ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน2564 เท่ากับ 100.48(ปีฐาน 2562=100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนเมษายน2563 (YoY)เพิ่มขึ้น3.41 2. เดือนมีนาคม 2564 (MoM) เพิ่มขึ้น1.38 3.เฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค. -เม.ย.) ปี 2564
เพิ่มขึ้น0.43 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.41 (YoY)ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกหลังจากติดลบต่อเนื่อง 13 เดือน การเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงของเงินเฟ้อในเดือนนี้ มีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดของมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ในการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา รวมถึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 38.30 เมื่อเทียบกับฐานราคาที่ต่ำในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผักและผลไม้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคที่มากขึ้นในช่วงวันหยุดยาวและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายต่าง ๆ ของภาครัฐที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคายังคงเคลื่อนไหวเล็กน้อยในทิศทางปกติ
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานยังขยายตัวที่ร้อยละ 0.30 (YoY)และเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.43 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.16 (AoA)1. เทียบกับเดือนเมษายน 2563 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.41
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.34 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของหมวดเคหสถานร้อยละ 4.56จากการสิ้นสุดของมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ (ค่ากระแสไฟฟ้าค่าน้ำประปา) รวมทั้งหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 10.21จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ38.30 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.42หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.11จากราคาค่าแต่งผมชาย ค่าแต่งผมสตรี ยาสีฟัน เป็นต้น หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของเครื่องถวายพระ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นสำคัญ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์และไวน์ ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.30จากราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ เสื้อยกทรง เป็นต้น และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.40 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ2.35 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย กุ้งขาว กลุ่มผักสดร้อยละ 8.60 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม ผักชี ผักคะน้า เป็นสำคัญ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ2.29 จากการสูงขึ้นของราคากล้วยน้ำว้า ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ3.43 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรส กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.49จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง ก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.70 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -6.74 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ -4.77 จากการลดลงของราคาไข่สดนมถั่วเหลือง และนมสด และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ -0.33จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม น้ำอัดลม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.69 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 3.54 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 10.86 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย) ร้อยละ 0.06 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา เบียร์) ร้อยละ 0.02 ในขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ลดลงร้อยละ -1.48 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.25 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.13 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.02 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย)ร้อยละ 1.62 กลุ่มผักสด(พริกสด ต้นหอม ขิง) ร้อยละ 3.93 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า ลองกอง ทุเรียน) ร้อยละ 0.40 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืชซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว)ร้อยละ 3.39กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 0.38และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.65สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ-6.07 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง นมสด) ร้อยละ -1.54 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ร้อยละ -0.24
รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค
การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 3.18 0.74 4.61 2. ภาคกลาง 3.91 0.98 5.80 3.ภาคเหนือ3.56 0.32 5.83 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.04 -0.64 5.78 5. ภาคใต้3.62 0.47 5.79 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ทุกภาคมีความเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญจากการสิ้นสุดมาตรการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา และการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคกลาง ขยายตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ 3.91 รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 3.62 ภาคเหนือ ร้อยละ 3.56 กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 3.18และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวน้อยที่สุด ที่ร้อยละ 3.04
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกรน้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไข่ไก่ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ เนื่องจากการชะลอตัวของสินค้ากลุ่มอาหารสดเป็นสำคัญ 5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤษภาคม 2564
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเมษายน (หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐน่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้ ขณะที่การฟื้นตัวของโลกน่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศส่งผลต่อราคาอาหารสด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์