ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 45.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเมษายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.7 เทียบกับระดับ 43.8 ในเดือนก่อนหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.0 มาอยู่ที่ระดับ 52.0 ซึ่งอยู่ในช่วงมีความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (มี.ค. 65 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 19.5%ซึ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี) ภาคการท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดยาว ศบค.ได้ผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมได้ส่งผลให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าไทย โดยได้ยกเลิกการตรวจ RT-PCRตั้งแต่ 1 เม.ย.65 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 34.5 มาอยู่ที่ระดับ 36.4 ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.88รองลงมาคือ ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 24.11 ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 1.89ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.02ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 6.43ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.80ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ5.13ด้านสังคม/ความมั่นคง ร้อยละ 3.46และด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.29โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ ประชาชนคลายความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนความเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นแย่ลงโดยเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงทั้งจากภาวะสงครามรัชเซีย-ยูเครน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจมีการกลายพันธุ์ และรุนแรงมากกว่าสายพันธ์เดิม และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นหมายเหตุ:ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เริ่มใช้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับปรุงใหม่ (REV. CCI 2019) ซึ่งมีการ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากระดับ 43.0มาอยู่ที่ระดับ 46.2 ตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 45.3มาอยู่ที่ระดับ 47.3 ภาคเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 42.9มาอยู่ที่ระดับ 43.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ภัยพิบัติ/โรคระบาด และมาตรการของรัฐ
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 42.0มาอยู่ที่ระดับ 42.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และภัยพิบัติ/โรคระบาด
ภาคใต้ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 44.4มาอยู่ที่ระดับ 47.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ภัยพิบัติ/โรคระบาด และเศรษฐกิจโลก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลุ่มอาชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 43.7 มาอยู่ที่ระดับ 46.2 กลุ่มพนักงานเอกชน ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 41.4 มาอยู่ที่ระดับ 43.9 และกลุ่มรับจ้างอิสระ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 41.6 มาอยู่ที่ระดับ 43.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ภัยพิบัติ/โรคระบาดและมาตรการของรัฐ
กลุ่มนักศึกษา ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 41.0 มาอยู่ที่ระดับ 43.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของรัฐและภัยพิบัติ/โรคระบาด
กลุ่มเกษตรกร ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 45.5 มาอยู่ที่ระดับ 46.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น3 อันดับแรก คือเศรษฐกิจไทยภัยพิบัติ/โรคระบาดและราคาสินค้าเกษตร
กลุ่มพนักงานของรัฐดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 52.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยภัยพิบัติ/โรคระบาดและเศรษฐกิจโลกตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 42.9 มาอยู่ที่ระดับ 40.8 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือเศรษฐกิจไทยภัยพิบัติ/โรคระบาดและมาตรการของรัฐ
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้า จากระดับ 42.0 มาอยู่ที่ระดับ 47.0
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 45.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเมษายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.7 เทียบกับระดับ 43.8 ในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.0 มาอยู่ที่ระดับ 52.0 ซึ่งอยู่ในช่วงมีความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (มี.ค. 65 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 19.5%ซึ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี) ภาคการท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดยาว ศบค.ได้ผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมได้ส่งผลให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าไทย โดยได้ยกเลิกการตรวจ RT-PCRตั้งแต่ 1 เม.ย.65 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 34.5 มาอยู่ที่ระดับ 36.4 ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์