ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนตุลาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 25, 2022 10:01 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนตุลาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 (YoY) ชะลอตัวจากร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า โดยหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 26.4 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นผลจากฐานในปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากอินโดนีเซียผ่อนคลายข้อจำกัดการส่งออก ประกอบกับผลผลิตในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุปสงค์ของโลกที่ชะลอตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.4 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามความต้องการจากประเทศจีนที่หดตัวในบางช่วง นอกจากนี้ ราคายางพาราสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามผลผลิตที่ลดลง แต่การขยายตัวชะลอลงเนื่องจากฐานปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น สำหรับข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากการปรับลดราคาส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ อาทิ ประเทศอินเดีย และเวียดนาม ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทยปรับตัวลดลง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 อย่างไรก็ตามสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบราคาขยายตัวในอัตราชะลอลงเนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกลดลง

ดัชนีราคานำเข้า เดือนตุลาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.6 โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 35.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 45.4 แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตประเทศสำคัญ แต่การขยายตัวชะลอลงเนื่องจากฐานปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น สำหรับก๊าซธรรมชาติ ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนในอัตราที่ชะลอตัวลงตามความกังวลปัญหาการขาดแคลนก๊าซที่ลดลงชั่วคราว หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.6 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ความต้องการชะลอตัวลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ราคาชะลอลงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.0 ในเดือนก่อนหน้า จากสินค้าสำคัญที่ราคาขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง และผลิตภัณฑ์โลหะ ชะลอตัวลงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า สินค้าราคาหดตัว เช่น ทองคำ ตามความต้องการลงทุนลดลงรวมทั้งสินค้าราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เช่น ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ทองแดง ตามเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 5.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 (พ.ย. -ธ.ค.) คาดว่าดัชนีราคาส่งออกและนำเข้ามีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิม เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ส่งผลต่อราคาสินค้าที่มิใช่อาหาร นอกจากนี้ ค่าระวางเรือที่ลดลงทำให้ต้นทุนการผลิตของประเทศต่าง ๆ ลดลงด้วยอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนตุลาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2 (เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 96.3) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันสะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการค้าไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง 1. เทียบกับเดือนกันยายน 2565 (MoM)ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่มีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละหมวดสินค้า ดังนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ประกอบกับปริมาณผลผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก ข้าว ราคาปรับลดลง จากการปรับลดราคาส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ อาทิ ประเทศอินเดีย และเวียดนาม ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทยปรับตัวลดลง สำหรับยางพารา ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากมีปริมาณฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้เกษตรกรกรีดยางได้ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกและประเทศพันธมิตร (OPEC+)ประกาศแผนปรับลดการผลิตน้ำมันในเดือนพฤศจิกายน และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาปาล์มน้ำมันหดตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตและสต็อกของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ประกอบกับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของไทยยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งอุปสงค์จากตลาดโลกชะลอตัว สำหรับน้ำตาลทราย ราคาปรับลดลงตามความต้องการใช้เพื่อผลิตเป็นเอทานอลลดลงสำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลจากอุปสงค์ที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลจากความต้องการที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทองคำ ผลจากความต้องการถือครองสินทรัพย์ลดลง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น และกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 2.เทียบกับเดือนตุลาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 26.4 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นผลจากฐานในปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากอินโดนีเซียผ่อนคลายข้อจำกัดการส่งออก ประกอบกับผลผลิตในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุปสงค์ของโลกที่ชะลอตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.4 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามความต้องการจากประเทศจีนที่หดตัวในบางช่วง นอกจากนี้ ราคายางพาราสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามผลผลิตที่ลดลง แต่การขยายตัวชะลอลงเนื่องจากฐานปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้นสำหรับข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากการปรับลดราคาส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ อาทิ ประเทศอินเดีย และเวียดนาม ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทยปรับตัวลดลง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 อย่างไรก็ตามสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาขยายตัวในอัตราชะลอลงเนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกลดลง 3. เฉลี่ยม.ค. -ต.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 48.7 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปาล์มน้ำมัน ราคาสูงขึ้นมากในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากความกังวลด้านอุปทานที่ไม่เพียงพอ และน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการนำผลิตภัณฑ์จากอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันที่ราคาสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยางพารา เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการสินค้าอาหารที่ขยายตัวต่อเนื่องและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 4. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 (พ.ย. -ธ.ค.)มีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิม เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างยูเครนและรัสเซีย และความขัดแย้งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐฯ จากกรณีไต้หวัน นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และนโยบาย ZERO COVID-19 ของประเทศจีน (2) ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงจากค่าระวางเรือปรับตัวลดลง และ (3) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยบางส่วนมีความได้เปรียบด้านการกำหนดราคาส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบจากในประเทศเป็นส่วนใหญ่

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนตุลาคม 2565 1. เทียบกับเดือนกันยายน 2565 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.2โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกและประเทศพันธมิตร (OPEC+)ประกาศแผนปรับลดการผลิตน้ำมันในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวลดลงสอดคล้องกับราคาก๊าซในตลาดยุโรป เนื่องจากความกังวลปัญหาการขาดแคลนก๊าซในช่วงฤดูหนาวลดลงชั่วคราว ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ หมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เนื่องจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลให้ความต้องการลงทุนชะลอตัวลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เนื่องจากความต้องการใช้ในช่วงหลังโควิด-19 ลดลง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดโลกลดลงต่อเนื่องและหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ เนื่องจากธนาคารกลางหลายประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ยทำให้ความต้องการลงทุนทองคำมีแนวโน้มลดลง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ จากความต้องการใช้เหล็กที่ลดลงโดยเฉพาะจากประเทศจีนที่ควบคุมอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และการใช้นโยบายZERO COVID-19 ทำให้ต้องระงับกิจกรรมการก่อสร้าง
2. เทียบกับเดือนตุลาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 7.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 35.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 45.4 แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตประเทศสำคัญ แต่การขยายตัวชะลอลงเนื่องจากฐานปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น สำหรับก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนในอัตราที่ชะลอตัวลงตามความกังวลปัญหาการขาดแคลนก๊าซที่ลดลงชั่วคราว หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.6ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ความต้องการชะลอตัวลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ราคาชะลอลงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.0 ในเดือนก่อนหน้า จากสินค้าสำคัญที่ราคาขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง และผลิตภัณฑ์โลหะ ชะลอตัวลงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า สินค้าราคาหดตัว เช่น ทองคำ ตามความต้องการลงทุนลดลงรวมทั้งสินค้าราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เช่น ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ทองแดง ตามเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 5.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
3. เฉลี่ยม.ค. -ต.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 12.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 57.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เชื้อเพลิงอื่น ๆ และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยังยืดเยื้อ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคที่ความต้องการใช้ในช่วงโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของราคามีทิศทางชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่คลี่คลายลง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 5.4 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ทองแดง และเคมีภัณฑ์ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นมากในช่วงต้นปี เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.0 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการมีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างชัดเจน ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.0 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
4. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 (พ.ย. -ธ.ค.)มีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิม เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ส่งผลต่อราคาสินค้าที่มิใช่อาหาร นอกจากนี้ ค่าระวางเรือที่ลดลงทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง
ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนตุลาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2 (เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 96.3) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน แสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2 (เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 96.3) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนว่าไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า (การนำเข้าน้ำมันมีสัดส่วนสูงกว่าการส่งออกน้ำมัน) ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ารวมสูงกว่าดัชนีราคาส่งออกรวม

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และทองคำ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทยในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีความเสี่ยงปรับตัวลดลงจากช่วงก่อนหน้า ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาส่งออก และจะส่งผลให้อัตราการค้าไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ