ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 7, 2022 12:13 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 5.98 เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือนกันยายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.41) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวของน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อสุกร และไก่สด จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าทั้งเนื้อสุกรและไก่สดมีราคาลดลงสำหรับผักสดราคาสูงขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้แหล่งเพาะปลูกได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายส่งผลให้ราคาผักสดเริ่มมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น ขณะที่สินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการในการบริโภคของประชาชน

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.17 เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.)ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 6.15 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.35 (AoA)1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 5.98(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.58 จากการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.13 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 15.02 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร และไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 9.42 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมผง และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดร้อยละ 6.13 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม ผักบุ้ง และพริกสด กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 7.66 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน แตงโม และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 8.96 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.39 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 9.51 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 8.78 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.56 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 4.84 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 11.55 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 5.55 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.23 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล ค่าจ้างซักรีดและเสื้อยืดบุรษหมวดเคหสถานร้อยละ 3.56 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และผงซักฟอก หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.64 จากการสูงขึ้นของราคายาสีฟัน และค่าแต่งผมชายและสตรี หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.30 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียนค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.88 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.08จากการลดลงของค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ 2. เทียบกับเดือนกันยายน 2565สูงขึ้นร้อยละ 0.33(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.73 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 0.96 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.12 จากการสูงขึ้นของราคานมถั่วเหลือง และเปรี้ยว กลุ่มผักสดร้อยละ 9.69 จากการสูงขึ้นของราคาผักบุ้ง แตงกวา และใบกะเพรา กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.55 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.15 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป และผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.05 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.14 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และปลาทู กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -1.60 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า และมะพร้าวอ่อนกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -0.68 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช ซอสหอยนางรมและกะทิสำเร็จรูป*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.07 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 0.11 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 0.20 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.31 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาค่าจ้างซักรีดและเสื้อยืดบุรุษ หมวดเคหสถานร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเช่าบ้าน และถ่านไม้ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.13 จากการสูงขึ้นของราคาสบู่ถูตัว น้ำยาบ้วนปาก และน้ำหอม หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ อาหารสัตว์เลี้ยงและค่าห้องพักโรงแรม และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาไวน์และสุรา ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.01 จากการลดลงของราคาแบตเตอรี่สำรอง 3. เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.15(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 6.56 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 11.38 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรและไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.21 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดร้อยละ 6.62 จากการสูงขึ้นของราคาผักคะน้า พริกสด และต้นหอม กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.31จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน มะละกอสุก และแตงโม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 9.56 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช และกะปิ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.35 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และกาแฟผงสำเร็จรูป กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 7.06 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง)และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 6.60 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))ในขณะที่กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -2.01จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.86 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.84 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 26.39 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถานร้อยละ5.00 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.98 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู สบู่ถูตัว และยาสีฟัน) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.01 (ค่าห้องพักโรงแรมและค่าอาหารสัตว์เลี้ยง) และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.14 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา และค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 2.82 ขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.01 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงซึ่งในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑลสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 6.19 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 5.94 ภาคเหนือ ร้อยละ5.93 และภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.92 ในขณะที่ภาคใต้สูงขึ้นในอัตราต่ำกว่าทุกภูมิภาคที่ร้อยละ 5.82

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) และกับข้าวสำเร็จรูปสำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ผักกาดขาว ชิง และผักชี เป็นต้น

5. แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน2565

แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะชะลอตัว ตามราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพหลายรายการที่ชะลอตัวลง และบางรายการราคาทรงตัวแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อของไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่อุปทานยังตึงตัว อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออก การท่องเที่ยว และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ยังอยู่ในระดับดี รวมถึงเงินบาทที่ยังอ่อนค่า ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 -6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ