ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนตุลาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 25, 2021 12:22 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนตุลาคม 2564เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 4.0(YoY)สาเหตุหลักเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในหลายกลุ่มสินค้า โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 59.2 จากราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากราคาน้ำตาลทราย ตามปริมาณผลผลิตตลาดโลกที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก นอกจากนี้ รถยนต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ปรับตัวตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลก ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2ติดต่อกัน จากราคาสินค้าข้าวที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออกที่กลับมาขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุปทานส่วนเกินในประเทศมีแนวโน้มลดลง

ดัชนีราคานำเข้า เดือนตุลาคม 2564เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 14.1 (YoY)หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 82.4 ได้แก่น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ปุ๋ย จากประเทศจีนมีการจำกัดการส่งออก และต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ จากราคาตลาดโลกที่ยังทรงตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 3.7 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.9 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และความต้องการเพิ่มขึ้น ส่วนเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบเนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 2.2 ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เนื่องจากส่วนประกอบของรถยนต์บางรุ่นราคาลดลง

ดัชนีราคาส่งออก ปี 2564 คาดว่าดัชนีราคาในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก 2)ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอุปสงค์และอุปทานที่มีความตึงตัวค่อนข้างชัดเจน 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และ 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด

ดัชนีราคานำเข้า ปี 2564 คาดว่าดัชนีราคาในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2563 2) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น และ 4) ต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้นอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนตุลาคม 2564

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0 (เดือนกันยายน 2564 เท่ากับ 101.5) เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9ปี 5เดือน โดยอัตราการค้า เท่ากับ 100สะท้อนถึง ไทยไม่มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การปรับลดลงของอัตราการค้าเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเป็นอย่างมากของสินค้านำเข้าเพียงไม่กี่ชนิด เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ปุ๋ย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ ราคาสินค้ากลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และคาดว่าจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ามีแนวโน้มทรงตัวและทำให้อัตราการค้าปรับตัวดีขึ้น หรือมีค่ามากกว่า 100ในระยะเวลาต่อไป 1. ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 104.6 (ปีฐาน 2555 =100) (เดือนกันยายน 2564 เท่ากับ 103.7) โดยดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าเกษตรกรรม เท่ากับ 106.5หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เท่ากับ 115.7หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 105.1และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เท่ากับ 93.6 2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกันยายน2564 เมื่อเทียบกับ2.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้าประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 9.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รวมทุกรายการ0.9

ปริมาณการผลิตยังมีอยู่จำกัด หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากราคายางพาราเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยลง และประเทศผู้นำเข้าสำคัญอย่างจีน มีความ0.8 หมวดสินค้าเกษตรกรรมต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้าว กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน หมวดสินค้าอุตสาหกรรม0.6 การเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.6 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

สำเร็จรูปอื่นๆและอาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น และความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากผลของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันหมวดสินค้าอุตสาหกรรม0.4

ที่สูงขึ้น อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง9.9 ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น และเหล็ก จากราคาเศษเหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิตในประเทศจีนยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติ หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงาน ทำให้รัฐบาลจีนมีนโยบายควบคุมการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง2.2เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 59.2 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นรวมทุกรายการ4.0

ปีก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากราคาน้ำตาลทราย ตามปริมาณหมวดสินค้าเกษตรกรรม-0.5

เพิ่มขึ้น รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ตามความต้องการบริโภค4.6 อย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

เคมีภัณฑ์ ตามความต้องการใช้และเป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ รถยนต์ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม2.5 อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ต้องการสินค้ารุ่นใหม่และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเหล็ก ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง59.2 จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และราคายังสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าข้าวยังคงต่ำกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากการส่งออกกลับมาขยายตัวตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาท2.3 เฉลี่ย10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 3.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้น3.2 ร้อยละ 34.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และรวมทุกรายการ

ฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้า หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ได้แก่ 4.7

ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากอุปสงค์ของตลาดที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของตลาดโลก หมวดสินค้าเกษตรกรรม

สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาเพิ่มขึ้นจากความนิยมสินค้าไทยในตลาดจีน4.3

เป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากผลผลิตหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

ในตลาดโลกที่ลดลง นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้น 1.9 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมตามต้นทุนวัตถุดิบและผลกระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น34.5 อย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ส่วนคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0(เดือนกันยายน 2564 เท่ากับ 101.5)แสดงถึง อัตราการค้าไทยมีดุลยภาพ สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการค้า เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายเท่ากับราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0 (เดือนกันยายน 2564 เท่ากับ 101.5) เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9ปี 5 เดือนโดยอัตราการค้า เท่ากับ 100 สะท้อนถึง ไทยไม่มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราการค้าไทยมีทิศทางลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง โดยการปรับลดลงของอัตราการค้าเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเป็นอย่างมากของสินค้านำเข้าเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การผลิตยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติ ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้มีความต้องการสินค้าเร่งตัวสูงขึ้น เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ปุ๋ย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านอุปทานและอุปสงค์มีแนวโน้มปรับเข้าสู่ระดับสมดุลมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้ากลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และคาดว่าจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ามีแนวโน้มทรงตัวและทำให้อัตราการค้าปรับตัวดีขึ้น หรือมีค่ามากกว่า 100 ในระยะเวลาต่อไป สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผักผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ ปี 2564 คาดว่าจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญที่กลับมาขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าขยายตัวได้ในหลายกลุ่มสินค้าสำคัญ ประกอบกับฐานที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อน เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่องในปี 2564

ดัชนีราคาส่งออก ปี 2564 คาดว่าดัชนีราคาในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก 2)ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอุปสงค์และอุปทานที่มีความตึงตัวค่อนข้างชัดเจน 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และ 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด

ดัชนีราคานำเข้า ปี 2564 คาดว่าดัชนีราคาในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2563 2) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น และ 4) ต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ