7ธันวาคม 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 49.9
มาตรการกระตุ้น50.0 การแพร่ระบาดเศรษฐกิจ และวัคซีน การแพร่ระบาดของ
น้ำมันเชื้อเพลิง และของไวรัส Covid-19 Covid-19 ไวรัส Covid-19 ระลอก 1 ระลอก 3 45.0 40.0 การแพร่ระบาดของไวรัส
Covid-19 ระลอก 2 และวัคซีนCovid-19 35.0
สถานการณ์การแพร่ระบาดการแพร่ระบาดของไวรัส เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3เดือนข้างหน้า)ของไวรัส Covid-19 ดีขึ้นตามลำดับCovid-19 รุนแรงขึ้นการท่องเที่ยวขยายตัว 30.0
ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.
2563 2564 2565 รายการต.ค.65 พ.ย.65 +/-1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม47.7 49.9 2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน38.7 40.4 3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)53.7 56.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤศจิกายน 2565ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.9จากระดับ 47.7ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะยังคงอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น แต่นับว่ามีสัญญาณที่ดีเนื่องจากเป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่5 และอยู่ในระดับสุดท้ายก่อนการปรับเข้าสู่ช่วงเชื่อมั่นต่อไป สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 38.7 มาอยู่ที่ระดับ 40.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 53.7 มาอยู่ที่ระดับ 56.3 สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวมเป็นผลต่อเนื่องมาจากการฟื้นตัวของด้านเศรษฐกิจหลังการบรรเทาลงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยเมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับค่อนข้างทรงตัว ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีความผันผวน เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีการปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 44.12รองลงมาคือ ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 10.59ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 9.12ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.68ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 8.31ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 6.87ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 6.50ด้านสังคม/ความมั่นคง ร้อยละ 5.34และด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.47ตามลำดับ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้นมองว่าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นลดลงเห็นว่าเศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมืองเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขี้นทุกภูมิภาค กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 48.5 มาอยู่ที่ระดับ 50.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และเศรษฐกิจโลก
ภาคกลาง จากระดับ 44.9 มาอยู่ที่ระดับ 49.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และมาตรการของรัฐ
ภาคเหนือ จากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 49.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และราคาสินค้าเกษตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 49.8มาอยู่ที่ระดับ 51.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และราคาสินค้าเกษตร
ภาคใต้ จากระดับ 48.5 มาอยู่ที่ระดับ 48.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และเศรษฐกิจโลกดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทุกกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 49.1มาอยู่ที่ระดับ 49.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของรัฐ
กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 45.3มาอยู่ที่ระดับ 48.6 และกลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 49.2 มาอยู่ที่ระดับ 51.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และมาตรการของรัฐ
กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 45.5 มาอยู่ที่ระดับ 47.6โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 52.9 มาอยู่ที่ระดับ 55.7และกลุ่มนักศึกษา จากระดับ 45.7 มาอยู่ที่ระดับ 50.1โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และเศรษฐกิจโลก
กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 40.9มาอยู่ที่ระดับ 44.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และภัยพิบัติ/โรคระบาด
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากระดับ 50.0มาอยู่ที่ระดับ 49.1
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์