ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2563 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 3, 2020 10:02 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2563เท่ากับ 101.32

Highlight: อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -1.57 (YoY)หดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่ลดลงร้อยละ -3.44 จากมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าที่เยียวยาช่วงโควิด-19 ส่วนหนึ่งสิ้นสุดลง รวมถึงราคาพลังงานที่ลดลงในอัตราที่ลดลงที่ร้อยละ -11.89 ขณะที่อาหารสด (ผักและผลไม้) ลดลงร้อยละ -1.10 ส่วนราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับผลผลิตและความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงของการปลดล็อกมาตรการโควิด-19 ตามลำดับ เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน เงินเฟ้อพื้นฐานหดตัวร้อยละ -0.05 และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.)เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -1.13 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.32 (AoA)

เงินเฟ้อรายไตรมาส ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -2.67 และลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ -2.11

1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 (YoY)ลดลงร้อยละ -1.57

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

  • หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -2.53 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -5.06โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) ลดลงร้อยละ -16.14โดยปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่ลดลงร้อยละ -27.97 ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานลดลง ร้อยละ -11.89 หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -1.70หดตัวลดลงจากการสิ้นสุดมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาบางส่วน หมวดการสื่อสาร(เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.04 รวมทั้งการลดลงของหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจรใน-ต่างประเทศ ค่าห้องพักโรงแรม) ร้อยละ -0.29ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อเชิ้ต/เสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ) สูงขึ้นร้อยละ 0.09หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถตู้วิ่งระหว่างอำเภอ ค่าโดยสารเครื่องบิน) สูงขึ้นร้อยละ 0.40 ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.06 จากข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว) สูงขึ้นร้อยละ 5.52 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม น้ำปลา) สูงขึ้นร้อยละ 3.40 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 1.95 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.78 และ 0.42 ตามลำดับ จากกับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด อาหารเช้า อาหารแบบตะวันตก ขณะที่สินค้าปรับตัวลดลง ได้แก่ หมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ -6.28จากการบริโภคชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยผักสด (พริกสด มะนาว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี) ลดลงร้อยละ -4.88 ผลไม้ (เงาะ ส้มเขียวหวาน มะม่วง) ลดลงร้อยละ -9.51เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ไก่ย่าง กุ้งขาว ไก่สด ปลานิล ปลากะพง) ลดลงร้อยละ -0.19 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด) ลดลงร้อยละ -1.60
2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2563(MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.56โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.20 ตามการสูงขึ้นของข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า) ร้อยละ 0.38 หมวดผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 2.02 ประกอบด้วยผักสด (ต้นหอม ผักชี กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว) สูงขึ้นร้อยละ 4.36 ผลไม้สด (ฝรั่ง มะม่วง ชมพู่ กล้วยน้ำว้า) สูงขึ้นร้อยละ 0.14 และอาหารบริโภค-ในบ้าน (ส้มตำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยำประเภทต่าง ๆ)สูงขึ้นร้อยละ 0.07 ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ไก่ย่าง ปลานิล ปลากะพง หมูยอ) ลดลงร้อยละ -0.05 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด) ลดลงร้อยละ -1.77 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ้ว เครื่องปรุงรส) ลดลงร้อยละ -0.22 และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ลดลงร้อยละ -0.01รวมทั้งอาหารบริโภค-นอกบ้าน (อาหารเย็นอาหารตามสั่ง) ลดลงร้อยละ -0.01
  • หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.40 โดยมีสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นคือ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 2.60 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ยกเว้นก๊าซเติมยานพาหนะ LPGและ NGVหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม) สูงขึ้นร้อยละ 4.15 และค่าโดยสารสาธารณะ (รถเมล์เล็ก/รถสองแถว จักรยานยนต์รับจ้าง) สูงขึ้นร้อยละ 0.21ขณะที่สินค้าและบริการที่มีราคาลดลง ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวสตรี เสื้อยกทรง กระโปรงสตรี) ลดลงร้อยละ -0.19 การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ลดลงร้อยละ -0.17 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าห้องพักโรงแรม ค่าอาหารสัตว์เลี้ยง) ลดลงร้อยละ -0.02 หมวดการสื่อสารและหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
3. เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)ลดลงร้อยละ -1.13โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
  • หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -2.41 ตามการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ลดลงร้อยละ -1.90 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -4.73ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -15.79และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.04 ขณะที่สินค้าและบริการปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อเชิ้ต เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เสื้อยืดสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย แชมพู ยาสีฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.26หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.36ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้) สูงขึ้นร้อยละ 3.69และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.01
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.09 ตามการสูงขึ้นของข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 7.11จากความต้องการของตลาดมีมากขึ้นตามลำดับ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลานิล ปลาดุก ปลาทู) สูงขึ้นร้อยละ 1.56ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ไข่เป็ด นมสด) สูงขึ้นร้อยละ 1.70 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 2.67เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 2.13 อาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด) สูงขึ้นร้อยละ 0.72และอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ข้าวราดแกง) สูงขึ้นร้อยละ 0.39ขณะที่สินค้าในหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ -2.85 ประกอบด้วยผักสด (พริกสด มะนาว ต้นหอม กะหล่ำปลี มะเขือเทศ) ลดลงร้อยละ -6.78และผลไม้สด (ลองกอง เงาะ มะม่วง มังคุด) ลดลงร้อยละ -1.57
4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2563เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลงร้อยละ -2.67โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
  • หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -4.42 หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -4.42 ตามการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ลดลงร้อยละ -3.96 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -8.01 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ -25.16 และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.05 ขณะที่สินค้าและบริการปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อเชิ้ต รองเท้าหุ้มส้นหนังบุรุษ เสื้อยึดสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย แชมพู ยาสีฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.14 ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้) สูงขึ้นร้อยละ 1.67 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.01
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.36 ตามการสูงขึ้นของข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 6.30 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาดุก ปลานิล กระดูกซี่โครงหมู) สูงขึ้นร้อยละ 0.55 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ไข่เค็ม) สูงขึ้นร้อยละ 0.59 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 3.31 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 2.09 อาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.69 และ 0.40 ตามลำดับ อาทิเช่น กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัดขณะที่สินค้าในหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ -6.45 ประกอบด้วยผักสด (พริกสด มะนาว ต้นหอม กะหล่ำปลี มะเขือเทศ) ลดลงร้อยละ -10.27 และผลไม้สด (ลองกอง เงาะ มะม่วง มังคุด) ลดลงร้อยละ -5.34
5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2563เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ)ลดลงร้อยละ-2.11โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
  • หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -3.41 ตามการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -5.13 ตามการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -17.02 การสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.02 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน) ลดลงร้อยละ -4.08 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้า ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (แพมเพิส) น้ำยาระงับกลิ่นกาย) ลดลงร้อยละ -0.08 และหมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา(ค่าทัศนาจรใน-ต่างประเทศ) ลดลงร้อยละ -0.15ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง กางเกงชั้นในสตรี เสื้อเชิ้ตสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.01และค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 0.28รวมถึงหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (เบียร์) สูงขึ้นร้อยละ 0.02
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.11 จากผักสด(ผักชี ถั่วฝักยาว มะนาว ต้นหอม) สูงขึ้นร้อยละ 10.52 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ครีมเทียม) สูงขึ้นร้อยละ 0.49 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 0.89 และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำผลไม้ น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูป)สูงขึ้น ร้อยละ 0.03 รวมทั้งอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป อาหารสั่งโทรสั่ง (Delivery)) สูงขึ้นร้อยละ 0.04ขณะที่สินค้าที่ลดลง ได้แก่ ผลไม้สด (มะม่วง เงาะ ฝรั่ง แตงโม) ลดลงร้อยละ -3.80 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลไม้บางชนิดออกสู่ตลาด เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่ย่าง ไก่สด ปลานิล กุ้งขาว) ลดลงร้อยละ -1.1 เนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา ทำให้ความต้องการบริโภคชะลอตัว ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) ลดลงร้อยละ -0.69 และ อาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ลดลงร้อยละ -0.05
6. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค ดังนี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาคพบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลงในทุกภาค โดยมีลำดับการปรับตัวลดลง ดังนี้

(1)ภาคใต้ ลดลงร้อยละ 2.26

(2)ภาคกลาง ลดลงร้อยละ 1.63

(3)กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลดลงร้อยละ 1.58

(4)ภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 1.24

(5)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 1.16

รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาในส่วนภูมิภาคเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามแรงกดดันของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดจากผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก และมาตรการเยียวยาของภาครัฐในการอุดหนุนค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของทุกภูมิภาคปรับตัวลดลง ขณะที่ปัจจัยบวกในภาคกลาง และกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกิดจากอาหารสำเร็จรูปเป็นหลักสำหรับภูมิภาคอื่นๆ ได้รับปัจจัยบวกจากข้าวสารและอาหารสด

7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3ปี 2563

อัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3ปี 2563มีแนวโน้มหดตัวน้อยลง จากมาตรการปลดล็อกดาวน์ที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคในประเทศที่น่าจะปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และความต้องการใช้น้ำมันของหลายประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติหลังสถานการณ์โควิด-19

อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ อาทิ การลดค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สหุงต้ม รวมถึงปัจจัยด้านอุปสงค์ที่ลดลงและฐานราคาสินค้าเกษตรบางชนิดที่สูงมากในปีก่อนจะเป็นปัจจัยทอนต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ทั้งปี 2563ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนี้

เดิม ร้อยละ (-1.0) -(-0.2) (ค่ากลางอยู่ที่ -0.6)

เป็น ร้อยละ (-1.5) -(-0.7) (ค่ากลางอยู่ที่ -1.1)

โดยมีสมมติฐานปี 2563 ดังนี้
  • ราคาน้ำมันดิบดูไบเคลื่อนไหวในช่วง35-45เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
  • อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวระหว่าง30.5-32.5บาท/เหรียญสหรัฐ
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)หดตัวร้อยละ(-8.6)-(-7.6)(อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย)

หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจมีการทบทวนกรอบการคาดการณ์เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์อีกครั้งในระยะต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ