ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.0เทียบกับระดับ 45.2 ในเดือนก่อนหน้าเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 37.0 มาอยู่ที่ระดับ 37.6และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ( 3เดือนข้างหน้า ) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 53.2ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตามการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวในหลายประเทศ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า Covid-19สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ได้เข้ามาในประเทศไทยและเริ่มกระจายไปแล้วในวงกว้าง แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการน้อยจนถึงไม่มีอาการทำให้ประชาชนคลายความวิตกกังวล แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และหากภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและทันท่วงที ก็จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.30 รองลงมาคือ ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 30.40 ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.24ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ6.81ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 4.84ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 4.43ด้านสังคม/ความมั่นคง ร้อยละ 3.29ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.75และอื่น ๆ ร้อยละ 0.93ตามลำดับ โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ที่มีผู้ติดเชื้อใหม่ลดลง และเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนความเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นแย่ลงโดยเห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19ยังไม่สามารถระงับการแพร่ระบาดได้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มในทุกภูมิภาค โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากระดับ 40.5 มาอยู่ที่ระดับ 43.8ปัจจัยที่ส่งผลความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด รองลงมาคือ เศรษฐกิจไทย และมาตรการของรัฐ ตามลำดับรองลงมาคือ ภาคเหนือ จากระดับ 42.2 มาอยู่ที่ระดับ 44.4ภาคกลาง จากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 48.3ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 48.3 และภาคใต้ จากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 48.2ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ กลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวจากระดับ 39.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.0กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 43.4 มาอยู่ที่ระดับ 45.9 และกลุ่มรับจ้างอิสระจากระดับ 43.5 มาอยู่ที่ระดับ 43.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 ลำดับแรก คือ ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด รองลงมาคือ เศรษฐกิจไทย และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ กลุ่มเกษตรกร จากระดับ 45.0 มาอยู่ที่ระดับ 46.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย รองลงมาคือ ภัยพิบัติ/โรคระบาด และราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 47.6 มาอยู่ที่ระดับ 49.2 กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 52.7 กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 40.5 มาอยู่ที่ระดับ 41.7 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย รองลงคือด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด และมาตรการของรัฐ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.7
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวจาก เดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 47.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.0เทียบกับระดับ 45.2 ในเดือนก่อนหน้าเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 37.0 มาอยู่ที่ระดับ 37.6และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 53.2ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตามการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวในหลายประเทศ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด 19 ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ได้เข้ามาในประเทศไทยและเริ่มกระจายไปแล้วในวงกว้าง แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการน้อยจนถึงไม่มีอาการทำให้ประชาชนคลายความวิตกกังวล แต่ทั้งนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด และหากภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและทันท่วงที ก็จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์