ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 116.2 (ปี 2558=100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมิถุนายน 2564 (YoY)สูงขึ้น13.8 2. เดือนพฤษภาคม 2565 (MoM) สูงขึ้น1.0 3.เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2565
สูงขึ้น11.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 (AoA)4. ไตรมาสที่2ปี 2565เทียบกับ
สูงขึ้น13.3 ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)5.ไตรมาสที่2ปี 2565เทียบกับ
สูงขึ้น5.3 ไตรมาสก่อนหน้า(QoQ)Highlights
ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification of Products byActivity)เดือนมิถุนายน 2565 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 116.2 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2564 สูงขึ้นร้อยละ 13.8 (YoY)เป็นผลมาจากการปรับสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ และต้นทุนด้านพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า ประกอบกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยราคาสินค้าของผู้ผลิตมีการปรับสูงขึ้นทั้ง 3 หมวดหลัก ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 12.9 จากกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 54.0 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 9.1 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าหัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชผัก ผลปาล์มสด ยางพารา สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จากการประมง
ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)พบว่าดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้นร้อยละ 5.8 25.2 และ 29.9 ตามลำดับ โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ที่ราคาปรับสูงขึ้นตามวัตถุดิบ ได้แก่ ผลปาล์มสดน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หัวมันสำปะหลังสด มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และ น้ำยางสด/ยางแผ่นดิบยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง ยางล้อ/ยางรัดของ เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 13.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 12.9 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด น้ำมันปาล์ม มันเส้น ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ และน้ำสับปะรด เนื่องจากราคาวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์รวมทั้งค่าขนส่งวัตถุดิบปรับสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบมีน้อย ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศอยู่ในระดับสูง น้ำตาลทราย ราคาปรับตัวตามภาวะราคาตลาดโลก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก โซดาไฟ และปุ๋ยเคมีผสม เนื่องจากราคาวัตถุดิบและราคาอ้างอิงตลาดต่างประเทศปรับสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) จากการปรับโครงสร้างต้นทุนสินค้าใหม่ และเงินบาทที่อ่อนค่าลง กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาปรับตามตลาดโลก
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 54.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ (แร่เหล็ก ดีบุก สังกะสี วุลแฟรม) ตามทิศทางราคาตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานของน้ำมันดิบลดลง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ในขณะที่กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันโอเปกพลัสยังคงประสบปัญหาในการเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ตามเป้าหมาย
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 9.1 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า และหัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากยังมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นที่ราคาสูงกว่า พืชผัก (พริกสด ต้นหอม หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม มะเขือ พริกชี้ฟ้าสด) เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ผลปาล์มสด เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก ยางพารา เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นส่งผลให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และไข่เป็ด เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากมาตรการเปิดประเทศ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย กุ้งแวนนาไม ปลาทรายแดง ปูม้า กุ้งทะเล ปลาดุก และปลานิล เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและสถานบันเทิงเริ่มกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ สำหรับสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากความต้องการของตลาดชะลอตัว กลุ่มผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ลำไย กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ มังคุด และเงาะ เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์รวมทุกรายการ1.0
และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดโลก เนื่องจากอุปทานน้ำมันโลก ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง-0.7 มีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง จากผลของมาตรการคว่ำบาตรประเทศรัสเซีย ประกอบกับประเทศจีนและสหรัฐมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ไก่สด เนื้อสุกร ผลิตภัณฑ์จากเหมือง-10.3 ข้าวสารเจ้า น้ำตาลทราย ข้าวนึ่ง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ และกุ้งแช่แข็ง เนื่องจากวัตถุดิบสินค้าเกษตร บรรจุภัณฑ์ และค่าขนส่ง มีการปรับราคาสูงขึ้น ประกอบกับได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม1.8 กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) ราคาปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาปรับตามตลาดโลก นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมหลายกลุ่มปรับราคาสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งวัตถุดิบ ประกอบด้วย กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียน กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าฝ้าย และสิ่งทอจากใยสังเคราะห์ (เส้นใย/ด้าย/ผ้า) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ท่อคอนกรีต แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีต . 2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้ (ต่อ)
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 10.3 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และแร่โลหะ (แร่สังกะสี วุลแฟรม) ตามภาวะตลาดโลก
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากปริมาณยางเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ยางชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดจีนที่ยังมีปริมาณยางอยู่ในสต็อก ผลปาล์มสด เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับอินโดนีเซียหันมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง และมะพร้าวผล เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ พืชผัก (มะนาว กะหล่ำปลี มะระจีน ผักกวางตุ้ง ขิง ฟักทอง และบวบ) ผลไม้ (ทุเรียน สับปะรดโรงงาน/บริโภค เงาะ กล้วยไข่ และส้มเขียวหวาน) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรสำคัญบางรายการ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบให้กับประเทศคู่ค้า หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ปริมาณผลผลิตจึงออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศและส่งออกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกร/ไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังอยู่ในระดับต่ำและมีต้นทุนการผลิตสูง ขณะที่การบริโภคปรับเพิ่มขึ้นจากมาตรการเปิดประเทศ และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย ปูม้า ปลาลัง ปลากะพง และปลาทรายแดง เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับการบริโภคเพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบการร้านอาหารและสถานบันเทิงกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ 3.เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 11.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 10.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก โซดาไฟ และปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด น้ำมันปาล์มดิบ มันเส้น น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำสับปะรด น้ำมันถั่วเหลือง/น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสไดรฟ์) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ถุงพลาสติก ท่อพลาสติก ข้อต่อพลาสติก แผ่นฟิล์มพลาสติก ยางแผ่นรมควัน และถุงมือยาง กลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เหล็กแผ่น ท่อเหล็ก เหล็กเส้น เหล็กลวด เหล็กฉาก ลวดแรงดึงสูง และลวดเหล็ก กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถยนต์นั่ง และรถบรรทุก กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าดิบ เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าใยสังเคราะห์ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตูเหล็ก ตะปู/สกรู/น๊อต กุญแจ กระป๋อง และถังแก๊ส กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ปูนเม็ด ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คอนกรีตผสมเสร็จ กระเบื้องปูพื้น-บุผนัง และเสาเข็มคอนกรีต กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้แก่ บุหรี่กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ กระดาษคร๊าฟท์ กล่องกระดาษ และเยื่อกระดาษ กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ไฟเบอร์บอร์ด กรอบไม้ และไม้ยางพารา กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เครื่องแบบนักเรียนชาย/หญิง กางเกงสตรี/บุรุษ เสื้อยืด และถุงเท้า และกลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 65.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ผลปาล์มสด อ้อย ยางพารา หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สุกร/ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และผักสด (พริกสด หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือ กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า กะหล่ำดอก และผักชี) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม ปลาหมึกกล้วย ปลาสีกุน ปลาทรายแดง ปลาดุก ปลาลัง และหอยแครง
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 12.1
โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 12.1 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)ยางมะตอย และน้ำมันหล่อลื่น กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ โซดาไฟ เม็ดพลาสติก เอทิลีน ปุ๋ยเคมีผสม โพรพิลีน เบนซีน และกรดเกลือ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันปาล์ม ไก่สด มันเส้น น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำสับปะรด น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป กุ้งแช่แข็ง และแป้งข้าวเหนียว กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสไดรฟ์) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ถุงพลาสติก ท่อพลาสติก และถุงมือยาง กลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กลวด ท่อเหล็ก ลวดแรงดึงสูง ลวดเหล็ก เหล็กฉาก และเหล็กรูปตัวซี กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถยนต์นั่ง และรถบรรทุก กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าดิบ เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าใยสังเคราะห์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ปูนเม็ด ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีต กระเบื้องปูพื้น-บุผนัง และท่อคอนกรีต กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ไฟเบอร์บอร์ด ไม้ยางพารา และกรอบไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตูเหล็ก กระป๋อง กุญแจ ตะปู/สกรู/น๊อต และถังเก็บน้ำ และกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ กระดาษคร๊าฟท์ เยื่อกระดาษ และกล่องกระดาษ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 68.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ (สังกะสี ยิปซั่ม แร่เหล็ก ดีบุก วุลแฟรม)
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 7.7 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ผลปาล์มสด สุกร/ไก่มีชีวิต อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ไข่ไก่ และผักสด (พริกสด หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือ ข้าวโพดฝักอ่อน ผักกวางตุ้ง กะหล่ำดอก มะระจีน ต้นหอม แตงร้าน ผักบุ้ง) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย กุ้งแวนนาไม ปลาสีกุน ปลาดุก ปลาทรายแดง และปลาลัง
โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก โพรพิลีน เอทิลีน โซดาไฟ และปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด มันเส้น น้ำตาลทราย น้ำมันปาล์ม ข้าวสารเจ้า ข้าวนึ่ง ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ และน้ำสับปะรด กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสไดรฟ์) กลุ่มผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ยางแท่ง ถุงพลาสติก กระสอบพลาสติก และยางนอกรถบรรทุก กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษคร๊าฟท์ และกล่องกระดาษ กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าดิบ ผ้าฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าใยสังเคราะห์ กลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กลวด ท่อเหล็ก และลวดเหล็ก กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ปูนเม็ด เสาเข็มคอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ ท่อคอนกรีต และแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เครื่องแบบนักเรียนชาย/หญิง กางเกงบุรุษ/สตรี ถุงเท้า และกางเกงชั้นในบุรุษ/สตรี กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ กระป๋อง กุญแจ ตะปู/สกรู/น๊อต และถังเก็บน้ำ กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และเบียร์ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถยนต์นั่ง และรถบรรทุก
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 11.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ (สังกะสี แร่ดีบุก)
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด สุกร/ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และผักสด (มะนาว ผักกวางตุ้ง ผักชี ผักกาดขาว ผักขึ้นฉ่าย ผักคะน้า) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย ปลาดุก กุ้งทะเล ปลาโอ และปูม้า5.ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 5.3
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.2
ดัชนีราคาผู้ผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง จากหลายปัจจัย ได้แก่ 1) ต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งราคาปุ๋ย อาหารสัตว์ วัตถุดิบ และค่าขนส่ง นอกจากนี้ เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น 2) ความขัดแย้งในยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งส่งผลต่ออุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ 3) อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และ 4) การส่งออกที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ขณะที่มีการจำกัดการส่งออกในหลายประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันและผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เริ่มกลับมาสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก อาจส่งผลต่อความต้องการและราคาสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์