ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมีนาคม 2565 และไตรมาสแรกของปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 5, 2022 13:13 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 104.79(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมีนาคม2564 (YoY)สูงขึ้น5.73 2. เดือนกุมภาพันธ์ 2565 (MoM) สูงขึ้น0.66 3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

สูงขึ้น4.75 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) 4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

สูงขึ้น1.91 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.73 (YoY)เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เพิ่มขึ้น (เดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 5.28)โดยมีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.43อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชนออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศร้อนส่งผลต่อปริมาณผลผลิตและขนาดของไข่ไก่ รวมทั้งการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มผักสด อาทิ มะนาว ผักกาดขาว และผักชี เนื้อสุกร ไก่สด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาราคาสินค้ากลุ่มอาหารโดยเฉพาะข้าวและเนื้อสัตว์ ราคาลดลง สำหรับกลุ่มเครื่องประกอบอาหารและอาหารสำเร็จรูป ราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.00และไตรมาสแรกของปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 1.43(YoY)1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 5.73(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.56 โดยมีสาเหตุหลัก จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 11.29จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 31.43และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 1.10 หมวดเคหสถานร้อยละ 5.71 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และผงซักฟอกหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.52 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพูยาแก้ปวดลดไข้ และค่าแต่งผมชาย และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.18 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.18 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษเสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.89 จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.07 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.56 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 5.74 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.08 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดร้อยละ 9.96 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว ผักคะน้า ผักกาดขาว และพริกสด กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 8.16 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.54 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำปั่นผลไม้/ผัก กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 6.28 จากการสูงขึ้นของราคา กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 6.15 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง ได้แก่กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -4.15 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -3.27จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน ฝรั่ง และกล้วยหอม

2. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565สูงขึ้นร้อยละ 0.66(MoM)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.16 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง) ร้อยละ 2.83 หมวดเคหสถาน(น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก และน้ำยาล้างห้องน้ำ) ร้อยละ 0.04 หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล(น้ำยาระงับกลิ่นกาย แป้งทาผิว และโฟมล้างหน้า) ร้อยละ 0.01 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา และไวน์)ร้อยละ 0.44 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์ และค่าโดยสารเครื่องบิน) ร้อยละ 0.86 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวและเสื้อเชิ้ตบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.02 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(อาหารสัตว์เลี้ยงและเครื่องรับโทรทัศน์)ลดลงร้อยละ -0.02 สำหรับการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.04 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -0.44 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กุ้งขาว และหอยแมลงภู่) ร้อยละ -2.54 ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมข้นหวาน และนมถั่วเหลือง) ร้อยละ 1.60 กลุ่มผักสด(มะนาว ผักกาดขาว และต้นหอม)ร้อยละ 3.53 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า และองุ่น) ร้อยละ 0.63 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส และซอสหอยนางรม) ร้อยละ 0.61 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำปั่นผลไม้/ผัก) ร้อยละ 0.56 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า) ร้อยละ 0.44 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้าอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.82

3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.75(YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.39 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.06 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 28.77 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และน้ำยาปรับผ้านุ่ม) ร้อยละ 4.00 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู ค่าแต่งผมชาย และยาแก้ปวดและลดไข้) ร้อยละ 0.44 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์ และสุรา) ร้อยละ 1.88 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.69 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ร้อยละ -0.19 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาและอาหารสัตว์) ร้อยละ -0.85และการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.81 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร เนื้อโค และไก่สด)ร้อยละ 8.21 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด และนมสด) ร้อยละ 4.22 กลุ่มผักสด(ผักคะน้า ผักชี และมะนาว) ร้อยละ 5.24 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ) ร้อยละ 7.63 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) ร้อยละ 0.91 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 4.49 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 4.16 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว)ร้อยละ -5.00 และกลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า)ร้อยละ -3.63

4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.91(QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.24 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 8.41 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 2.11 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 4.26 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.94 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 4.13 และ 3.95 ตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -0.10 กลุ่มผักสดร้อยละ -18.43 และกลุ่มผลไม้สดร้อยละ -2.31 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.67 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 3.35ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 8.63 และ 0.25 ตามลำดับ หมวดเคหสถานร้อยละ 0.84หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.15 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.07 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.81 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.02 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.03

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ