ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2564 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 5, 2021 11:35 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2564 เท่ากับ 99.93(ปีฐาน 2562=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมิถุนายน2563 (YoY)สูงขึ้น1.25 2. เดือนพฤษภาคม 2564 (MoM) สูงขึ้น0.38 3.เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2564

สูงขึ้น0.89 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2564

สูงขึ้น2.36 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2564

สูงขึ้น0.74 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.25 (YoY)เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นในอัตราที่น้อยลง ประกอบกับผลจากมาตรการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาที่ยังมีผลในเดือนนี้ และสินค้ากลุ่มอาหารสดหลายชนิดมีการปรับราคาลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ไข่ไก่และเนื้อสุกร จากมาตรการปลดแม่พันธุ์ไก่ ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ลดลงและการเกิดโรคระบาดในสุกร ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการในการบริโภคของประชาชน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52 และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.89 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.27 (AoA)

ทั้งนี้ เงินเฟ้อรายไตรมาส ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.36 (YoY)และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 0.74(QoQ)

1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 สูงขึ้นร้อยละ 1.25(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.87 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 8.46 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 27.60 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.35 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.32 จากการสูงขึ้นของราคาโฟมล้างหน้า ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย เป็นต้น และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.01 การสูงขึ้นของราคาเบียร์ ในขณะที่มีสินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.28จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ และเสื้อเชิ้ต หมวดเคหสถานร้อยละ -3.11 จากการการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก ค่าเช่าบ้านหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.03จากการลดลงของค่าห้องพักโรงแรม อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสำคัญ และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.29 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 2.20 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย ปลานิล กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 3.00 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ด นมข้นหวานกลุ่มผลไม้สดร้อยละ 6.36 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ มังคุดลองกอง เป็นต้น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 4.09 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรส กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.42 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ0.69 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -6.08 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มผักสดร้อยละ -5.29 จากการลดลงของราคาผักชี พริกสด ต้นหอม เป็นสำคัญ และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.32 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม และกาแฟผงสำเร็จรูป 2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564สูงขึ้นร้อยละ 0.38(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.40 จากสูงขึ้นของหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แป้งผัดหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า) ร้อยละ 0.21 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารเครื่องบิน) ร้อยละ 1.00ในขณะที่มีสินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง เสื้อเชิ้ต เสื้อยืดสตรี) ร้อยละ -0.12 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(อาหารสัตว์เลี้ยง ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ร้อยละ -0.02สำหรับหมวดเคหสถานหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และกลุ่มการสื่อสารราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.36 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ขนมปังปอนด์ เส้นหมี่) ร้อยละ 0.46 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง นมผง) ร้อยละ 1.85 กลุ่มผักสด(ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ) ร้อยละ 4.58 กลุ่มผลไม้สด(มังคุด ทุเรียน ลองกอง) ร้อยละ 0.40 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป) ร้อยละ 0.15และกลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(อาหารโทรสั่ง (delivery) ปลากระป๋อง) ร้อยละ 0.07 ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาทู ปลานิล) ร้อยละ -0.41 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.15 สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง 3. เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.89(AoA) ร้อยละ(AoA)

*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.40 3. เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.89(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ร้อยละ(AoA)

*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.40 โดยมีปัจจัยหลักรวมทุกรายการ0.89 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 5.43 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 17.38 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.12 รักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน) ร้อยละ 0.08 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา) ร้อยละ 0.02ในขณะที่-อาหารสด-0.40

สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.1.40 ค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ -1.37 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษเสื้อยกทรง) ร้อยละ -0.27 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.27 เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ร้อยละ -0.10และการสื่อสาร ร้อยละ -0.02 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.12 จากการเคหสถาน-1.37

สูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร การตรวจรักษาและบริการ.0.08 กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย) ร้อยละ 1.87 กลุ่มผักสด(พริกสด ถั่วฝักยาว ต้นหอม) ร้อยละ 0.53 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า ลองกอง องุ่น) ร้อยละ 2.28 พาหนะการขนส่งและการ.

5.43 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว) ร้อยละ 3.57 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) -พลังงาน

8.09 ร้อยละ 0.39 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) การบันเทิง การอ่าน การ.-0.10 อาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.66 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.02 ร้อยละ -6.08 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง นมสด) ร้อยละ -0.66 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.24 4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2564เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.36 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ร้อยละ(YoY)

รวมทุกรายการ2.36 *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.68 ตามการสูงขึ้นของหมวดเคหสถานร้อยละ 0.74 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.27

บุคคลร้อยละ 0.12 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 9.60 -อาหารสด-0.17 จากการสูงขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.43 และน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.3.68

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.31

รองเท้าร้อยละ -0.31 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.02 เคหสถาน0.74 และการสื่อสาร ร้อยละ -0.01 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.27 ตามการการตรวจรักษาและบริการ.0.12

สูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 2.38 พาหนะการขนส่งและการ.9.60 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 4.89 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.75 -พลังงาน22.49 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้านร้อยละ 0.44 และ 0.69 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งการบันเทิง การอ่าน การ.-0.02

ร้อยละ -6.33 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -0.87 กลุ่มผักสดร้อยละ -1.05 ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.01 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.28 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.43 5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2564เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 0.74(QoQ)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ร้อยละ(QoQ)

รวมทุกรายการ0.74 *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.95 ตามการสูงขึ้นของหมวดเคหสถานร้อยละ 0.02 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.41

ร้อยละ 2.48 จากการสูงขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.18 และน้ำมัน-อาหารสดเชื้อเพลิง ร้อยละ 7.10 อย่างไรก็ตาม มีสินค้าและบริการที่ราคาลดลง 0.62

ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ -0.06 สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร.0.95

หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลหมวดการบันเทิง การอ่าน เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.06

การศึกษาฯหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการสื่อสาร เคหสถาน0.02 ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.41 ตามการการตรวจรักษาและบริการ.0.00

สูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.04กลุ่มผักสดพาหนะการขนส่งและการ.2.48 ร้อยละ 8.43 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 1.13 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร-พลังงานร้อยละ 1.25 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านร้อยละ 0.14 และ 4.87

0.02 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและการบันเทิง การอ่าน การ.0.00

ผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -1.21 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.12 ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.00 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.06 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.06 1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 0.96 0.74 1.05 2. ภาคกลาง 1.45 0.90 1.80 3.ภาคเหนือ1.34 0.10 2.20 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.91 -1.07 2.40 5. ภาคใต้1.79 0.77 2.55 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า มีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงทุกภาค โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคใต้ ขยายตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ 1.79 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 1.45 ภาคเหนือ ร้อยละ 1.34 กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 0.96 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวน้อยที่สุด ที่ร้อยละ 0.91 โดยหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ขยายตัวสูงขึ้นในทุกภูมิภาค โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลง จากการลดลงของราคาข้าวสารเหนียว และผักสด ที่มีการลดลงในอัตราที่มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าน้ำประปา เนื้อสุกรไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และ ผักสด อาทิ ต้นหอม ผักชี พริกสด 7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3 ปี 2564

แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ยังคงได้รับอิทธิพลจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีสัญญานฟื้นตัวในหลายประเทศ ส่งผลดีต่อการส่งออกและภาคการผลิตที่ต่อเนื่องกับการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปียังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิดในประเทศยังเป็นข้อจำกัดที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อรายได้และการบริโภคโดยรวม ประกอบกับโอกาสที่ภาครัฐจะมีการใช้หรือขยายมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐอีกครั้ง โดยเฉพาะการลดค่าน้ำประปาและไฟฟ้า ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อดังกล่าว จะเคลื่อนไหวในกรอบที่จำกัดและไม่เกินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 1 -3

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับสมมติฐานการประมาณการเงินเฟ้อเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบจะเคลื่อนไหวในช่วง 60-70 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรลล์ อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวในช่วง 30-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.5 คาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2564 จะอยู่ในกรอบร้อยละ 0.7-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ปีฐาน 2562 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ ทั้งสิ้น 430 รายการ (ปีฐาน 2558 มีจำนวน 422 รายการ)ครอบคลุมสินค้าและบริการ 7 หมวดที่จำเป็นต่อการครองชีพ ได้แก่1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3) หมวดเคหสถาน4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล5) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 6) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ 7) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า "ปีฐาน"ที่กำหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 ทั้งนี้ ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีปีฐาน 2562 ได้แก่ ครัวเรือนรวมเขตเทศบาล กรอบรายได้ 6,987-50,586บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงินไม่เกิน ร้อยละ 42.19 สมาชิกครัวเรือนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 48 จังหวัด1/1/48 จังหวัด ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคกลาง5.อยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ 16.ฉะเชิงเทรา 17.นครปฐม 18.สระแก้ว ภาคเหนือ19.นครสวรรค์ 20.ตาก 21.แพร่ 22.เชียงใหม่ 23.เชียงราย 24.อุตรดิตถ์ 25.พิษณุโลก 26.เพชรบูรณ์ 27.น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28.นครราชสีมา 29.ขอนแก่น 30.สุรินทร์ 31.อุบลราชธานี 32.หนองคาย 33.ศรีสะเกษ 34.มุกดาหาร 35.อุดรธานี 36.ร้อยเอ็ด 37.นครพนม 38.เลย 39.กาฬสินธุ์ ภาคใต้40.สุราษฎร์ธานี 41.นครศรีธรรมราช 42.ตรัง 43.สงขลา 44.ยะลา 45.ภูเก็ต 46.กระบี่ 47. นราธิวาส 48.ระนอง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ