ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 5, 2021 15:11 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมกราคม2563 (YoY)ลดลง-0.34 2. เดือนธันวาคม2563 (MoM) สูงขึ้น0.09 Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.34 (YoY)เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากร้อยละ -0.27 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังต่ำกว่าปีก่อน (ลดลงร้อยละ

-4.82) จากการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)ลงอีกเป็น -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน รวมทั้งราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่ยังลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 ตามปริมาณผลผลิตที่กลับเข้าสู่ปกติและไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเหมือนปีก่อน ประกอบกับความต้องการของตลาดต่างประเทศยังทรงตัว สำหรับราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆยังเคลื่อนไหวตามกลไกการตลาดของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในบางกลุ่มโดยเฉพาะผักสดและเครื่องประกอบอาหารยังปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดอุทกภัยในภาคใต้ และน้ำมันพืชปรับตัวตามราคาผลปาล์มสดที่สูงขึ้นตามความต้องการใช้ในประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.21 (YoY)1. เทียบกับเดือนมกราคม 2563 (YoY)ลดลงร้อยละ -0.34

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -0.83 ตามการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -6.36 ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.86 รวมทั้งหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ-0.18 จากราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ เป็นต้น หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ-0.31 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำยาล้างจาน และหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.40 จากการลดลงของค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ และค่าห้องพักโรงแรม เป็นสำคัญ ในขณะที่ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.23 จากการสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า ค่าแต่งผมสตรี เป็นต้น ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้น ร้อยละ 0.05 จากการสูงขึ้นของราคาสุราและเบียร์หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.58 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละละ 1.34 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ร้อยละ 6.46 เป็นสำคัญ กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 11.19 จากการสูงขึ้นของราคาพริกสด ผักบุ้ง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.11 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.37 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ก๋วยเตี๋ยว กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.74 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) และอาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า) เป็นต้น ในขณะที่ สินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -5.02 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -0.07 จากการลดลงของราคานมถั่วเหลือง นมสด และนมผง กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -1.46 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน มะม่วงกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ-0.04 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2. เทียบกับเดือนธันวาคม 2563(MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.09โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.43 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.28 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ร้อยละ 3.86 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้าสบู่ถูตัว ยาสีฟัน) ร้อยละ 0.07 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ ไวน์) ร้อยละ 0.01 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.01 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ค่าเช่าบ้าน) ลดลงร้อยละ -0.13 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ) ลดลงร้อยละ -0.10 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ลดลงร้อยละ -0.01 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.38 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -1.20 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง นมสด) ร้อยละ -0.81 กลุ่มผักสด (ต้นหอม แตงกวา ผักชี) ร้อยละ -3.89 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก) ร้อยละ -1.02 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำผลไม้) ร้อยละ -0.06 และกลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(ยำประเภทต่างๆ ส้มตำ) ร้อยละ-0.01ในขณะที่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่สด หอยแมลงภู่) สูงขึ้นร้อยละ 0.84 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส) สูงขึ้นร้อยละ 0.65 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.12 3. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนมกราคม 2564 ดังนี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ทุกภาคมีความเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในทุกภาคยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสินค้าสำคัญ อาทิ พริกสด เนื้อสุกร เป็นต้น ในขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม มีราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยหลักจากการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถึงแม้ว่าราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ราคาโดยเฉลี่ยยังต่ำกว่าปีที่แล้ว

ดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หดตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ -0.78 เนื่องจากราคาข้าวสารมีราคาลดลงจากปริมาณผลผลิตที่มากขึ้น รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ -0.45ภาคใต้ ร้อยละ -0.44กรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ -0.21และภาคกลาง ร้อยละ -0.16 4. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2564

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ยังคงได้รับอิทธิพลจากฐานราคาพลังงานในปีก่อนที่ยังสูงกว่าปีนี้ ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพเพิ่มเติม โดยการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและน้ำประปาเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัดทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ยังมีแนวโน้มหดตัว

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ภายใต้สมมติฐาน

-ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เคลื่อนไหวในช่วง 3.5 -4.5 %-ราคาน้ำมันดิบดูไบ เคลื่อนไหวในช่วง 40 -50 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล -อัตราแลกเปลี่ยน เคลื่อนไหวในช่วง30.0 -32.0บาท/เหรียญสหรัฐ ตารางแสดงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและอัตราการเปลี่ยนแปลง เดือนมกราคม 2564

  • หมายเหตุ: ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานหมายถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานConcept ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ปีฐาน 2562 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ ทั้งสิ้น 430 รายการ (ปีฐาน 2558 มีจำนวน 422 รายการ)ครอบคลุมสินค้าและบริการ 7 หมวดที่จำเป็นต่อการครองชีพ ได้แก่1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3) หมวดเคหสถาน4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล5) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 6) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ 7) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า "ปีฐาน"ที่กำหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 ทั้งนี้ ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีปีฐาน 2562 ได้แก่ ครัวเรือนรวมเขตเทศบาล กรอบรายได้ 6,987 -50,586 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงินไม่เกิน ร้อยละ 42.19 สมาชิกครัวเรือนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 48 จังหวัด1/1/48 จังหวัด ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคกลาง5.อยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ 16.ฉะเชิงเทรา 17.นครปฐม 18.สระแก้ว ภาคเหนือ19.นครสวรรค์ 20.ตาก 21.แพร่ 22.เชียงใหม่ 23.เชียงราย 24.อุตรดิตถ์ 25.พิษณุโลก 26.เพชรบูรณ์ 27.น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28.นครราชสีมา 29.ขอนแก่น 30.สุรินทร์ 31.อุบลราชธานี 32.หนองคาย 33.ศรีสะเกษ 34.มุกดาหาร 35.อุดรธานี 36.ร้อยเอ็ด 37.นครพนม 38.เลย 39.กาฬสินธุ์ ภาคใต้40.สุราษฎร์ธานี 41.นครศรีธรรมราช 42.ตรัง 43.สงขลา 44.ยะลา 45.ภูเก็ต 46.กระบี่ 47. นราธิวาส 48.ระนอง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ