Highlights อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม 2563เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -3.44 (YoY)หดตัวมากกว่าเดือนที่ผ่านมาที่ลดลงร้อยละ -2.99 จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ในการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา นอกจากนี้ ราคาพลังงานยังคงต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ -27.38 แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 4.17 ก็ตาม ประกอบกับกลุ่มอาหารสดลดลงร้อยละ -1.24 จากผักสดที่ลดลงร้อยละ -15.84 ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน เมื่อเทียบกับฐานราคาที่สูงที่สุดในปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับผลผลิตและความต้องการ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.01 (ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.41) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) 2563 เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -1.04 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.40 (AoA)
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
- หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.01จากหมวดผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ -8.80 ต่ำสุดในรอบ 3 ปี และฐานราคาปีที่ผ่านมาสูงรวมทั้งความต้องการบริโภคชะลอตัว ประกอบด้วย ผักสด (มะนาว ต้นหอม พริกสด มะเขือ) ลดลงร้อยละ -15.84 ผลไม้ (มะม่วง เงาะ ลองกอง ส้มเขียวหวาน) ลดลงร้อยละ -4.57 ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับผลผลิตและความต้องการ ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว) สูงขึ้นร้อยละ 6.03 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาดุก ไก่ย่าง ปลาทูนึ่ง) สูงขึ้นร้อยละ 0.48 ไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.35 ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนที่ผ่านมาจากปริมาณไข่คงเหลือสะสม เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม น้ำปลา) สูงขึ้นร้อยละ 3.37 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 2.01 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.72 และ 0.46 ตามลำดับ จากกับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด อาหารเช้า ไก่ทอด พิซซ่า
- หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -5.42 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -9.15 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) ลดลงร้อยละ -27.97 โดยปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่ลดลงร้อยละ -30.85 ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานลดลงร้อยละ -27.38 หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -5.61จากมาตรการของรัฐในการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา หมวดการสื่อสาร(เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.05ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อเชิ้ตบุรุษ กางเกงขายาวสตรี รองเท้าหุ้มส้นหนังบุรุษ) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู ค่าแต่งผมชาย น้ำยาระงับกลิ่นกาย) สูงขึ้นร้อยละ 0.24 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ (ค่าเช่ารถตู้) ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.36 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถตู้วิ่งระหว่างอำเภอ ค่าโดยสารเครื่องบิน) สูงขึ้นร้อยละ 0.42 รวมทั้ง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.02
- หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.02 ตามการสูงขึ้นของผักสด (ผักชี ต้นหอม พริกสด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว) สูงขึ้นร้อยละ 8.92 อาหารบริโภค-ในบ้านและนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.14 และ 0.02 ตามลำดับ จากราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารแพ็คสำเร็จรูปที่หมดโปรโมชั่น รวมทั้งอาหารจานเดียวต่างๆ เช่น ส้มตำ ยำประเภทต่างๆ อาหารตามสั่ง ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -0.69 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ปลานิล ไก่ย่าง ปลาหมึกกล้วย ไก่สด) ลดลงร้อยละ -0.40ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ครีมเทียม ไข่เป็ด) ลดลงร้อยละ -2.91 ผลไม้สด (เงาะ มะม่วง ส้มเขียวหวาน มังคุด) ลดลงร้อยละ-2.98 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรมน้ำปลา)ลดลงร้อยละ -0.21และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม กาแฟ(ร้อน/เย็น) น้ำผลไม้) ลดลงร้อยละ -0.17
- หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นคือ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.05 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทุกชนิด ยกเว้น น้ำมันดีเซล ก๊าชยานพาหนะ (LPG)หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ เครื่องรับโทรทัศน์ค่าอาหารสัตว์เลี้ยง) สูงขึ้นร้อยละ 0.10 ขณะที่มีสินค้าและบริการที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่าน้ำประปา น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก) ลดลงร้อยละ -1.12 ขณะที่สินค้าและบริการในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าการสื่อสาร หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
- หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -2.38 ตามการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำประปา) ลดลงร้อยละ -1.94 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -4.67 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -15.73 และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.05 ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(รองเท้าหุ้มส้นหนังบุรุษ กางเกงขายาวสตรี เสื้อยืดสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย แชมพู โฟมล้างหน้า) สูงขึ้นร้อยละ 0.27 หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.49 ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้) สูงขึ้นร้อยละ 4.38 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.01
- หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.28 ตามการสูงขึ้นของข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 7.42 จากปริมาณผลผลิตในท้องตลาดลดลง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลานิล กระดูกซี่โครงหมู ไก่ย่าง) สูงขึ้นร้อยละ 1.92 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ไข่เป็ด นมสด) สูงขึ้นร้อยละ 2.37 ผลไม้สด (กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง สับปะรด) สูงขึ้นร้อยละ 0.13 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 2.53 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 2.17 อาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด) สูงขึ้นร้อยละ 0.70 และอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ข้าวราดแกง) สูงขึ้นร้อยละ 0.38 ขณะที่สินค้าในกลุ่มผักสด (พริกสด มะนาว ต้นหอม กะหล่ำปลี ผักชี) ลดลงร้อยละ -7.21
การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อจากราคาสินค้าและบริการของแต่ละภูมิภาค เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2562 (YoY) ลดลงทุกภูมิภาคโดยมีลำดับการปรับตัวลดลงดังนี้ (1) ภาคใต้ ลดลงร้อยละ 3.97(2) ภาคกลาง ลดลงร้อยละ 3.77(3) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลดลงร้อยละ 3.30(4) ภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 3.23และ (5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ3.15มาจากปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- มาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19มีผลทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาลดลง
- ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงจาก ผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก
- ราคากลุ่มผักสด ที่ลดลงตามความต้องการที่ลดลง และฐานราคาที่สูงมากในปีก่อนหน้าในขณะที่ปัจจัยบวกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกิดจากค่าเช่ารถตู้เป็นหลัก รวมถึงราคาอาหารสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคกลาง สำหรับภูมิภาคอื่นๆ ได้รับปัจจัยบวกจากข้าวสารเหนียวและอาหารสด
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนยังคงเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ทั้งจากด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน) โดยสถานการณ์ราคาพลังงานโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการตกลงการลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และความต้องการใช้น้ำมันของหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติหลังสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ อาทิ การลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ที่ยังคงมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน จะเป็นปัจจัยทอนต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศ ขณะที่ภัยแล้งอาจส่งผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด ทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น แต่จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยด้านอุปสงค์ที่ลดลงและฐานราคาสินค้าเกษตรบางชนิดที่สูงมากในปีก่อน
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2563 ที่ร้อยละ (-1.0) -(-0.2) (ค่ากลางอยู่ที่ -0.6) โดยมีสมมติฐานปี 2563ดังนี้
- ราคาน้ำมันดิบดูไบ เคลื่อนไหวในช่วง 35 -45เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
- อัตราแลกเปลี่ยน เคลื่อนไหวระหว่าง 30.5 -32.5บาท/เหรียญสหรัฐ
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)ร้อยละ (-5.8) -(-4.8)
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์