1. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2563 สูงขึ้นร้อยละ 0.45(YoY)
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.06 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.22 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 29.35 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.37 และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.49 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู ครีมนวดผม ค่าแต่งผมสตรีและค่าแต่งผมชาย เป็นต้น ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.27จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยกทรง กางเกงขายาวบุรุษ หมวดเคหสถานร้อยละ -5.95 จากการการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเช่าบ้านหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.04 จากการลดลงของค่าห้องพักโรงแรม อาหารสัตว์เลี้ยง และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.47 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -5.61 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว กลุ่มผักสดร้อยละ -5.77 จากการลดลงของราคาพริกสด กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย เป็นสำคัญ และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.34 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 0.25 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย ปลานิล กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 2.47 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ดกลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.88 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน มังคุด กล้วยน้ำว้า เป็นต้น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.79 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.42 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ0.29 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) 2. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2564ลดลงร้อยละ -0.12(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.26 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาทู ไก่สด) ร้อยละ -0.14กลุ่มผักสด(มะนาว ถั่วฝักยาว แตงกวา) ร้อยละ -4.38 กลุ่มผลไม้สด(เงาะ ลองกอง มังคุด) ร้อยละ -1.18 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำดื่ม) ร้อยละ -0.08 ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า อาหารจากธัญพืช) ร้อยละ 0.56 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด นมเปรี้ยว) ร้อยละ 1.01 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำพริแกง ซีอิ๊ว น้ำมันพืช) ร้อยละ 0.05 และกลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 0.06 สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.04 จากลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ผ้าปูที่นอน) ร้อยละ -1.34 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ร้อยละ -0.02 และค่าโดยสารสาธารณะร้อยละ -0.03 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง เสื้อเชิ้ตบุรุษ) ร้อยละ 0.04 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู ผ้าอนามัย ครีมนวดผม) ร้อยละ 0.18 และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง) ร้อยละ 1.14 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และกลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง 3. เฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. -ก.ค.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.83(AoA) ร้อยละ(AoA)*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.36 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.03 หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.36 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 5.97 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 19.09 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ครีมนวดผม) ร้อยละ 0.15 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา) ร้อยละ 0.02 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.46 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ -2.03 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรีและบุรุษ เสื้อยกทรง) ร้อยละ -0.27 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ร้อยละ -0.09 และการสื่อสาร ร้อยละ -0.02 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.03 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย) ร้อยละ 1.63 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า ลองกอง ทุเรียน) ร้อยละ 2.22 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม) ร้อยละ 3.59 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 0.40 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.60 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -6.02 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(นมถั่วเหลืองนมสด นมผง) ร้อยละ -0.21 กลุ่มผักสด(ผักชี ผักกาดขาว มะเขือ) ร้อยละ -0.42และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.26 4. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนกรกฎาคม 2564 ดังนี้ 1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 0.06 0.18 -0.04 2. ภาคกลาง 0.71 0.15 1.04 3.ภาคเหนือ0.46 -1.27 1.66 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.38 -1.54 1.86 5. ภาคใต้1.14 0.01 1.99 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในทุกภูมิภาค โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคใต้ ขยายตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ 1.14รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 0.71ภาคเหนือ ร้อยละ 0.46และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 0.38ในขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ขยายตัวน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 0.06
เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลางและภาคใต้ ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลลง เนื่องจากสินค้าในกลุ่มผักสด และข้าวสาร ลดลงในอัตราที่มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ประกอบกับสินค้าทั้งสองกลุ่มของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนน้ำหนักสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย สำหรับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในทุกภาค ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ เนื่องจากสัดส่วนน้ำหนักของสินค้ากลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนนี้ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วนต่ำกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยสินค้าในหมวดนี้มีปัจจัยทอนจากการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปา จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ข้าวสารเจ้า เป็นต้น 5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคม 2564
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยสำคัญจากมาตรการลดค่าครองชีพผู้บริโภคของภาครัฐ ทั้งการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ในรอบเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564อีกทั้งราคาพลังงานที่ถึงแม้จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์โควิด-19ที่คลี่คลายลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากฐานราคาของปีก่อนเริ่มสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้เงินเฟ้อขยายตัวน้อยลง สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ น่าจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งเป็นแรงกดดันสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศ อย่างไรก็ตาม แผนการจัดหาและการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมีความชัดเจน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทะยอยออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง น่าจะสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ คือที่ร้อยละ 1.0 -3.0
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 -1.7(ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์