ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 5, 2021 12:11 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 101.96(ปีฐาน 2562=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนตุลาคม2563 (YoY)สูงขึ้น2.38 2. เดือนกันยายน 2564 (MoM) สูงขึ้น0.74 3.เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2564

สูงขึ้น0.99 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.38 (YoY)เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 1.68 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลกประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มผักสดสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ ขณะที่ราคาบุหรี่สูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ตามสินค้าสำคัญหลายชนิดราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาอาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามกลไกทางการตลาดของผู้ประกอบการ

เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.21 เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.99 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (AoA)1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2563 สูงขึ้นร้อยละ 2.38(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 4.15 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 11.61 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 37.09 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.70 หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลจากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชายครีมนวดผม ยาแก้ปวดลดไข้ ร้อยละ 0.35 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่และสุรา ร้อยละ 0.64 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าจากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ ร้อยละ -0.33 หมวดเคหสถานจากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำประปา ร้อยละ -0.17 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯจากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น ร้อยละ -0.93 และการสื่อสารลดลง ร้อยละ -0.01 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.26 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งจากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว ร้อยละ -8.87 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำตามการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู ร้อยละ -0.73 กลุ่มผลไม้สดจากการลดลงของราคาเงาะ มะม่วง ลองกอง ร้อยละ -3.26 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม ร้อยละ -0.18 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมจากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด นมเปรี้ยว ร้อยละ 2.02 กลุ่มผักสดจากการสูงขื้น ของราคาผักสดเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะ ผักกาดขาว ผักคะน้า แตงกวาร้อยละ 7.08 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง ร้อยละ 5.13 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านจากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ส้มตำ ก๋วยเตี๋ยวร้อยละ 0.35 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ร้อยละ 0.37 2. เทียบกับเดือนกันยายน 2564สูงขึ้นร้อยละ 0.74(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ร้อยละ(MoM)

*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.95 ตามการรวมทุกรายการ0.74 สูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ไก่ย่าง ปลาทูกุ้งขาว) ร้อยละ 0.05 กลุ่มผักสด(ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้ง) ร้อยละ 17.35 อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.95

กลุ่มผลไม้สด(ลองกอง แตงโม มะม่วง) ร้อยละ 1.32 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร-อาหารสด1.83 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสพริก) ร้อยละ 0.20 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม) ร้อยละ 0.16 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.0.59

กลางวัน (ข้าวราดแกง)) ร้อยละ 0.10 ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.05 กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -1.63 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง นมข้นหวาน) ร้อยละ -2.45 และกลุ่มอาหารเคหสถาน-0.09

บริโภคในบ้าน(อาหารโทรสั่ง (delivery)) ร้อยละ -0.01 การตรวจรักษาและบริการ.0.00 *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.59 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง) ร้อยละ 1.57 พาหนะการขนส่งและการ.1.57

หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ไวน์)ร้อยละ 0.61 และ2.82 -พลังงานค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ร้อยละ 0.04 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดบุรุษ กางเกงชั้นในสตรี เสื้อเชิ้ตสตรี) ลดลงการบันเทิง การอ่าน การ.-0.02

ร้อยละ -0.05 หมวดเคหสถาน(ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยารีดผ้า) ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.61 ลดลงร้อยละ -0.09 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.00

บุคคลและการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.99(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ร้อยละ(AoA)*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.82 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 7.25 รวมทุกรายการ0.99 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 23.16 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษา-0.27 และบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ครีมนวดผม) ร้อยละ 0.21 อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.

หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์) ร้อยละ 0.08 และ -อาหารสด-1.24 ค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.50 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ -2.04 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.1.82

หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรีและบุรุษ เสื้อยกทรง) ร้อยละ -0.27 เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.27 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ) ร้อยละ -0.34และการสื่อสาร ร้อยละ -0.01 เคหสถาน-2.04

*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.27 จากการการตรวจรักษาและบริการ.0.21 ลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว)ร้อยละ -6.58 กลุ่มผักสด(ผักชี มะเขือเทศ ชะอม) ร้อยละ -1.38 และพาหนะการขนส่งและการ.7.25

กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.26 -พลังงานสำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร 10.32 การบันเทิง การอ่าน การ.-0.34

ไข่เป็ด นมข้นหวาน) ร้อยละ 0.83 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า องุ่น ทุเรียน) ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.08 ร้อยละ 0.56กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว กะปิ) ร้อยละ 3.91 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.23 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 0.38 และ กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.52

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า4. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนตุลาคม 2564 ดังนี้

อัตราการเปลี่ยนแปลง(YoY) จำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทุกภาคยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยมีรายละเอียดดังนี้

รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1.92 0.10 3.00 2. ภาคกลาง 2.60 -0.11 4.36 3.ภาคเหนือ2.68 -0.13 4.71 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.23 -1.06 4.77 5. ภาคใต้3.08 0.22 5.14 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคขยายตัวต่อเนื่อง โดยภาคใต้ยังคงขยายตัวในอัตราสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 3.08 ในขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ขยายตัวต่ำที่สุด ที่ร้อยละ 1.92สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวร้อยละ 2.682.60และ 2.23ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวในทุกภูมิภาค จากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทเป็นสำคัญ เป็นที่น่าสังเกตว่าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลง ในขณะที่ภาคใต้และกรุงเทพฯ และปริมณฑล ราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าที่มีอิทธิพลสำคัญในหมวดได้แก่สินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว) กลุ่มผลไม้สด ราคาปรับตัวลดลงในอัตราที่น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ผักสด ไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้าข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ผลไม้สด เป็นต้น5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายน ปี 2564

มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่เริ่มคลี่คลายในหลายพื้นที่จากการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จะส่งผลดีต่อกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ 2) น้ำมันเชื้อเพลิง ราคายังมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และบริการ รวมถึงการขนส่ง 3) อุทกภัยในหลายพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดน้อยลง และส่งผลต่อระดับราคาต่อไป สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดอาหารสดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ ข้าว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.8 -1.2(ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.0) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ