ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 3, 2021 12:25 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 35.3 มาอยู่ที่ระดับ 37.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต          (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 48.8 มาอยู่ที่ระดับ 50.7 เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส  Covid-19ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประชาชนคลายความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาดำเนินการได้ในช่วงปลายปีนี้ ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ส่งผลให้ภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น ยกเว้นสถานบันเทิง ผับ บาร์ และคาราโอเกะ รวมทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวตามการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะยังคงอยู่ในช่วงที่มีความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจก็ตาม
ราคาสินค้า

สังคม/ความการเมืองเมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า มั่นคง, 3.79%7.07%เรื่องภัยพิบัติ/โรคระบาด ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 34.33รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย คิดเป็นร้อยละ 28.79 ปัจจัยด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.41ปัจจัยด้านการเมือง ภัยพิบัติ/โรคระบาด

34.33%คิดเป็นร้อยละ 7.07ปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 5.22ปัจจัยด้านสังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 3.79และปัจจัยด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.38 ตามลำดับ โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19ที่มี ผู้ติดเชื้อใหม่ลดลง และเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนความมาตรการของภาครัฐเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นแย่ลงโดยเห็นว่าสถานการณ์การ15.41%แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19ยังไม่สามารถระงับการแพร่ระบาดได้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นตั้งแต่เดือนมกราคม 62 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เริ่มใช้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับปรุงใหม่ (REV. CCI 2019) ซึ่งมีการปรับปรุง

ทั้งจำนวนกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถาม และวิธีการสำรวจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า โทร 02 507 6761 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มเกือบทุกภูมิภาค โดยภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากระดับ 43.7 มาอยู่ที่ระดับ 46.9 ภาคกลาง จากระดับ 44.1 มาอยู่ที่ระดับ 46.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 45.0 มาอยู่ที่ระดับ 46.9 ภาคเหนือ จากระดับ 40.8 มาอยู่ที่ระดับ 42.2 ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด รองลงมาคือ เศรษฐกิจไทย และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ ในขณะที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากระดับ 43.2 มาอยู่ที่ระดับ 40.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 ลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจไทย และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากระดับ 45.0 มาอยู่ที่ระดับ 47.6 รองลงมาคือ กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 38.3 มาอยู่ที่ระดับ 40.5 กลุ่มเกษตรกร จากระดับ 43.2 มาอยู่ที่ระดับ 45.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 ลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย รองลงมาคือ ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด และด้านมาตรการของรัฐ ตามลำดับ กลุ่มพนักงานเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 41.7 มาอยู่ที่ระดับ 43.4 กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 41.9 มาอยู่ที่ระดับ 43.5 กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 49.3 มาอยู่ที่ระดับ 50.7 และกลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 39.4 มาอยู่ที่ระดับ 39.8 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 ลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากระดับ 44.3 มาอยู่ที่ระดับ 50.9 ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก 7 กลุ่มอาชีพ

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ