ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม2563 เท่ากับ 102.34
1. เดือนธันวาคม2562 (YoY)ลดลง-0.27 2. เดือนพฤศจิกายน 2563 (MoM) สูงขึ้น0.15 3.เฉลี่ย ปี 2563 เทียบกับ ปี2562 (AoA) ลดลง-0.85 4. ไตรมาสที่ 4ปี 2563เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ลดลง-0.40 ของปีก่อน (YoY) 5.ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
สูงขึ้น0.10 (QoQ) Highlights อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -0.27 (YoY)เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 10เดือน ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวดีขึ้นและหดตัวน้อยที่สุดร้อยละ -6.78ตั้งแต่มีการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกุมภาพันธ์ 2563ประกอบกับสินค้ากลุ่มอาหารสดปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.25จากสินค้ากลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.93และผักสด สูงขึ้นร้อยละ 12.88สำหรับสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวเล็กน้อย ถึงแม้จะเป็นช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่ด้วยมาตรการคนละครึ่งที่ขยายระยะเวลาไปถึงเดือนมีนาคม 2564ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY)
เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2563 ลดลงร้อยละ -0.85 (AoA)โดยอยู่ในกรอบคาดการณ์ของกระทรวงพาณิชย์เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี นับจากปี 2558ที่ลดลงร้อยละ -0.90 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของกลุ่มพลังงาน (ร้อยละ -11.55) และหมวดเคหสถาน (ร้อยละ -1.02) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีความต้องการลดลง และมาตรการต่าง ๆ ของรัฐเพื่อช่วยลดค่าครองชีพ อาทิ การลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการลดค่า Ftในขณะที่หมวดอาหารสด สูงขึ้นร้อยละ 1.72 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อย และไข่ไก่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย ปี 2563 สูงขึ้นร้อยละ0.29 (AoA)1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2562 (YoY)ลดลงร้อยละ -0.27
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.24 ตามการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ร้อยละ -9.74 ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -3.07 รวมทั้งหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.26 จากการลดลงของค่าทัศนาจรและค่าห้องพักโรงแรม เป็นสำคัญ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.17 จากราคาเสื้อยืดบุรุษ เสื้อยืดสตรี เป็นต้น หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -0.12 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำยาล้างจาน และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงเล็กน้อย ร้อยละ -0.06จากการลดลงของ โฟมล้างหน้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และแป้งผัดหน้า เป็นต้น ในขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.11 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.38 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มผักสด ร้อยละ 12.88โดยเฉพาะพริกสด หัวหอมแดง ถั่วฝักยาว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 0.83 จากการสูงขึ้นของ กล้วยน้ำว้า ทุเรียน องุ่น กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 2.93 จากการสูงขึ้นของเนื้อสุกร ร้อยละ 11.01 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.35 จากการสูงขึ้นของไข่ไก่ นมผง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 3.28 จากการสูงขึ้นของน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.04 จากการสูงขึ้นของน้ำผลไม้ น้ำหวาน กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่มกลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านและอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.38 และ 0.68 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีเพียงสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งที่ลดลงร้อยละ -3.88ตามการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.23 จากการสูงขึ้นของกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว) สูงขึ้นร้อยละ 3.13 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาดุก ปลาทู) สูงขึ้นร้อยละ 2.30 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว) สูงขึ้นร้อยละ 0.70 กลุ่มผักสด (ขิง ผักชี ถั่วฝักยาว) สูงขึ้นร้อยละ 1.58 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 2.76กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต) สูงขึ้นร้อยละ 1.60 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว) สูงขึ้นร้อยละ 0.58 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) สูงขึ้นร้อยละ 0.55 อย่างไรก็ตาม มีเพียงสินค้ากลุ่มผลไม้สด (มะม่วง ส้มเขียวหวาน เงาะ) ที่ลดลงร้อยละ -1.85
2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563(MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.15โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ร้อยละ(MoM)
*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.50 จากการสูงขึ้นรวมทุกรายการ0.15 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.28 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ร้อยละ 4.59 และหมวดเคหสถาน(ผลิตภัณฑ์ซักผ้า อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.-0.45 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ 0.03 และหมวดการตรวจ-อาหารสด-1.10 รักษาและบริการส่วนบุคคล(ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกายสบู่ถูตัว) ร้อยละ 0.27 ในขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (เสื้อยืดสตรี หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและ.0.50 เสื้อแจ็กเก็ตสตรี) ลดลงร้อยละ -0.05 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(อาหารสัตว์เลี้ยง) ลดลงร้อยละ -0.01 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.05
มีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงเคหสถาน0.03
*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.45 ตามการลดลงการตรวจรักษาและบริการส่วน.0.27 ของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -0.57 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่สด กระดูกซี่โครงหมู)พาหนะการขนส่งและการสื่อสาร1.28
ร้อยละ -0.42 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง ครีมเทียม) -พลังงาน2.86 ร้อยละ -0.50 กลุ่มผักสด (มะเขือ ผักบุ้ง ผักคะน้า) ร้อยละ -5.96 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน สับปะรด ฝรั่ง) ร้อยละ -1.28 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ-0.01 แอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.23 ในขณะที่กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.69 และกลุ่มอาหารยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์0.00
บริโภค-ในบ้าน(อาหารโทรสั่ง) สูงขึ้นร้อยละ 0.07 สำหรับกลุ่มอาหารดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.05 บริโภค-นอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ยปี 2563 เทียบกับปี 2562 (AoA)ลดลงร้อยละ -0.85โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -2.05 จากการลดลงของร้อยละ(AoA)
หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -4.55 ตามการลดลงของรวมทุกรายการ-0.85 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -14.84 และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.04 รวมทั้งหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ลดลงร้อยละอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.1.23 -1.02 ในขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม-อาหารสด1.72 และรองเท้า(เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เสื้อยืดสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.04 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน น้ำยาระงับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร.-2.05 กลิ่นกาย) สูงขึ้นร้อยละ 0.27 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า0.04
0.06 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา) สูงขึ้นร้อยละ 0.02 เคหสถาน-1.02
*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.23 จากการการตรวจรักษาและบริการ.0.27 สูงขึ้นของกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว) สูงขึ้นร้อยละ พาหนะการขนส่งและการ.-4.55 3.13 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาดุก ปลาทู) สูงขึ้นร้อยละ 2.30 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว) สูงขึ้นร้อยละ -พลังงาน0.70 กลุ่มผักสด (ขิง ผักชี ถั่วฝักยาว) สูงขึ้นร้อยละ 1.58 กลุ่มเครื่องประกอบ-11.55
อาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ การบันเทิง การอ่าน การ.0.06
2.76กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.02
ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว) สูงขึ้นร้อยละ 0.58 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.29 4. ไตรมาส 4 ปี 2563 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.10 (QoQ)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
รวมทุกรายการ0.10
*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.19 จากการสูงขึ้นอาหารและเครื่องดื่มไม่มีของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 0.49 ตามการสูงขึ้นของ-0.06 แอลกอฮอล์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 1.75 หมวดเคหสถานร้อยละ 0.02 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.09 ในขณะที่0.19 เครื่องดื่มหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.04 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯและหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ลดลงเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.04 เท่ากันร้อยละ -0.01 เคหสถาน0.02 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.06 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -1.96 กลุ่มเนื้อสัตว์ การตรวจรักษาและบริการส่วน
เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ -0.45 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในบุคคล
0.09
0.49 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.22 กลุ่มผักสดร้อยละ 0.07 พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารกลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.24 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.06 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.05กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และ
-0.01 ร้อยละ 0.02 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 0.08 การศาสนายาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์-0.01 5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.40 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
รวมทุกรายการ-0.40
*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.54 จากการลดลงอาหารและเครื่องดื่มไม่มีของสินค้าทุกหมวดยกเว้นหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้น แอลกอฮอล์ร้อยละ 0.08 โดยหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -3.86 1.55 หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -12.28 หมวดเครื่องนุ่งห่มและ-1.54 เครื่องดื่มรองเท้าลดลงร้อยละ -0.05 หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -0.16 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ -0.03 และหมวดการบันเทิง เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.05 การอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.25 เคหสถาน-0.16 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.55 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 3.44 กลุ่มผักสดร้อยละ การตรวจรักษาและบริการส่วน9.27 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 0.72 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 2.75 -0.03 บุคคลกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 0.69 และกลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านและ-3.86
กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นเท่ากันร้อยละ 0.37 สำหรับสินค้าที่ราคาพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
ลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -3.01 และการบันเทิงการอ่าน การศึกษา กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -0.23 -0.25 และการศาสนายาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์0.08 6. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาคเดือนธันวาคม 2563 ดังนี้
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ทุกภาคมีความเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากสินค้าสำคัญ อาทิ เนื้อสุกร พริกสด หัวหอมแดง เป็นต้น ในขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม มีราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคกลาง หดตัวน้อยที่สุด ที่ร้อยละ -0.10 จากการสูงขึ้นของอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงกว่าทุกภูมิภาค รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล ร้อยละ -0.20ภาคเหนือ ร้อยละ -0.35ภาคใต้ ร้อยละ -0.47ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหดตัวมากที่สุด ร้อยละ -0.59 7. ภาพรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2563 และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2564
เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ -0.85 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -1.5 ถึง -0.7 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.29 ทั้งนี้ โดยมีปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอุปสงค์ชะลอตัวลง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบโลกในตลาดโลก รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภคลดลง นอกจากนี้ หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา โดยเฉพาะค่าทัศนาจรต่างประเทศและค่าห้องพักโรงแรมปรับลดลง จากการจำกัดการเดินทางและการท่องเที่ยว สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ หมวดอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ซึ่งราคาสอดคล้องกับผลผลิตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ชี้ว่าสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2563 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติสอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา รวมถึงยอดการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ของปี
สถานการณ์เงินเฟ้อในปี 2564 คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับเสถียรภาพ โดยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประชาชน อีกทั้งความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ นอกจากนี้ อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะส่งผลต่อราคาพลังงานภายในประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างมาก สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่จะส่งผลบวกต่ออัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสดที่น่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง ตามสภาพอากาศที่อาจกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงอุปทานด้านน้ำมันดิบที่มีการประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ส่วนราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ น่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับปกติ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวนได้ตามสถานการณ์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 -1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2)ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์