ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2022 11:08 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 106.62(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤษภาคม2564 (YoY)สูงขึ้น7.10 2. เดือนเมษายน 2565 (MoM) สูงขึ้น1.40 3.เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2565

สูงขึ้น5.19 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 7.10(YoY)โดยในเดือนเมษายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 4.65 การสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้มีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานและอาหารเป็นสำคัญโดยสินค้ากลุ่มพลังงาน สูงขึ้นถึงร้อยละ 37.24จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามสถานการณ์พลังงานโลก และการยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้มทำให้ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 รวมทั้งการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)ในรอบเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2565 สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ตามการสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต ในขณะที่มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม และค่าการศึกษา

          ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.28 และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 5.19 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 1.72 (AoA)1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 7.10(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 7.74 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 13.14 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 35.89 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 1.38 หมวดเคหสถานร้อยละ 6.65 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้มหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.09 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู ยาสีฟัน และสบู่ถูตัว และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.21 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.06 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรี และเสื้อเชิ้ตสตรี หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.65จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และกลุ่มการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.08 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 6.18 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 10.45 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และเนื้อโค กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 9.39 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมผง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 3.69 จากการสูงขึ้นของราคาพริกสด แตงกวา และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.43 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน ทุเรียน และองุ่นกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 10.41 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.19จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และ        น้ำปั่นผลไม้/ผัก กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 6.84 จากการสูงขึ้นของราคา        กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 6.28 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง คือกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -2.81จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และแป้งข้าวเจ้า

2. เทียบกับเดือนเมษายน 2565สูงขึ้นร้อยละ 1.40(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.64 ตามการสูงขึ้นรวมทุกรายการ1.40

ร้อยละ 7.67 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษและกางเกงอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.1.04 ชั้นในสตรี) ร้อยละ 0.06 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้มและผงซักฟอก) ร้อยละ 0.77 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(สบู่ถูตัว-อาหารสด1.73 โฟมล้างหน้า และยาสีฟัน) ร้อยละ 0.26 และหมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯ(อาหารสัตว์เลี้ยงและเครื่องรับโทรทัศน์) ร้อยละ 0.24 ค่าโดยสารหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.1.64

สาธารณะ (ค่ารถรับส่งนักเรียนและค่าโดยสารรถเมล์เล็ก/รถสองแถว) ร้อยละ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า0.06 0.14 ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงเคหสถาน0.77 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.04 ตามการสูงขึ้นของสินค้าเกือบทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งการตรวจรักษาและบริการ.0.26

(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมปังปอนด์) ร้อยละ 0.79กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ พาหนะการขนส่งและการ.3.23 และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่สด และปลาทู) ร้อยละ 3.17 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม6.56 (ไข่ไก่ นมผง และนมถั่วเหลือง) ร้อยละ 0.81 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน-พลังงานมังคุด และเงาะ) ร้อยละ 3.14 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช น้ำปลา และน้ำพริกแกง) ร้อยละ 1.25 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลมการบันเทิง การอ่าน การ.0.24

กาแฟผงสำเร็จรูป และเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต) ร้อยละ 0.35 กลุ่มอาหารบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.00 ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง (delivery)และก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 0.32 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.17 และอาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า)) ร้อยละ 0.04ในขณะที่กลุ่มผักสด(มะนาว ผักกาดขาว และพริกสด)ลดลงร้อยละ -2.74 3. เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.19(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.68 รวมทุกรายการ5.19 อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.4.50 -อาหารสด3.84 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.5.68 เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.17

และอาหารสัตว์) ร้อยละ -0.81และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 เคหสถาน3.90 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.50 การตรวจรักษาและบริการ.0.65 พาหนะการขนส่งและการ.

10.82

27.72 -พลังงานการบันเทิง การอ่าน การ.-0.81 ยาสูบและเครื่องดื่มมี.2.01 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *1.72 หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.68 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.82 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 30.45 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และแก๊สหุงต้ม) ร้อยละ 3.90 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู ค่าแต่งผมชาย และยาแก้ปวดและลดไข้) ร้อยละ 0.65 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์ และสุรา) ร้อยละ 2.01 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.96 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ร้อยละ -0.17 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาและอาหารสัตว์) ร้อยละ -0.81และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.50 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร เนื้อโค และไก่สด)ร้อยละ 8.40 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด และนมสด) ร้อยละ 6.39 กลุ่มผักสด(กะหล่ำปลี ผักคะน้า และมะนาว) ร้อยละ 4.03 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ) ร้อยละ 8.49 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) ร้อยละ 1.35 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 5.38 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 4.99 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลงได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และแป้งข้าวเจ้า) ร้อยละ -4.30 และกลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า) ร้อยละ -2.10

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นซึ่งอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 7.95 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 7.466.98และ 6.85ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 6.53

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารสำเร็จรูป เนื้อสุกร และน้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด อาทิ ขิง ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว เป็นต้น

5.แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เดือนมิถุนายน 2565มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมีการขยายเพดานการตรึงราคาน้ำมันดีเซล การปรับราคาก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)นอกจากนี้ สินค้าอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปที่ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต รวมถึงต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ การระงับการส่งออกสินค้าในหลายประเทศและอุปสงค์ที่เริ่มฟื้นตัว จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังคงเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565จะเคลื่อนไหวในกรอบร้อยละ 4.0 -5.0 (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ