ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2565 และปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 5, 2023 10:15 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY)(พฤศจิกายน 2565 สูงขึ้น ร้อยละ 5.55) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งราคาสินค้าในกลุ่มอาหารยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญหลายชนิดราคาต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมา อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก เนื้อสุกรจากการลดลงของราคาสุกรหน้าฟาร์ม และน้ำมันพืชเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง นอกจากนี้ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษ ราคาปรับลดลงเช่นกัน และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.23 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.08 (AoA)(ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23) โดยมีสาเหตุหลักจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกปรับตัวสูงขึ้น และมีผลต่อเนื่องให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มปรับราคาเพิ่มขึ้นตาม นอกจากนี้การเกิดโรคระบาดในสุกร ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรเพิ่มสูงขึ้นตามอุปทานที่ลดลง สำหรับราคาสินค้ากลุ่มเครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้าน และบริโภคนอกบ้าน ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่ราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาที่ต่ำในปี 2564 อีกด้วย เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ2.51 (AoA)1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 5.89(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 8.87 ตามการสูงขึ้นของกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 5.40 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 12.20 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร และไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 9.88 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมผง และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดร้อยละ 1.20 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม คะน้า และผักชี กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 7.16 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน แตงโม และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 6.49 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และซอสหอยนางรม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 5.25 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 9.94 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 9.30 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.87 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 5.65 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 13.78 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 5.70 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.26 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล ค่าจ้างซักรีด และเสื้อเชิ้ตสตรี หมวดเคหสถานร้อยละ 3.53 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และผงซักฟอก หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.84 จากการสูงขึ้นของราคายาสีฟัน ค่าแต่งผมชาย และแชมพู หมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯร้อยละ 1.44 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.26 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของค่าส่งพัสดุ 2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565ลดลงร้อยละ -0.06(MoM)

*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.30 2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565ลดลงร้อยละ -0.06(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.30 โดยมีสาเหตุหลักจากรวมทุกรายการ-0.06 การสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -0.77 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -1.86 เป็นสำคัญ และหมวดเครื่องนุ่งห่มและอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.32 รองเท้าลดลงร้อยละ -0.06 จากการลดลงของราคาเสื้อเชิ้ต รองเท้าหุ้มส้นบุรุษและสตรีสำหรับสินค้าและบริการที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการ-อาหารสด0.43 ส่วนบุคคลร้อยละ 0.03 จากการสูงขึ้นของราคาสบู่ถูตัว น้ำยาบ้วนปาก และกระดาษชำระ หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.06 จากการสูงขึ้นของราคา-0.30 เครื่องถวายพระ อาหารสัตว์เลี้ยงและค่าห้องพักโรงแรม หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.02จากการสูงขึ้นของราคาไวน์ และสุรา และกลุ่มการสื่อสาร เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.06 ร้อยละ 0.02 จากการสูงขึ้นของราคาค่าส่งพัสดุ สำหรับหมวดเคหสถานราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงเคหสถาน0.00

          *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.32 โดยมีสาเหตุหลัก0.03 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 0.55 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียว แป้งข้าวเจ้า และขนมอบ กลุ่มผักสดร้อยละ -0.77 4.74 จากการสูงขึ้นของราคาผักบุ้ง มะเขือ และผักชี และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.02 จากการสูงขึ้นของราคากะทิสำเร็จรูป ซอสหอยนางรม และซีอิ๊ว       -1.27 -พลังงานกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.18 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำหวาน น้ำดื่ม และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.30จากการสูงขึ้นของราคาการบันเทิง การอ่าน การ.0.06 อาหารโทรสั่ง (Delivery) กับข้าวสำเร็จรูปและก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน ร้อยละ 0.10 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.02 ตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.32 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และไก่สด กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ -0.82     0.06 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ และกลุ่มผลไม้สดร้อยละ -0.45 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า และมะพร้าวอ่อน3. เฉลี่ยปี 2565 เทียบกับปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 6.08(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 6.92 จากการสูงขึ้น รวมทุกรายการ6.08 ของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 11.65 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร และไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.90 จากการสูงขึ้นของอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.6.92 ราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดร้อยละ 4.77 จากการสูงขึ้นของราคาผักคะน้า ผักบุ้ง และพริกสด กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 2.19 จากการสูงขึ้นของราคา-อาหารสด6.81 ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก และแตงโม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 9.10 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.5.51 ร้อยละ 2.80 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และกาแฟผงสำเร็จรูป กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 7.52จากการสูงขึ้นของเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า0.04 ราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 7.05 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน เคหสถาน4.75 (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))ในขณะที่กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -0.91 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และการตรวจรักษาและบริการ.1.12 ข้าวสารเหนียว*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 5.51 โดยมีปัจจัยหลักจากพาหนะการขนส่งและการ.

9.05 การสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.05 24.49 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 23.93 เป็นสำคัญ -พลังงานหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.04 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยกทรง และเสื้อกล้ามหมวดเคหสถานร้อยละ4.75 จากการสูงขึ้นของราคาการบันเทิง การอ่าน การ.0.23 ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.12 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู สบู่ถูตัว และยาสีฟัน ยาสูบและเครื่องดื่มมี.2.00 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.23 จากการสูงขึ้นของราคาค่าห้องพักโรงแรมและค่าอาหารสัตว์เลี้ยง และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *2.51

มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.00 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา และค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 3.30 ขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.07

4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.81 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

*หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 8.94 ตามการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.57 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 13.64 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 10.03 กลุ่มผักสดร้อยละ 0.09 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 7.01กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 7.55 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.88 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านร้อยละ 9.71 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 9.10 *หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.67 จากการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 5.13 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 12.29 หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าร้อยละ 0.25 หมวดเคหสถานร้อยละ 3.54หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.81 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.37 และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.51 ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.02 5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.40 (QoQ)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.20 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 1.29 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 2.09 กลุ่มผักสดร้อยละ 7.50 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 0.43 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.74 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านร้อยละ 0.74 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 0.64 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.01และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -1.37 หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.18 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -1.42 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -3.48 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ 0.07 หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.90 หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.53หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.12หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.17 และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.01

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้ายังคงขยายตัวในทุกภูมิภาคซึ่งในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑลสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 6.13 รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 5.93 ภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ5.86และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 5.67 ในขณะที่ภาคใต้สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าทุกภูมิภาคที่ร้อยละ 5.77

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) และกับข้าวสำเร็จรูปสำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ผักกาดขาว ขิง และพริกสด เป็นต้น

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลงจากปี 2565 อย่างชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัวและบางรายการปรับลดลงหลังจากที่ทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนแล้วในปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ฐานราคาในปี 2565ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐและการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิตมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปี 2566ขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่ากระแสไฟฟ้า การปรับขึ้นค่าจ้างทั้งระบบ และเงินบาทที่ยังผันผวน เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญรวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้น ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อปี 2566 ได้แก่ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สภาพอากาศที่แปรปรวนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และโรคระบาดในสัตว์ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0-3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ