ดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2564 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 3.5(YoY) แต่เป็นการสูงขึ้นในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา(พฤศจิกายน 2564 สูงขึ้นร้อยละ 3.9) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อนหน้า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาส่งออกยังคงขยายตัว โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 37.7 ซึ่งชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 53.7 สะท้อนถึงการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันค่อนข้างมากหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.3 จากน้ำตาลทราย เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตสำคัญยังคงต่ำกว่าระดับปกติ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากสินค้ารถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ โดยได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่ขยายตัวของประเทศคู่ค้า รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากผลของราคายางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป และผลไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้า
ดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2564 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 10.5 (YoY) ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 48.5 โดยชะลอลงจากร้อยละ 72.6 ในเดือนก่อนหน้าตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ชะลอลง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่ ปุ๋ย จากการจำกัดการส่งออกของจีนและรัสเซีย ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาเคมีภัณฑ์ ปรับตัวสูงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.6 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตรายสำคัญของโลกมีแนวโน้มปรับขึ้นราคาสินค้า และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.9 โดยราคาส่วนใหญ่ยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตและความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.8 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง ตามรุ่นที่จัดเก็บที่มีราคาลดลงแนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แต่จะเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงขยายตัว ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟืนตัวอย่างต่อเนื่อง 2) ราคาน้ามันมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการผลิตที่อาจต่ากว่าคาดการณ์จากปัญหาภายในประเทศผู้ผลิตสาคัญของโลก 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด และ 6) สินค้าเกษตรสาคัญมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี
แนวโน้มดัชนีราคานาเข้า ปี 2565 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ามันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 2) ราคาวัตถุดิบที่สาคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น ตามผู้ผลิตรายสาคัญของโลกที่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคาสินค้า และ 4) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูงอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนธันวาคม 2564
อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 100.4 (เดือนพฤศจิกายน 2564 เท่ากับ 99.9) ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และกลับมาอยู่ในระดับสูงกว่า 100 สะท้อนถึง ไทยเริ่มมีความได้เปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราการค้าไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลจากราคาน้ามันในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ราคานาเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ามันมากกว่าส่งออก) ลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของราคาส่งออก ดังนั้น หากราคาน้ามันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจากัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป 1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.4 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทุกรายการ-0.1 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 0.2 ขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นอกจากนี้ หมวดสินค้าเกษตรกรรมผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม 0.0 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากผลของราคารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวทำให้ความต้องการ0.1 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสินค้าเพิ่มขึ้น สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง -5.4 หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดเพื่อใช้ในการบริโภค ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคาลดลงเป็นสำคัญ คือ น้ำตาลทราย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศบราซิลและอินเดีย2.เทียบกับเดือนธันวาคม 2563 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 37.7 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบซึ่งแม้ว่าราคาจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ราคา3.5 รวมทุกรายการน้ำมันยังสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.3 0.7 หมวดสินค้าเกษตรกรรมจากราคาน้ำตาลทราย ตามปริมาณผลผลิตลดลงในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอาหารสัตว์เลี้ยง และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการ5.3 บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่องหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากรถยนต์ อุปกรณ์และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการของประเทศคู่ค้า2.2 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้องการสินค้ารุ่นใหม่และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ตามความต้องการใช้และเป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และเหล็ก ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ 37.7 ทำให้มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากผลของการปรับสูงขึ้นหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง
ของราคายางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง จากความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้า เพื่อการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง3. เฉลี่ยทั้งปี 2564 เทียบกับปี 2563 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 3.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้น3.3 ร้อยละ 36.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และรวมทุกรายการฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้น3.9 ร้อยละ 4.5 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลง ขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม
นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ4.5 อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและผลกระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.9 2.0
ได้แก่ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการของตลาดที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวหมวดสินค้าอุตสาหกรรม
36.5 ของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ราคาเพิ่มขึ้นจากความนิยมสินค้าไทยหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงในตลาดจีนเป็นสำคัญ และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ได้แก่ เม็ดพลาสติก ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น 4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 3.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 49.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากฐานราคาน้ำมันในช่วงก่อนหน้า3.8 ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับตลาดมีความต้องการบริโภคตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทุกรายการ
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.2 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากปริมาณผลผลิต0.0
ที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม
รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ 5.2
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
2.4 และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมจากตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัว สำหรับเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ สูงขึ้นตามสินค้า49.9 เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ สำหรับหมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง
ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ข้าว ราคาลดลง ซึ่งแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ผู้ส่งออกสามารถตั้งราคาขายให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 8.8 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลก1.1 ที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นรวมทุกรายการ
ร้อยละ 1.8 โดยเฉพาะน้ำตาลทราย จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลงในช่วงก่อนหน้า 1.1 ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง และสินค้าประเภทอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หมวดสินค้าเกษตรกรรม
ตามต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้า1.8
เกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรได้แก่ ยางพารา ตามปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่0.7 ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูปขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โค8.8 วิด-19มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้การนำเข้าและบริโภคกุ้งของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามคำสั่งซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าบางกลุ่มเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์