ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนธันวาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 5, 2021 14:25 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 46.3เท่ากับเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 38.5 มาอยู่ที่ระดับ 39.3 สาเหตุสำคัญคาดว่ามาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 51.5 มาอยู่ที่ระดับ 50.9 แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (สูงกว่าระดับ 50) คาดว่ามีสาเหตุสำคัญจากการระบาดรอบใหม่ของ Covid-19ซึ่งต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด

โดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปี 2563 ลดลงจากปี 2562 จาก 48.4เป็น 42.1 เป็นการลดลงทั้งความเชื่อมั่นปัจจุบันและอนาคต (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบัน และอนาคต ลดลงจาก 41.8และ 52.8 เป็น 35.8 และ 46.2 ตามลำดับ) โดยการระบาดของไวรัส Covid-19ในช่วงไตรมาสแรกและความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสำคัญ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วมากในช่วงไตรมาสที่สองและค่อยๆ ปรับดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่เหลือ และหากสถานการณ์ Covid-19ปรับตัวดีขึ้น น่าจะทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเข้าสู่ทิศทางปกติได้อีกครั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 44.1 มาอยู่ที่ระดับ 45.4 ภาคกลางดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 46.7 มาอยู่ที่ระดับ 46.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 47.1 มาอยู่ที่ระดับ 47.5 ขณะที่ภาคเหนือปรับตัวลดลง จากระดับ 45.0 มาอยู่ที่ระดับ 44.7 คาดว่าอาจมาจากกรณีพบผู้ติดเชื้อ Covid-19ที่เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา ส่งผลต่อการท่องเที่ยว และภาคใต้ปรับตัวลดลง จากระดับ 47.1 มาอยู่ที่ระดับ 46.3 เนื่องจากสภาพน้ำท่วมหนักและปัญหาวาตภัยในหลายพื้นที่ติดต่อกันหมายเหตุ :

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลุ่มอาชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 46.6 มาอยู่ที่ 47.2 กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 44.9 มาอยู่ที่ 45.1 กลุ่มพนักงานของรัฐจากระดับ 51.8 มาอยู่ที่ 52.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 47.0มาอยู่ที่ 46.2กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 44.4มาอยู่ที่ระดับ 43.7กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 44.4มาอยู่ที่ 43.4และกลุ่มไม่ได้ทำงาน จากระดับ 42.9มาอยู่ที่ระดับ 41.8 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและอื่นๆพฤติกรรมผู้บริโภคในการเข้าร่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

พฤติกรรมผู้บริโภคในการเข้าร่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ พบว่า โครงการคนละครึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมีแนวโน้มจะใช้สิทธิ์เต็มวงเงินหรือเกินวงเงินถึงร้อยละ 86.02 ในขณะที่ผู้ที่ใช้สิทธิ์ไม่เต็มวงเงินมีแนวโน้มใช้จ่ายถึงร้อยละ 61.26ของวงเงินที่ได้รับ สำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกันและโครงการช็อปดีมีคืน แม้มีผู้เข้าร่วมโครงการน้อยกว่าโครงการคนละครึ่ง (เพียงร้อยละ 28.64 และ 18.77 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ตามลำดับ) แต่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีแนวโน้มใช้จ่ายเต็มสิทธิ์หรือเกินสิทธิ์เกินครึ่ง (ร้อยละ 59.55 สำหรับโครงการเที่ยวด้วยกัน และร้อยละ 72.13สำหรับโครงการช็อปดีมีคืน)

การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยร้อยละ 90 คาดว่าจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม ขณะที่มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะใช้จ่ายลดลง ในส่วนของราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ประชาชนถึงร้อยละ 46.03มองว่าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

ประชาชนใช้จ่ายในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.18ขณะที่ การใช้จ่ายในร้านค้าที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ร้านสะดวกซื้อ และห้างค้าปลีก ลดลงถึงร้อยละ 23.8819.87 และ 24.13ตามลำดับ

เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความคุ้นเคยกับระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึงร้อยละ 80และจะมีแนวโน้มชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 31.50

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ