ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2020 14:02 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เท่ากับ 43.1

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 44.1 ในเดือนก่อนหน้าเป็นการลดลงของทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 38.9 มาอยู่ที่ระดับ 38.2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 47.6 มาอยู่ที่ระดับ 46.4

การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสาเหตุหลักคาดว่าน่าจะมาจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย พฤติกรรมการบริโภค และวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้งยังกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นวงกว้าง ทั้งในภาคการท่องเที่ยว ภาคการขนส่ง ภาคการค้าและการบริการ ภาคการผลิตและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความรุนแรงของสถานการณ์ดังกล่าว และมีมาตรการต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบในด้านต่างๆ ลงได้ในระดับหนึ่ง และหากสถานการณ์สามารถคลี่คลายลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็น่าจะช่วยให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและสถานการณ์เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าได้แก่ กลุ่มพนักงานเอกชน (ระดับ 41.0) กลุ่มผู้ประกอบการ (ระดับ 43.5) กลุ่มรับจ้างอิสระ (ระดับ 42.0) กลุ่มพนักงานของรัฐ (ระดับ 47.7) และกลุ่มนักศึกษา (ระดับ 41.3) สำหรับกลุ่มไม่ได้ทำงาน ดัชนีทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อยู่ระดับ 40.1 ในขณะที่กลุ่มเกษตรกร ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 44.3

ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มเกษตรกรที่ปรับตัวสูงขึ้น พบว่าเป็นการสูงขึ้นของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 43.5 มาอยู่ที่ระดับ 44.9 ซึ่งถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง แต่ภาครัฐมีมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในทุกมิติ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นและคลายความกังวลในปัญหาต่างๆ ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นต่อมาตรการของรัฐบาล พบว่า กลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่ โครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร และโครงการประกันภัยข้าวนาปี สูงเกินกว่าร้อยละ 90 ในทุกโครงการ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมแทบทุกภาคปรับตัวลดลงกรุงเทพฯ และปริมณฑลจากระดับ 42.5 มาอยู่ที่ระดับ 39.8 ภาคกลาง จากระดับ 46.3 มาอยู่ที่ระดับ 44.8 ภาคเหนือ จากระดับ 43.1 มาอยู่ที่ระดับ 42.3 และภาคใต้ จากระดับ 44.7 มาอยู่ที่ระดับ 42.5 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 45.1มาอยู่ที่ระดับ 45.8

เป็นที่น่าสังเกตว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยค่าดัชนีต่ำที่สุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7ติดต่อกัน

ผลการศึกษาประเด็นที่น่าสนใจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

การสำรวจความเห็นต่อค่าครองชีพในปัจจุบันผู้บริโภคมีความเห็นว่า ค่าครองชีพในปัจจุบัน

สูงร้อยละ 70.0 (สูงมาก ร้อยละ 16.5 และสูง ร้อยละ 53.5)

ปกติร้อยละ 16.7

ต่ำร้อยละ 13.3(ค่อนข้างต่ำ 10.5และต่ำมาก ร้อยละ 2.8)

ผลการศึกษาประเด็นที่น่าสนใจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ความคิดเห็นต่อมาตรการ/นโยบายของรัฐบาล

พบว่าผู้บริโภคเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ85.8(โครงการที่ผู้บริโภคเห็นด้วยมากที่สุดคือโครงการบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งร้อยละ86.7และโครงการประกันรายได้เกษตรกรร้อยละ85.7)รองลงมาได้แก่โครงการธงฟ้าเพื่อลดค่าครองชีพและการปรับเพิ่มเบี้ยคนพิการคิดเป็นร้อยละ84.5และ83.8ตามลำดับสำหรับโครงการที่ผู้บริโภคเห็นด้วยน้อยที่สุดคือโครงการชิมช้อปใช้คิดเป็นร้อยละ61.0

จำแนกรายภาค

พบว่าผู้บริโภคในกรุงเทพฯและปริมณฑลและภาคกลางเห็นด้วยกับโครงการธงฟ้าเพื่อลดค่าครองชีพมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ81.4และ84.8ในขณะที่ผู้บริโภคในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ87.991.1และ86.7ตามลำดับเป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการชิมช้อปใช้เป็นโครงการที่ผู้บริโภคในทุกภาคเห็นด้วยน้อยที่สุด

ผลการศึกษาประเด็นที่น่าสนใจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

จำแนกรายอาชีพ

พบว่าผู้บริโภคอาชีพเกษตรกรพนักงานของรัฐนักศึกษาและไม่ได้ทำงานเห็นด้วยกับกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ93.488.282.6และ81.2ตามลำดับสำหรับกลุ่มพนักงานเอกชนและผู้ประกอบการเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มเบี้ยคนพิการมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ86.5และ84.2ในขณะที่กลุ่มรับจ้างอิสระเห็นด้วยกับโครงการธงฟ้าเพื่อลดค่าครองชีพมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ87.0

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ