ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤษภาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 5.0 (YoY) หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 63.2 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามความกังวลตลาดน้ำมันโลกมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลสำคัญมาจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ตามความต้องการใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ประกอบกับอินโดนีเซียประเทศผู้ส่งออกสำคัญของโลกระงับการส่งออกชั่วคราว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเหล็กที่ใช้ผลิตกระป๋องปรับสูงขึ้น อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ความต้องการใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภค ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ทำให้วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หลายชนิดขาดแคลน และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน อยู่ที่ร้อยละ 14.4 (YoY) หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 69.6 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 7.5 ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ตามต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ตามต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.2 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยราคายังสูงกว่าปีก่อนหน้าเนื่องจากรัสเซียจำกัดการส่งออก ขณะที่เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สูงขึ้นตามความต้องการที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ประกอบกับผลผลิตโลกลดลง และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามต้นทุนการผลิตและความต้องการลงทุนทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายอย่างชัดเจน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง เป็นผลมาจาก (1) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงทรงตัวระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ (2) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (3) สินค้าที่ใช้ทดแทนข้าวสาลีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (4) สินค้าทางการเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น และ (5) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนพฤษภาคม 2565
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 95.2 (เดือนเมษายน 2565เท่ากับ 96.1) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นข้อจำกัดที่ทำให้อัตราการค้าของไทยในระยะต่อไปยังไม่ดีขึ้น 1. เทียบกับเดือนเมษายน 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วยหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติเหลว จากความกังวลตลาดน้ำมันมีความตึงตัวมากขึ้น ผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ทำให้ประเทศผู้ซื้อพลังงานรายใหญ่หลายราย โดยเฉพาะในยุโรปเตรียมเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร มาตรการลดปริมาณการซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย ประกอบกับประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศ OPECผลิตน้ำมันได้ต่ำกว่าส่วนแบ่งที่ได้รับจัดสรร หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากความต้องการนำเข้าข้าวในหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น เพื่อทดแทนสินค้าธัญพืชอื่น ๆ ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น สำหรับไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารเลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป จากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ค่าขนส่ง และค่าระวางเรือที่ปรับสูงขึ้น สำหรับไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ผลจากการระงับการส่งออกปาล์มน้ำมันของผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างอินโดนีเซียสำหรับน้ำตาลทราย ผลจากความต้องการใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากผลของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าของตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับการลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ และต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น สำหรับเคมีภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
2.เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 5.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามความกังวลของตลาดน้ำมันโลกที่มีความตึงตัวมากขึ้น อันเป็นผลมาจากปริมาณการผลิตลดลง และความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเหล็กที่ใช้ผลิตกระป๋องปรับสูงขึ้น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกสำคัญที่มีนโยบายระงับการส่งออกปาล์มน้ำมันชั่วคราว ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น สำหรับน้ำตาลทราย จากความต้องการนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอเทานอลเพิ่มขึ้น ได้แก่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ปลา ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และกุ้ง ตามความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ทำให้วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หลายชนิดขาดแคลน สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 63.2
3. เฉลี่ยม.ค.-พ.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 53.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่เร่งตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศรวมทั้งฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ6.1 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันที่ราคาสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนแลอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ สินค้าผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้าและทองแดงปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้า และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ยางพารา ความต้องการเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า สำหรับไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
1. เทียบกับเดือนเมษายน 2565 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 1.3โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 6.4 ได้แก่ น้ำมันดิบ ผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ประกอบกับประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศ OPECผลิตน้ำมันได้ต่ำกว่าส่วนแบ่งที่ได้รับจัดสรร หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลจากชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ จากต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น และการทยอยฟื้นตัวของการลงทุนทั่วโลก ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจจริง ขณะที่ปุ๋ยราคาลดลง แต่ในภาพรวมราคายังสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างสูง
2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 14.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 69.6 เป็นการสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 67.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ และประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศ OPECผลิตน้ำมันได้ต่ำกว่าส่วนแบ่งที่ได้รับจัดสรร ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 7.5 ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ตามต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ตามต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.2 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยราคายังสูงกว่าปีก่อนหน้าเนื่องจากรัสเซียจำกัดการส่งออก ขณะที่เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สูงขึ้นตามความต้องการที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ประกอบกับผลผลิตโลกลดลง และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามต้นทุนการผลิตและความต้องการลงทุนทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายอย่างชัดเจน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
3. เฉลี่ยม.ค.-พ.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 13.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 63.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น และปุ๋ย เนื่องจากรัสเซียจำกัดการส่งออก และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.5 ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม ผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.0 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง และเป็นสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่ทรงตัวระดับสูง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 95.2(เดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 96.1) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 95.2 (เดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 96.1) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นข้อจำกัดที่ทำให้อัตราการค้าของไทยในระยะต่อไปยังไม่ดีขึ้น
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม ทองคำ และทองแดงและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์