ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2564 และไตรมาสที่ 1/2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 5, 2021 11:49 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม2564 เท่ากับ 99.11(ปีฐาน 2562=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมีนาคม2563 (YoY)ลดลง-0.08 2. เดือนกุมภาพันธ์ 2564 (MoM) สูงขึ้น0.23 3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ลดลง-0.53 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) 4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ลดลง-0.35 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)Highlights

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคม 2564 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.08 (YoY)เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน นับตั้งแต่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในเดือนมีนาคม 2563 ที่ลดลงร้อยละ -0.54 ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มพลังงานปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.35 จากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 17.18 เนื่องจากโอเปกและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ลดกำลังการผลิตของกลุ่มเหลือที่ระดับ 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงเดือน เมษายนนี้ ขณะที่กลุ่มอาหารสดยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.06 จากการลดลงของข้าวสาร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด เป็นสำคัญ ส่วนเนื้อสุกรมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสุกรโตช้าในฤดูร้อน และมีต้นทุนป้องกันโรค ASFมากขึ้น สำหรับราคาอาหารสำเร็จรูป เครื่องประกอบอาหาร และของใช้ส่วนบุคคลยังทรงตัวและเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชั่นของห้างโมเดิร์นเทรด นอกจากนี้ จากมาตรการคนละครึ่งที่หมดในเดือนมีนาคม 2564รวมถึงมาตรการเราชนะ ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนและทำให้การค้าขายคึกคักมากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.09 (จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.04) และไตรมาสแรกของปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ-0.53 (YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.12 (YoY)

1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2563 (YoY)ลดลงร้อยละ -0.08

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.26 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -6.59 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ -0.90 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ-0.31 จากการลดลงของราคาผักกาดขาว มะเขือ ผักบุ้ง และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ -0.27 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม และน้ำอัดลม สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 1.76 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย และหอยแมลงภู่ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ0.01 จากการสูงขึ้นของราคากล้วยน้ำว้า ฝรั่ง และองุ่น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ3.66 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และเครื่องปรุงรสกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.34 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.61 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า) เป็นต้น *หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.04 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 5.43จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ17.18 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.75 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้น ร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ -0.30 จากราคาเสื้อยืดสตรี และเสื้อยืดบุรุษ หมวดเคหสถานร้อยละ -4.87ตามการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาและก๊าซหุงต้ม เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ-0.04 จากราคาผ้าอ้อมสำเร็จรูป สบู่ถูตัว แชมพู เป็นต้น หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.01 จากการลดลงของค่าห้องพักโรงแรม และเครื่องถวายพระ เป็นต้น 2. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564(MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.23โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.43 จากการสูงขึ้นของหมวดเคหสถาน(น้ำยารีดผ้า ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ร้อยละ 0.02 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมชาย โฟมล้างหน้า ผ้าอนามัย)ร้อยละ 0.01 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.10 จากการสูงขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ร้อยละ 0.06 และน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 3.15 จากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท หมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ) ร้อยละ 0.06 ในขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวสตรี เสื้อยืดสตรี เสื้อยกทรง) ลดลงร้อยละ -0.03 และการสื่อสาร (เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ -0.02 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.08 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -0.49 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ครีมเทียม นมเปรี้ยว) ร้อยละ -0.47 กลุ่มผลไม้สด(มะม่วง ชมพู่ มะละกอสุก) ร้อยละ -0.93 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(อาหารโทรสั่ง อาหารว่าง) ร้อยละ -0.06 ในขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย) สูงขึ้นร้อยละ 0.06 กลุ่มผักสด (มะนาว ผักคะน้า ถั่วฝักยาว) สูงขึ้นร้อยละ 0.68 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช กะทิสำเร็จรูป ซีอิ๊ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.83 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม) ร้อยละ 0.12สำหรับกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง 3.ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลงร้อยละ-0.53(YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.81 จากการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ -3.39 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ร้อยละ -0.24 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.17 และการสื่อสาร (เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ร้อยละ-0.02ในขณะที่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.46 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 3.71 และ 0.53ตามลำดับ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน) สูงขึ้นร้อยละ 0.05 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา เบียร์) สูงขึ้นร้อยละ 0.03 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.03 จากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -5.84 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง นมสด) ลดลงร้อยละ -0.43 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะม่วง แตงโม) ลดลงร้อยละ-0.22 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป) ลดลงร้อยละ -0.20 ในขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย) สูงขึ้นร้อยละ 1.37 กลุ่มผักสด(พริกสด ฟักทอง ขิง)สูงขึ้นร้อยละ 2.31กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด))สูงขึ้นร้อยละ 3.38กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) สูงขึ้นร้อยละ 0.34 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารแบบตะวันตก) สูงขึ้นร้อยละ 0.63 4. ไตรมาส 1 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลงร้อยละ -0.35(QoQ)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -1.20 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -3.11 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -1.38 กลุ่มผักสดร้อยละ -13.47 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -1.68 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.16 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 0.60 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 2.54 กลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านและกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.16และ 0.07ตามลำดับหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.18 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 3.93 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 12.53 และ 0.23 ตามลำดับ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.05 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.01 ในขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.09 หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -3.17 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.05 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 5. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนมีนาคม 2564 ดังนี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ปรับตัวลดลง ร้อยละ -0.30 -0.17 และ -0.12 ตามลำดับ สำหรับภาคใต้และภาคกลาง ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 0.36 และ 0.07 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร น้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ข้าวสารเจ้า เป็นต้น 6. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนเมษายน 2564

อัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 2ปี 2564มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง การฉีดวัคซีนที่ขยายวงกว้างมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการท่องเที่ยวโดยกำหนดให้มีวันหยุดเพิ่มเติม การเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้ ราคาพลังงานโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และอุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับฐานราคาที่ต่ำในช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2564กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม 2563คือ ระหว่างร้อยละ 0.7 -1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ