoM) ลดลงร้อยละ -0.6 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกรายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป โดยสาเหตุหลักมาจากการรักษาระดับการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปค และปริมาณน้ำมันดิบ คงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง ส่งผลลบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ทองคำ เคมีภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น- แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้ายและเส้นใย หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการทดสอบ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และหมวดสินค้าอุปโภคและบริโภค ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ
2.2 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 (YoY) ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกรายหมวด สินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหินขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและ กึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ทองคำ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูปและ กึ่งสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใย ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก และลวดและสายเคเบิล หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และผลิตภัณฑ์ทำจากยาง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน นาฬิกาและ ส่วนประกอบ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
2.3 เทียบเฉลี่ยกับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2561 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนก รายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ การทดสอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ทองคำ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใย ลวดและสายเคเบิล พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และผ้าผืน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ถ่านหิน และเชื้อเพลิงอื่นๆ และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และจักรยาน
ทั้งนี้ แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจของไทยยังคงชะลอตัวตามการเติบโตที่ ลดลงของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่ออุปสงค์ ของสินค้าต่างๆ ในตลาด และระดับราคาสินค้านำเข้าของไทย นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ยังคงเป็นแรง กดดันหลักที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้าของไทย อย่างไรก็ดี ผลกระทบเชิงบวกในด้านค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์