ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 107.46(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนสิงหาคม2564 (YoY)สูงขึ้น7.86 2. เดือนกรกฎาคม 2565 (MoM) สูงขึ้น0.05 3.เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค. -ส.ค.) ปี 2565
สูงขึ้น6.14 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 7.86(เดือนกรกฎาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 7.61)โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าราคาจะลดลง รวมทั้งราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาผักสด เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายและปริมาณเข้าสู่ตลาดน้อยลง ราคาไข่ไก่ปรับสูงขึ้นตามราคาประกาศหน้าฟาร์ม สำหรับเครื่องประกอบอาหารราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้คำนวณจากฐานดัชนีราคาของเดือนสิงหาคม 2564 ที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เตารีด เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้าเป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.15 และเฉลี่ย 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.) 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 6.14 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 2.16 (AoA)
1. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 7.86(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.35 โดยเป็นการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 0.29 จากการสูงขึ้นของราคาขนมอบ ขนมปังปอนด์ และวุ้นเส้น กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 15.15 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรและไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.60 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมผง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 15.78 จากการสูงขึ้นของราคาพริกสด ต้นหอม และผักคะน้า กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 7.27 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน แตงโม และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 11.06 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และซอสหอยนางรม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.06 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 8.91 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 8.50จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.83 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 8.47 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 21.65 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 5.09 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.11 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยกทรงและกางเกงขายาวสตรีหมวดเคหสถานร้อยละ 8.59 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้าค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.49จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน และแชมพู หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.14จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.40จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.08จากการลดลงของค่าส่งพัสดุไปรษณีย์และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ
2. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565สูงขึ้นร้อยละ 0.05(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.97 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกรและปลาช่อน)ร้อยละ 0.50 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่และนมข้นหวาน) ร้อยละ 3.05กลุ่มผักสด(ผักคะน้า ผักบุ้ง และผักกาดขาว)ร้อยละ 6.74 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง และมะม่วง) ร้อยละ 3.99 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำผลไม้) ร้อยละ 0.38 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 0.19 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.06 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า แป้งข้าวเจ้าและขนมปังปอนด์) ร้อยละ -0.11 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืชและผงชูรส) ร้อยละ -0.52 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.60 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -3.93 ส่งผลให้หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.69 ในขณะที่สินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวสตรี และรองเท้าหุ้มส้นหนังบุรุษ) ร้อยละ 0.01 หมวดเคหสถาน(ก๊าซหุงต้ม ผงซักฟอก และน้ำยาล้างห้องน้ำ) ร้อยละ0.14 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมชาย แชมพู และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ร้อยละ 0.37 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าถ่ายเอกสารอาหารสัตว์เลี้ยง และค่าห้องพักโรงแรม) ร้อยละ 0.02 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา และบุหรี่) ร้อยละ 0.05 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบินและค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น1) ร้อยละ 0.02ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
3. เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค. -ส.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.14(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้.
*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.38 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.95 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 29.89 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ 5.38 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู สบู่ถูตัว และยาสีฟัน) ร้อยละ 0.83 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์ และสุรา) ร้อยละ 2.13 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 2.18 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ร้อยละ -0.07 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาทุกระดับชั้น) ร้อยละ -0.31และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.79 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกรและไก่สด) ร้อยละ 10.46กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด และนมผง) ร้อยละ 5.77 กลุ่มผักสด(พริกสด มะนาว และต้นหอม) ร้อยละ 5.77 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืชและกะปิ) ร้อยละ 9.58 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และกาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ 1.88 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 6.47 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))ร้อยละ 6.06สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวและแป้งข้าวเจ้า)ร้อยละ -3.17 และกลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน และกล้วยน้ำว้า)ร้อยละ -0.65
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นโดยในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของภาคเหนือ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 8.24 รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้สูงขึ้นร้อยละ 7.987.94และ 7.88ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 7.34
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง)สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ผักและผลไม้ อาทิ ขิง มะนาว และสับปะรด5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน ปี 2565
อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง จากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน อาหาร และสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุน ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการท่องเที่ยวในประเทศ และการส่งออก ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้า อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเดียวกันปีก่อน จะเป็นปัจจัยทอนต่อการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวน จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอน นอกจากนั้น มาตรการลดค่าไฟฟ้าของรัฐ ที่คาดว่าจะออกมาในช่วงที่เหลือของปี จะมีส่วนชะลอการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 -6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย
Concept ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ปีฐาน 2562 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ ทั้งสิ้น 430 รายการ (ปีฐาน 2558 มีจำนวน 422 รายการ)ครอบคลุมสินค้าและบริการ 7 หมวดที่จำเป็นต่อการครองชีพ ได้แก่1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3) หมวดเคหสถาน4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล5) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 6) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ 7) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า "ปีฐาน"ที่กำหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 ทั้งนี้ ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีปีฐาน 2562 ได้แก่ ครัวเรือนรวมเขตเทศบาล กรอบรายได้ 6,987-50,586บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงินไม่เกิน ร้อยละ 42.19 สมาชิกครัวเรือนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในพื้นที่1/กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 48 จังหวัด
1/48 จังหวัด ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคกลาง5.พระนครศรีอยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ 16.ฉะเชิงเทรา17.นครปฐม 18.สระแก้ว ภาคเหนือ19.นครสวรรค์ 20.ตาก 21.แพร่ 22.เชียงใหม่ 23.เชียงราย 24.อุตรดิตถ์ 25.พิษณุโลก 26.เพชรบูรณ์ 27.น่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ28.นครราชสีมา 29.ขอนแก่น 30.สุรินทร์ 31.อุบลราชธานี 32.หนองคาย 33.ศรีสะเกษ 34.มุกดาหาร 35.อุดรธานี 36.ร้อยเอ็ด37.นครพนม 38.เลย 39.กาฬสินธุ์ ภาคใต้40.สุราษฎร์ธานี 41.นครศรีธรรมราช 42.ตรัง 43.สงขลา 44.ยะลา 45.ภูเก็ต 46.กระบี่ 47. นราธิวาส 48.ระนอง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์