ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 4, 2022 15:25 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 104.10(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกุมภาพันธ์2564 (YoY)สูงขึ้น5.28 2. เดือนมกราคม 2565 (MoM) สูงขึ้น1.06 3.เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2565

สูงขึ้น4.25 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.28 (YoY)ซึ่งเป็นการขยายตัวค่อนข้างมาก โดยในเดือนมกราคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 3.23การเพิ่มสูงขึ้นในเดือนนี้มีปัจจัยสำคัญจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้มีการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง มีการปรับราคาสูงขึ้นในเกือบทุกพื้นที่ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น สำหรับเนื้อสุกรและผักสดแม้ว่าราคาจะยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาแต่ราคาลดลงจากเดือนก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการในการบริโภคของประชาชน

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.80 และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 4.25 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 1.16 (AoA)1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สูงขึ้นร้อยละ 5.28(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.79 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.42จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 26.86และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.30 หมวดเคหสถานร้อยละ 5.69จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาและน้ำยาปรับผ้านุ่ม หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.52 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู สบู่ถูตัว และยาแก้ปวดลดไข้ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.73 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่และสุรา ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าร้อยละ -0.19จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.81 จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.09 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.51 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 8.56 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 3.91 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดร้อยละ 6.94 จากการสูงขึ้นของราคาผักคะน้า มะเขือ และมะนาว กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 8.40 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.10 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 5.75 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 5.29จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง ได้แก่กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -4.20 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -4.77 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าโทร 0 2507 5850 เดือนกุมภาพันธ์ 2565

สนักงนนโยบยและยุทธศสตร์กรค (สนค.)2. เทียบกับเดือนมกราคม 2565สูงขึ้นร้อยละ 1.06(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.43 ตามการรวมทุกรายการ1.06 สูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวและขนมอบ) ร้อยละ 1.27กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด และนมผง) อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.1.43 ร้อยละ 0.47กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ) -อาหารสด-0.88

สำเร็จรูป และน้ำดื่ม) ร้อยละ 0.97 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.0.79 สำเร็จรูปข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 4.38 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า0.02 (อาหารตามสั่ง))ร้อยละ 4.28 ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เคหสถาน0.07

(มะเขือเทศ พริกสด และถั่วฝักยาว)ร้อยละ -1.17 และกลุ่มผลไม้สด(แตงโม การตรวจรักษาและบริการ.0.01 มะม่วง และส้มเขียวหวาน) ร้อยละ -0.59 *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.79 ตามการสูงขึ้นของพาหนะการขนส่งและการ.1.93 สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง) ร้อยละ 1.93 3.31 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวและเสื้อเชิ้ตบุรุษ) ร้อยละ 0.02 -พลังงาน

หมวดเคหสถาน(น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม) ร้อยละ 0.07 การบันเทิง การอ่าน การ.0.08 หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล(ยาสีฟัน น้ำยาระงับกลิ่นกาย และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ร้อยละ 0.01 หมวดการบันเทิง การอ่านยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.01 การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระและอาหารสัตว์) ร้อยละ 0.08และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุราและไวน์)ร้อยละ 0.01 ในขณะที่ การสื่อสาร ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *1.20

ลดลงร้อยละ -0.01 สำหรับค่าโดยสารสาธารณะ ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.25(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 4.80 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.43ตามการรวมทุกรายการ4.25

สูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 27.36เป็นสำคัญ หมวดเคหสถานอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.3.45 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และน้ำยาปรับผ้านุ่ม) ร้อยละ 3.16 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู ค่าแต่งผมชาย และยาแก้ปวดและลดไข้) ร้อยละ 0.40 -อาหารสด3.35 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ และสุรา) ร้อยละ 1.73 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.48 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.4.80 ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ร้อยละ -0.21 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.21 และอาหารสัตว์) ร้อยละ -0.83 และการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.45 จากการเคหสถาน3.16

สูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร เนื้อโค และไก่สด)ร้อยละ 9.45 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด และนมสด) ร้อยละ 3.31 การตรวจรักษาและบริการ.0.40

กลุ่มผักสด(มะเขือ มะเขือเทศ และกะหล่ำปลี) ร้อยละ 2.96 กลุ่มเครื่องประกอบพาหนะการขนส่งและการ.

9.43

(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) ร้อยละ 0.60 -พลังงาน

24.09 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 3.58และ กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารกลางวัน การบันเทิง การอ่าน การ.-0.83 (ข้าวราดแกง) อาหารเช้าและอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 3.15 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ยาสูบและเครื่องดื่มมี.1.73 (ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -5.43 และกลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า)ร้อยละ -3.81 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *1.16

อัตราการเปลี่ยนแปลง(YoY) จำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทุกภาคยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยมีรายละเอียดดังนี้

รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 5.14 4.97 5.23 2. ภาคกลาง 5.90 5.55 6.15 3.ภาคเหนือ5.34 4.40 6.07 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.55 3.24 5.58 5. ภาคใต้5.40 4.07 6.37 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคขยายตัวต่อเนื่องในอัตราเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยภาคกลางขยายตัวสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 5.90 ในขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวต่ำที่สุด ที่ร้อยละ 4.55 สำหรับภาคใต้ ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขยายตัวร้อยละ 5.40 5.34 และ 5.14ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ตามการสูงขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลก และค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากฐานในปีที่ผ่านมาต่ำ (มีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค) และราคาเนื้อสุกร ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ราคาเนื้อสุกรเริ่มทยอยปรับลดลง สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน มะม่วง) ค่าธรรมเนียมการศึกษา เป็นต้น

5.แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2565

แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2565 คาดว่ายังคงอยู่ในระดับสูงตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า)เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคาสูงขึ้นได้เช่นกัน รวมทั้งสินค้าในกลุ่มอาหารสำเร็จรูป และเครื่องประกอบอาหารมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในช่วงต้นปี 2564 ค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อขึ้นได้อีกทาง อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เริ่มปรับตัวลดลง อาทิ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกร ผักสด และผลไม้ รวมทั้งมาตรการของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2565ยังคงมีความเสี่ยงและเคลื่อนไหวในช่วงกว้าง ซึ่งจะประเมินสถานการณ์และปรับตัวเลขคาดการณ์ให้มีความเหมาะสมในเดือนมีนาคม 2565

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ