ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 5, 2020 14:44 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2563 เท่ากับ 99.75

Highlights อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนเมษายน 2563เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -2.99 (YoY)หดตัวแรงที่สุดในรอบ 10ปี 9 เดือน เนื่องจากการลดลงของราคาพลังงาน (ลดลงต่ำสุดในรอบ 11 ปี 2 เดือน) และมาตรการของรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (ลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) เป็นสำคัญ ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับผลผลิตและความต้องการ

เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.41 (ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.54) และเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) 2563 เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.44 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.50 (AoA)

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2562 ลดลงร้อยละ -2.99(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

  • หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -5.28 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -9.77 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท) ลดลงร้อยละ -30.85 ต่ำสุดในรอบ 11 ปี 2 เดือน (มกราคม 2552 ลดลงร้อยละ -32.40) ส่งผลให้กลุ่มพลังงาน ลดลงร้อยละ -29.31 หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -4.56 จากมาตรการของรัฐในการลดค่ากระแสไฟฟ้าส่งผลให้ค่ากระแสไฟฟ้าลดต่ำสุดที่ร้อยละ -27.79 (ลดมากกว่าผลจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพในปี 2552 ที่ลดลงร้อยละ -24.40) รวมทั้งผลจากราคาสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการลดค่าครองชีพ ได้แก่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยารีดผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น และก๊าซหุงต้มที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดการสื่อสาร(เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.05 ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(รองเท้าหุ้มส้นหนังบุรุษ เสื้อยืดสตรี เสื้อเชิ้ตบุรุษ) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย แป้งผัดหน้า แชมพูสระผม ยาสีฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.16 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.34 และค่าโดยสารสาธารณะ(ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้ ค่าโดยสารเครื่องบิน) สูงขึ้นร้อยละ 4.29 รวมทั้ง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.02
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.04 จากทุกหมวดสินค้า ยกเว้นหมวดผักสดและผลไม้ ที่ลดลงร้อยละ -4.10 จากฐานราคาปีที่ผ่านมาสูงและความต้องการบริโภคชะลอตัว ประกอบด้วย ผักสด (พริกสด มะนาว ต้นหอม ผักชี กะหล่ำปลี ผักคะน้า) ลดลงร้อยละ -9.58 ผลไม้ (เงาะ มะม่วง ลองกอง มะละกอสุก) ลดลงร้อยละ-1.71 ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 7.36 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่ย่าง ปลานิล ปลาทู) สูงขึ้นร้อยละ 1.37 ไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 5.52 มาจากพฤติกรรมการซื้อไข่ไก่ครั้งละมากๆ ทำให้สินค้าขาดตลาดบางช่วง เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 3.16 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 2.32 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.58 และ 0.32 ตามลำดับ จากกับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด แฮมเบอร์เกอร์ และปลากระป๋อง
2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2563 ลดลงร้อยละ -2.03 (MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
  • หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -3.28 หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -3.28 ตามการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -4.27 จากการลดราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ร้อยละ -15.06 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำประปา ค่าเช่าบ้าน น้ำยาล้างห้องน้ำ) ลดลงร้อยละ -4.63 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้า แชมพู ยาสีฟัน น้ำยาระงับกลิ่นกาย) ลดลงร้อยละ -0.17 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ ค่าอาหารสัตว์เลี้ยง) ลดลงร้อยละ -0.10 การสื่อสาร(ค่าเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.01 ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง กางเกงชั้นในสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.03 ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 0.26 จากการปรับค่าโดยสารเครื่องบินของสายการบินที่ยังเปิดให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศวันละ 1 เที่ยวบิน หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากงดการจำหน่ายตามมาตรการของรัฐ
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.08 ตามการสูงขึ้นของไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ครีมเทียม) สูงขึ้นร้อยละ 3.16 ผักสด (มะนาว มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ขิง กะหล่ำดอก) สูงขึ้นร้อยละ 4.14 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 0.31 ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -0.39 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่สด ปลานิล กุ้งขาว กระดูกซี่โครงหมู) ลดลงร้อยละ -0.47 ผลไม้สด(มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอสุก) ลดลงร้อยละ -1.52 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ลดลงร้อยละ -0.08 และ -0.10 ตามลำดับ จากการลดราคาอาหารจานเดียว อาหารแพ็คสำเร็จรูปของห้างสรรพสินค้ารวมทั้งร้านค้าทั่วไปลดราคาอาหารช่วยเหลือคนไทยในช่วงโควิด-19 เช่น ส้มตำ ยำประเภทต่างๆ อาหารโทรสั่ง(delivery) และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์โดยเฉลี่ยราคาไม่เปลี่ยนแปลง
4. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อจากราคาสินค้าและบริการของแต่ละภูมิภาค เทียบกับเดือนเมษายน 2562 (YoY) ลดลงทุกภูมิภาคโดยภาคใต้ลดลงมากที่สุด ร้อยละ -3.81 รองลงมาคือภาคกลาง ลดลงร้อยละ -3.50 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ -2.94 กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ลดลงร้อยละ -2.66และลดลงต่ำสุดคือภาคเหนือ ลดลงร้อยละ -2.57มาจากปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

  • มาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19มีผลทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาลดลง
  • ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการโลกที่ลดลงและสงครามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่มีข้อยุติ
  • ราคากลุ่มผักสด ที่ลดลงตามความต้องการที่ลดลง และฐานราคาที่สูงมากในปีก่อนหน้าในขณะที่สินค้าบางรายการมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยเฉพาะข้าว เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวราดแกง สำหรับไข่ไก่ถึงแม้จะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมการซื้อครั้งละมากๆ แต่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อเพียงร้อยละ 0.08 ของประเทศเท่านั้น ส่วนค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ (ค่าเช่ารถตู้) ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการปรับราคาในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
5. แนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2563

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และแนวโน้มราคาพลังงานโลก ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ (ทั้งจากด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน) ในเดือนพฤษภาคม 2563 โดยสถานการณ์ราคาพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากการตกลงเพื่อลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีแนวโน้มได้ข้อยุติ และความต้องการใช้น้ำมันของประเทศจีนและบางประเทศ ที่เริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติหลังสถานการณ์โควิด-19 ในบางประเทศเริ่มคลี่คลาย ในขณะที่ภัยแล้งอาจส่งผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด ทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น แต่จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยด้านอุปสงค์ที่ลดลงและฐานราคาสินค้าเกษตรบางชนิดที่สูงมากในปีก่อน โดยรวมแล้ว ราคาในเดือนพฤษภาคม 2563น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2563 ที่ร้อยละ (-1.0) -(-0.2) (ค่ากลางอยู่ที่ -0.6) โดยมีสมมติฐานปี 2563ดังนี้

  • ราคาน้ำมันดิบดูไบเคลื่อนไหวในช่วง35-45เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
  • อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวระหว่าง30.5-32.5บาท/เหรียญสหรัฐ
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)หดตัวร้อยละ5.8-4.8(อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย)

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ