ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2565 และเฉลี่ยระยะ 9 เดือนของปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 10, 2022 11:56 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกันยายน2564 (YoY)สูงขึ้น6.41 2. เดือนสิงหาคม 2565 (MoM) สูงขึ้น0.22 3.เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) ปี 2565

สูงขึ้น6.17 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)4. ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

สูงขึ้น7.28 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5. ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

สูงขึ้น1.01 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 6.41 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า (เดือนสิงหาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 7.86) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามสถานการณ์พลังงานโลก ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานอื่น ๆ ราคายังคงสูงขึ้น ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม จากการปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได สำหรับค่ากระแสไฟฟ้า แม้จะมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในเดือนนี้ แต่ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ส่วนหนึ่งนอกจากนี้ ราคาสินค้ากลุ่มผักสดสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขัง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ อย่างไรก็ตามมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ค่าส่งพัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.12 เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.)ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.26 (AoA)

สำหรับเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2565 สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.28 (YoY)และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 1.01(QoQ)1. เทียบกับเดือนกันยายน 2564 สูงขึ้นร้อยละ 6.41(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.82 จากการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 1.45 จากการสูงขึ้นของราคาขนมอบและขนมปังปอนด์ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 15.24 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรและไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.61 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมผง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 13.55 จากการสูงขึ้นของราคาพริกสด ผักคะน้า และกะหล่ำปลี กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 10.86 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน แตงโม และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 9.93 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.98 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 9.33 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 8.83จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 4.10 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 6.37 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 15.94 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 5.25 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.17 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เสื้อยกทรง และกางเกงขายาวสตรี หมวดเคหสถานร้อยละ 3.46จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และผงซักฟอก หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.51 จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน และแชมพู หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.21 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.49

จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.07จากการลดลงของค่าส่งพัสดุไปรษณีย์และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ

*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.67 จากการรวมทุกรายการ0.22 สูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ขนมอบ ข้าวสารเหนียวและวุ้นเส้น) ร้อยละ 0.08กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ปลานิล อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.67 ปลาหมึกกล้วย และปลาทู) ร้อยละ 0.13 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมผง) ร้อยละ 1.79กลุ่มผักสด(มะนาว มะเขือเทศ -อาหารสด1.01 และแตงกวา)ร้อยละ 2.13 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน แตงโม และมะม่วง) ร้อยละ 3.73 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำหวานและกาแฟผงสำเร็จรูป) หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.-0.10 ร้อยละ 0.95 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 0.38 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า0.06

อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.37 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช เคหสถาน1.22

ซอสมะเขือเทศ และซอสพริก) ร้อยละ -0.53 การตรวจรักษาและบริการ.0.18 *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.10 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -3.47 ส่งผลให้หมวดพาหนะ การขนส่ง พาหนะการขนส่งและการ.

-1.45 และการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.45 ในขณะที่สินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง เสื้อเชิ้ต-พลังงาน-0.57 และเสื้อยืดบุรุษ) ร้อยละ 0.06 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ1.22 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลการบันเทิง การอ่าน การ.0.02 (ค่าแต่งผมชาย แชมพู และสบู่ถูตัว) ร้อยละ 0.18 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระและเครื่องคอมพิวเตอร์ ) ร้อยละ 0.02 ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.11 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา และบุหรี่) ร้อยละ 0.11 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถจักรยานต์รับจ้างและค่ารถรับส่งดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.14 นักเรียน) ร้อยละ 0.36และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.01(ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ)3. เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.17(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 6.23 จากการรวมทุกรายการ6.17

สูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกรและไก่สด) อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.6.23 ร้อยละ 10.98 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด และนมผง) ร้อยละ 5.87 กลุ่มผักสด(พริกสด มะนาว และต้นหอม) ร้อยละ 6.68 กลุ่มผลไม้สด-อาหารสด6.02 (ส้มเขียวหวาน และแตงโม)ร้อยละ 0.61 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืชซีอิ๊ว และกะปิ) ร้อยละ 9.63 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.6.13 เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และกาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ 2.12 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)ร้อยละ 6.79 เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.04 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))ร้อยละ 6.37 ในขณะที่เคหสถาน5.16 กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และแป้งข้าวเจ้า)ลดลงร้อยละ -2.68 การตรวจรักษาและบริการ.0.90

*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.13 โดยมีปัจจัยหลักพาหนะการขนส่งและการ.

10.42 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.42 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 28.23 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถาน-พลังงาน28.62 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ 5.16 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู สบู่ถูตัว และยาสีฟัน) ร้อยละ 0.90 การบันเทิง การอ่าน การ.-0.14

หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์ และสุรา) ร้อยละ 2.17 ยาสูบและเครื่องดื่มมี.2.17 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 2.51 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *2.26 ร้อยละ -0.04 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาทุกระดับชั้น) ร้อยละ -0.14และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08

โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้4. ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 7.28(YoY) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.06 ตามการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ0.09 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 14.68 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 5.19 กลุ่มผักสดร้อยละ 12.73 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 6.24 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 10.86 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.26 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 8.99 และ 8.58 ตามลำดับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.08 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 8.35 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 21.29 และ 5.14 ตามลำดับ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.13หมวดเคหสถานร้อยละ 6.76หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.30 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.89และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.41 ในขณะที่การสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.08

5. ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.01(QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.87 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 2.52กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ 3.16 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 1.64 กลุ่มผักสดร้อยละ 8.55 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 4.69 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.77 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.92 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.09และ 2.11ตามลำดับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.26 จากการลดลงของสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -1.84 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -4.70ในขณะที่มีสินค้าและบริการที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.12หมวดเคหสถานร้อยละ 1.01 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.60 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.77 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.20 ในขณะที่การสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงโดยมีสาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นในอัตราที่ลดลงของสินค้าในกลุ่มพลังงาน ซึ่งในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของภาคเหนือ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 6.80 รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 6.54 ภาคกลางและภาคใต้สูงขึ้นในอัตราเท่ากันที่ร้อยละ 6.26ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราต่ำกว่าทุกภูมิภาคที่ร้อยละ 6.23

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง)สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ขิง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) เป็นต้น 7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ของปี 2565

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐที่อาจจะมีเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี จะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับดี รวมถึงฝนตกชุกน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย และเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง นอกจากนี้ ราคาพลังงานโลกที่ผันผวน เงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบที่จำกัด

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 -6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0)ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

กำหนดการแถลงข่าว "สถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ" ครั้งต่อไปในวันที่4 พฤศจิกายน 2565

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ