ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2020 13:41 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เท่ากับ 102.70

Highlights อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.74 (YoY)ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.05 โดยมีปัจจัยจัยสำคัญจาก กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะอาหารสด (ผักสด ผลไม้สด เนื้อสุกร และข้าวสาร) ที่เป็นผลจากสถานการณ์ภัยแล้ง อาหารสำเร็จรูป และเครื่องประกอบอาหารที่หมดระยะเวลาการจัดโปรโมชั่นของห้างโมเดิร์นเทรด รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มก็ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวด (ยกเว้นพลังงานและการสื่อสาร) โดยเฉพาะ ค่าโดยสารสาธารณะ และหมวดเคหสถาน สำหรับ หมวดพลังงานกลับมาหดตัวอีกครั้ง ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ลดลงร้อยละ -3.15 เป็นผลจากสถานการณ์โลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการระบาดของไวรัสCOVID-19 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.58 (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.47) และเฉลี่ย 2 เดือน เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.89 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.53 (AoA)

1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.74(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.04จากทุกหมวดสินค้า ได้แก่ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 7.77จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียวอย่างต่อเนื่องโดยปริมาณข้าวคงเหลือน้อยลง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมูปลานิล) สูงขึ้นร้อยละ 2.44 จากความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 3.00 จากภาวะภัยแล้ง ปริมาณน้ำมีน้อย ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพของผักสดและผลไม้สด โดยผักสด(ผักคะน้า กระเทียม ผักบุ้ง ขิง หัวหอมแดง) สูงขึ้นร้อยละ 3.46 และผลไม้สด(ฝรั่ง กล้วยน้ำว้าสับปะรด ส้มเขียวหวาน) สูงขึ้นร้อยละ 1.32 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด นมเปรี้ยว) สูงขึ้นร้อยละ 0.95 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 2.56 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต) สูงขึ้นร้อยละ 2.31 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.80 และ 0.49 ตามลำดับ จาก กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ข้าวราดแกง อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ก๋วยเตี๋ยว และข้าวผัด
  • หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.01 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -0.48 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ยกเว้นก๊าซยานพาหนะ (LPG)) ลดลงร้อยละ 3.15 หมวดการสื่อสาร(เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.05 และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดบุรุษ รองเท้าหุ้มส้นหนังสตรี เสื้อยกทรงสตรี) ลดลงร้อยละ -0.01 ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่าเช่าบ้าน น้ำยารีดผ้า ผงซักฟอก) สูงขึ้นร้อยละ 0.22 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า) สูงขึ้นร้อยละ 0.38 เป็นผลจากความต้องการที่สูงขึ้นในการป้องกันการระบาดของไวรัส COVID-19หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.52 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้) สูงขึ้นร้อยละ 5.79 ขณะที่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์โดยเฉลี่ยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. เทียบกับเดือนมกราคม 2563 ลดลงร้อยละ -0.08 (MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.36 ตามการสูงขึ้นของ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาทู ปลาหมึกกล้วย) สูงขึ้นร้อยละ 0.30 ผักสด(ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาว มะเขือ ผักชี) สูงขึ้นร้อยละ 5.80 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม น้ำปลา กะทิสำเร็จรูป มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)) สูงขึ้นร้อยละ 1.31 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำดื่มบริสุทธิ์) สูงขึ้นร้อยละ 0.24 หมวดอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 0.13 และ 0.25 ตามลำดับ ขณะที่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ -0.34 จากการแข่งขันของห้างโมเดิร์นเทรดในการจัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายข้าวสารเจ้า ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง นมถั่วเหลือง) ลดลงร้อยละ -0.42จากการระบายไข่ที่ส่งออกไปตลาดต่างประเทศไม่ได้ (ฮ่องกง) จึงมีสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง มะละกอสุก มะม่วง) ลดลงร้อยละ -0.82
  • หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.33 ตามการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -0.92 จากการปรับลดราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ร้อยละ -2.95 ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ลดลงร้อยละ -0.06 การสื่อสาร (เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.01 และ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจรภายในประเทศ-ต่างประเทศ อาหารสัตว์เลี้ยง) ลดลงร้อยละ -0.24 ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อเชิ้ตสตรี เสื้อยืดเด็ก)สูงขึ้นร้อยละ 0.03 หมวดเคหสถาน(ค่าเช่าบ้าน น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยารีดผ้า) สูงขึ้นร้อยละ 0.07 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย สบู่ถูตัว) สูงขึ้นร้อยละ 0.03 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา เบียร์) สูงขึ้นร้อยละ 0.02
3.เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.89(AoA)โดยมีการเปลี่ยนแปลง
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.92 โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 8.04 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาน้ำจืด สัตว์น้ำทะเล) สูงขึ้นร้อยละ 2.98 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด) สูงขึ้นร้อยละ 1.24 ผลไม้สด(ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน แตงโม) สูงขึ้นร้อยละ 2.40 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา น้ำพริกแกง) สูงขึ้นร้อยละ 1.68 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) สูงขึ้นร้อยละ 2.13 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.72 และ 0.36 ตามลำดับ ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวแกง/ข้าวกล่อง อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) แฮมเบอร์เกอร์ และขณะที่ผักสด(ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ต้นหอม ผักชี มะนาว พริกสด) ลดลงร้อยละ -1.05
  • หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.31 ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ0.39 จากค่าโดยสารสาธารณะ(ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถตู้ ) สูงขึ้นร้อยละ 5.84 หมวดเคหสถาน(ค่าเช่าบ้าน ค่าบริการขนขยะ) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.64 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่ายา ค่าทำฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.29 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อสตรี บุรุษ) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ ไวน์) ลดลงร้อยละ -0.01 น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -0.42 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.05

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ