ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2021 20:39 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2564 เท่ากับ 99.55(ปีฐาน 2562=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤษภาคม2563 (YoY)เพิ่มขึ้น2.44 2. เดือนเมษายน 2564 (MoM) ลดลง-0.93 3.เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2564

เพิ่มขึ้น0.83 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.44 (YoY)ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี หลังจากสิ้นสุดมาตรการดังกล่าวเมื่อเดือนเมษายน 2564 รวมทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 36.49 ซึ่งเป็นการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม สินค้ากลุ่มอาหารสดบางรายการ อาทิ ข้าวสาร และผักสด ราคาปรับลดลง จากการแพร่ระบาดอย่างเป็นวงกว้างของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีการปิดตลาดหลายแห่ง และสถานประกอบการให้บริการบางประเภทต้องปิดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบให้กำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัว ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆราคาสินค้ายังคงทรงตัวและเคลื่อนไหวตามการส่งเสริมการตลาดของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานยังขยายตัวที่ร้อยละ 0.49 และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.83 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.23 (AoA)

1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2563 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 2.44

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.89 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดเคหสถานร้อยละ 0.91 จากการสูงขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เป็นสำคัญ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 10.18 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ36.49 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.52 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์และไวน์ ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.35 จากราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษเสื้อยกทรง เป็นต้น หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ -0.05 จากราคาสบู่ถูตัว ผ้าอ้อมสำเร็จรูป น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.03 จากการลดลงของเครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม เป็นสำคัญ และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.13 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 2.58 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย ปลานิล กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 6.09 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ กล้วยน้ำว้า องุ่น เป็นต้น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.72 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.42 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.68 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -6.16 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ -0.67 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมสด กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -5.49 จากการลดลงของราคาพริกสด ผักชี มะเขือ เป็นสำคัญ และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ -0.19 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.38 จากการลดลงของหมวดเคหสถานร้อยละ -4.58 ตามการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา จากมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เป็นสำคัญ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.05 ในขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(โฟมล้างหน้า สบู่ถูตัว น้ำยาระงับกลิ่นกาย) สูงขึ้นร้อยละ 0.02 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.03 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทและค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นสำคัญ และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ อาหารสัตว์เลี้ยง) สูงขึ้นร้อยละ 0.06 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และกลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.25 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว วุ้นเส้น) ลดลงร้อยละ -0.07 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาทู กุ้ขาว) ร้อยละ -0.18 กลุ่มผักสด(พริกสด ต้นหอม ผักคะน้า) ร้อยละ -5.21 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำหวาน) ลดลงร้อยละ -0.02 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง) สูงขึ้นร้อยละ1.27 กลุ่มผลไม้สด(เงาะ มังคุด ทุเรียน) ร้อยละ 0.63 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(ซีอิ๊ว น้ำมันพืช ซอสพริก) สูงขึ้นร้อยละ 0.07 และกลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(อาหารโทรสั่ง อาหารว่าง) สูงขึ้นร้อยละ 0.07 สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.31 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 4.83 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 15.40 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน) ร้อยละ 0.04 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา เบียร์) ร้อยละ 0.02ในขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน) ลดลงร้อยละ -1.01 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.27 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจรเครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.11และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.02 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.08 จากการสูงขึ้นของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย)ร้อยละ 1.80 กลุ่มผักสด(พริกสด ต้นหอม ขิง) ร้อยละ 1.87 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า ลองกอง องุ่น) ร้อยละ 1.50 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว) ร้อยละ 3.45 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน

(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 0.38และ

กลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.65สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ-6.09กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง นมสด) ร้อยละ

-1.37 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป)ร้อยละ 0.23 1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.27 0.85 3.06 2. ภาคกลาง 2.76 0.76 4.03 3.ภาคเหนือ2.46 -0.19 4.27 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.98 -1.41 4.52 5. ภาคใต้2.76 0.35 4.39 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า มีการขยายตัวสูงขึ้นในทุกภาค โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคกลางและภาคใต้ ขยายตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ 2.76 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 2.46 กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 2.27 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวน้อยที่สุด ที่ร้อยละ 1.98 โดยหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ขยายตัวสูงขึ้นในทุกภูมิภาค สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลง

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าน้ำประปา เนื้อสุกรน้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และ ผักสด อาทิ ต้นหอม ผักชี พริกสด 5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมิถุนายน 2564

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน 2564 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยปัจจัยสำคัญยังคงเป็นราคาพลังงาน โดยมีมาตรการลดภาระค่าครองชีพ ทั้งการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เป็นตัวชะลอมิให้เงินเฟ้อสูงเร็วเกินไป อย่างไรก็ตามมาตรการเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีอย่างต่อเนื่อง น่าจะส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศให้ขยายตัวได้ในระยะต่อไป สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ น่าจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 -1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ