ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2564เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 3.9(YoY)สาเหตุหลักเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายกลุ่มสินค้า โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 53.7 จากราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามราคาในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.5 โดยเฉพาะน้ำตาลทราย ตามปริมาณผลผลิตตลาดโลกที่ลดลง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 จากสินค้ารถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ โดยได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึง บางสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 จากผลของราคาสินค้าข้าวที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าข้าวจากตลาดโลกยังมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่าซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกข้าวไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2564เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 13.3 (YoY)หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 72.6 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.7 ได้แก่ ปุ๋ย จากการจำกัดการส่งออกของจีน และต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม จากความต้องการนำเข้าทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการเก็บสำรองไว้ เนื่องจากปริมาณนมมีแนวโน้มลดลงตามฤดูกาล และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ จากความต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ที่บ้าน ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง เนื่องจากส่วนประกอบของรถยนต์บางรุ่นราคาลดลง
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1)ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 25632) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น 3) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 4) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาดและ 5) สินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มขยายตัว
แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2564 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 25632) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น และ 4) ต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้นอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนพฤศจิกายน 2564
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เท่ากับ 99.9 (เดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0) นับเป็นเดือนแรกในรอบ 9ปี 6เดือน ของอัตราการค้าไทย ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 สะท้อนถึง ไทยเริ่มมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยเป็นผลจากราคาสินค้านำเข้าเพียงไม่กี่ชนิดที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ปุ๋ย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้านำเข้า คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้อัตราการค้าปรับตัวดีขึ้น หรือมีค่ามากกว่า 100ในระยะเวลาต่อไป 1. ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2564 เท่ากับ 104.8 (ปีฐาน 2555 =100) (เดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 104.6) โดยดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าเกษตรกรรม เท่ากับ 107.3หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เท่ากับ 116.8หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 105.2และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เท่ากับ 92.7 2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนพฤศจิกายน2564 เมื่อเทียบกับ2.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะน้ำตาลทราย จากความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของทั่วโลก สำหรับผลไม้กระป๋อง0.2 รวมทุกรายการและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากราคา0.8 ยางพาราเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับประเทศผู้นำเข้าหลักหมวดสินค้าเกษตรกรรม
อย่างจีน มีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลไม้สดแช่เย็น 1.0 แช่แข็ง และแห้ง ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและความต้องการหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรบริโภคจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากผลของราคารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม0.1 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น สำหรับทองคำ เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น -1.0 หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงรวมถึง การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 1.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่อาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน2.2เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 53.7 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบแม้ว่าราคาจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ราคาน้ำมัน3.9 รวมทุกรายการยังสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.5 จากราคาน้ำตาลทรายตามปริมาณผลผลิตลดลงในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป -0.3 หมวดสินค้าเกษตรกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการ5.5 บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 จากรถยนต์ อุปกรณ์และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการของประเทศคู่ค้า2.4 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้องการสินค้ารุ่นใหม่และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สำหรับเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ ตามความต้องการใช้และเป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และเหล็ก ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ 53.7 ทำให้มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 จากผลของราคาสินค้าหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง
ข้าวเป็นสำคัญ ที่ยังคงต่ำกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงด้านราคา โดยเฉพาะเวียดนามและอินเดีย ที่ปริมาณผลผลิตข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ราคาข้าวไทยมีแนวโน้มทรงตัวหรือฟื้นตัวอย่างช้าๆ อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าข้าวยังมีอย่างต่อเนื่อง และจากการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกข้าวไทยให้ปรับตัวดีขึ้น 2.3 เฉลี่ย11 เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 3.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 36.3 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ3.2 ฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ รวมทุกรายการ4.5 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลง ขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น 4.2
นอกจากนี้ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและหมวดสินค้าเกษตรกรรม
ผลกระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้า4.5
เกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 ได้แก่ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการของหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
1.9 ตลาดที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ราคาเพิ่มขึ้นจากความนิยมสินค้าไทยในตลาดจีนเป็นสำคัญ และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามหมวดสินค้าอุตสาหกรรม
36.3 ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเม็ดพลาสติก ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เท่ากับ 99.9(เดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0)แสดงถึง อัตราการค้าของไทยเริ่มมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เท่ากับ 99.9 (เดือนตุลาคม 2564 เท่ากับ 100.0) นับเป็นเดือนแรกในรอบ 9ปี6เดือน ที่อัตราการค้าไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 สะท้อนถึง ไทยเริ่มมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าระดับราคาส่งออก โดยเป็นผลจากราคานำเข้าจำพวกสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ปุ๋ย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในการบริโภคและการขยายตัวของอุตสาหกรรมขณะที่ราคาส่งออกยังปรับขึ้นได้อย่างจำกัด เนื่องจากประเทศคู่ค้าบางรายยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและการบริโภคยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้านำเข้า คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้อัตราการค้าปรับตัวดีขึ้น หรือมีค่ามากกว่า 100 ในระยะเวลาต่อไป
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ เดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY)ซึ่งส่วนมากเป็นผลมาจากฐานที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อน เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่อง
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1)ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 25632) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น 3) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 4) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาดและ 5) สินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มขยายตัว.คธแนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2564 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2563 2) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น และ 4) ต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์