ดัชนีราคาส่งออก เดือนกรกฎาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.0 (YoY)หดตัวน้อยลงต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยหลักจากผลของราคาน้ำมันดิบโลกทยอยปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับความต้องการสินค้าจากตลาดต่างๆ กลับมาฟื้นตัวเนื่องจากหลายประเทศมีการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น ส่งผลให้หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงในอัตราน้อยลงที่ร้อยละ 26.4 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูปน้ำมันดิบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และหมวดสินค้าเกษตรกรรม ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.2 และ 0.9 ตามลำดับ ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการบริโภคสินค้าประเภทอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลของต้นทุนค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมาก
ดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.4 (YoY)หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นหลัก ลดลงร้อยละ 21.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากตลาดราคาน้ำมันดิบโลกลดลงจากปีก่อนหน้า ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ ทองคำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชอื่น ๆ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับอัญมณีผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และกาแฟ ชา เครื่องเทศ และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ
แนวโน้มราคาส่งออก-นำเข้าของไทยปี 2563 คาดว่าจะต่ำกว่าปีก่อนหน้า แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1) เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ทำให้ความต้องการสินค้าสำคัญของโลกชะลอตัว 2) ราคาน้ำมันดิบโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 3) ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาส่งออก-นำเข้าสูงขึ้น ได้แก่ 1) ปัญหาภัยธรรมชาติส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตร และสินค้าเกษตรแปรรูปสูงขึ้น 2) การปรับตัวสูงขึ้นชั่วคราวของราคาทองคำ 3)การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ของหลายประเทศ ทำให้การส่งออก-นำเข้าสินค้าขยายตัวดีขึ้น และ 4) ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น
อัตราการค้าของไทย ในเดือนกรกฎาคม 2563 เท่ากับ 109.6(เดือนมิถุนายน 2563 เท่ากับ 110.1)ทั้งนี้ อัตราการค้ายังสูงกว่า 100 แสดงว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถทางการแข่งขันที่ดี โดยกลุ่มสินค้าที่ไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผักและผลไม้ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาที่ได้รับจากการส่งออก ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ เนื่องจากคุณภาพสินค้ามีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมทั้งทองคำ ราคาส่งออกเป็นไปตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งในปัจจุบันต่ำกว่าราคานำเข้า ที่มีการนำเข้าเพื่อรอการเก็งกำไรในช่วงต่อไปตามวัฏจักรราคาทองคำขาขึ้น เป็นต้น
1. ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกรกฎาคม 2563 เท่ากับ 100.2 (ปีฐาน 2555 =100) (เดือนมิถุนายน 2563 เท่ากับ 99.6) โดยดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าเกษตรกรรม เท่ากับ 103.5 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เท่ากับ 108.9 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 102.5 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เท่ากับ 58.7
2.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ตามทิศทางการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ เม็ดพลาสติกเหล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ตามราคาสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และทองคำ ตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามามากขึ้น และความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 6.7 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในหลายประเทศ ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ น้ำตาลทราย โดยได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่ม ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 26.4 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.8 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการสินค้าที่ลดลงจากผลกระทบการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับสินค้าบางกลุ่มเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูปซึ่งเป็นไปตามความต้องการบริโภคสินค้าประเภทอาหารจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรมสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการของตลาดคู่ค้าที่มีอย่างต่อเนื่อง
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 25.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงก่อนหน้า และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.7 ร้อยละ 25.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงก่อนหน้า และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.7 ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นผลจากความต้องการสินค้าชะลอตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาปิโตรเลียม ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการสินค้าที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการสินค้าในหมวดอาหารที่ขยายตัว เพื่อป้องกันภาวะการขาดแคลนสินค้าภายในประเทศ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
1. ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกรกฎาคม 2563 เท่ากับ 91.4 (ปีฐาน 2555 =100) (เดือนมิถุนายน 2563 เท่ากับ 90.5) โดยดัชนีราคานำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิง เท่ากับ 55.4 หมวดสินค้าทุน เท่ากับ 104.8 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เท่ากับ 99.8 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค เท่ากับ 104.6 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เท่ากับ 95.6
2.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังจากหลายประเทศทั่วโลกเริ่มคลายมาตรการปิดเมือง และรัฐบาลในหลายประเทศเริ่มส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงานมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ ทองคำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคและบริโภค ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำหรับหมวดสินค้าทุน ดัชนีราคานำเข้าไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีกลุ่มสินค้าที่ปรับสูงขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และกลุ่มสินค้าที่ปรับลดลง ได้แก่ ยางรถยนต์ และรถยนต์นั่ง
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นหลัก ลดลงร้อยละ 21.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากตลาดราคาน้ำมันดิบโลกลดลงจากปีก่อนหน้า ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ ทองคำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชอื่น ๆหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับอัญมณีผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และกาแฟ ชา เครื่องเทศ และหมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 24.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับอัญมณีผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และกาแฟ ชา เครื่องเทศ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ทองคำ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชอื่น ๆ หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์โลหะ และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก
อัตราการค้าของไทย ในเดือนกรกฎาคม 2563 เท่ากับ 109.6 (เดือนมิถุนายน 2563 เท่ากับ 110.1)ทั้งนี้อัตราการค้ายังสูงกว่า 100 แสดงว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถทางการแข่งขันที่ดี
กลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออกที่ดี และราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคานำเข้า ประกอบด้วย เคมีภัณฑ์ ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผักและผลไม้เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เม็ดพลาสติก และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่มได้รับอิทธิพลจากต้นทุนวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงวัตถุดิบจำพวกสินค้าเกษตรที่มีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อยลงจากปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลให้ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นมาก
กลุ่มสินค้าสำคัญที่มีราคานำเข้าสูงขึ้นมากกว่าราคาส่งออก แสดงถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยบางรายการลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับ นมและผลิตภัณฑ์นม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งทอและเสื้อผ้า
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์