ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนธันวาคม 2565 และปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 25, 2023 11:44 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาส่งออกเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 108.0 ดัชนีราคานำเข้าเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 111.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนธันวาคม 2564 (YoY)สูงขึ้น3.2 1. เดือนธันวาคม 2564 (YoY)สูงขึ้น6.4 2. เดือนพฤศจิกายน 2565 (MoM) ไม่เปลี่ยนแปลง0.0 2. เดือนพฤศจิกายน 2565 (MoM) ลดลง-0.5 3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ปี 2565

สูงขึ้น4.2 3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ปี 2565

สูงขึ้น11.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 (AOA)เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 (AOA)4. ไตรมาสที่4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาส

สูงขึ้น3.2 4. ไตรมาสที่4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาส

สูงขึ้น6.7 เดียวกันของปีก่อน (YoY)เดียวกันของปีก่อน (YoY)5. ไตรมาสที่4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาส

ลดลง-0.1 5. ไตรมาสที่4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาส

ลดลง-1.2 ก่อนหน้า (QoQ)ก่อนหน้า (QoQ)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.2(YoY) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 3.1 สาเหตุจากความต้องการของตลาดในหลายกลุ่มสินค้ายังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นเท่ากับเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 26.3 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ราคายังทรงตัวในระดับสูง แต่มีทิศทางชะลอลงตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลก หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆตามความต้องการอาหารประเภทเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปเนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตและส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ กลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นเท่ากับเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 6.4 (YoY) โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นในอัตราชะลอลง ร้อยละ 27.3จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 30.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลจากฐานของปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูง และราคาน้ำมันชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2565 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ชะลอลงเล็กน้อย ที่ร้อยละ 4.2จากร้อยละ 4.3ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข และโทรทัศน์ ตามความต้องการที่ชะลอลง ขณะที่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามต้นทุนวัตถุดิบ และความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง หดตัวในอัตราน้อยลงเป็นเดือนแรกในรอบ 13เดือน ที่ร้อยละ 2.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น และได้รับอานิสงส์จากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มฟื้นตัว

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้า ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ แต่มีแนวโน้มชะลอลง ตามความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ดัชนีมีทิศทางชะลอลง ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลของเศรษฐกิจประเทศหลักที่มีแนวโน้มชะลอตัว 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักมีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ 4) ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวในระดับสูง และ 5)ความผันผวนของค่าเงินบาทอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนธันวาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 97.3 (เดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง จะยังคงส่งผลให้อัตราการค้าไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง 1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (MoM)ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละหมวดสินค้า ดังนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการบริโภคของตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้าว และยางพาราราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับความต้องการจากประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น เช่น ความต้องการข้าว เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน รวมถึงความต้องการใช้ยางพาราของจีนเพิ่มขึ้น จากมาตรการผ่อนคลายโควิด-19 ภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ต้องการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอินเดียมีนโยบายควบคุมการส่งออก ประกอบกับปริมาณผลผลิตของบราซิลและอินเดียลดลง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง จากผลของต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหารแปรรูป และเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงปรับตัวสูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ผลจากปัญหาภัยแล้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผลผลิตธัญพืชมีปริมาณลดลง สำหรับไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ราคาปรับตัวลดลง โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน เนื่องจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกปาล์มน้ำมัน อาทิ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ทองคำ ราคาสูงขึ้น เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อทองคำ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผลจากสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกมีแนวโน้มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ากังวลว่าทิศทางความต้องการในกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคหลักอาจจะมีแนวโน้มชะลอลง ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลจากการได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น ทำให้สามารถผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลก เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 2.เทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 26.3 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ราคายังทรงตัวในระดับสูง แต่มีทิศทางชะลอลง ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกชะลอตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ โดยเฉพาะสินค้าน้ำมันปาล์ม ราคาสูงขึ้นจากความต้องการใช้ในช่วงก่อนหน้าเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ประกอบในอุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยในช่วงปลายฤดูกาลผลิตและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า จากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ กลุ่มยานยนต์ 3. เฉลี่ยม.ค. -ธ.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้าประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 44.6 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงกว่าช่วงปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร ประกอบกับกิจกรรมการทางเศรษฐกิจที่ทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำตาลทราย ผลจากนโยบายควบคุมการส่งออกน้ำตาลของอินเดียหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัว และยางพารา ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่องและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องปรับตัวสูงขึ้น 4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 8.9 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 13.8 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูปราคาชะลอลงตามความต้องการใช้ที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน มีมติปรับลดการผลิตลง 2.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566 เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาน้ำมันอาจไม่ลดลงมากหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.8 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ น้ำตาลทราย และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.8 ได้แก่ ข้าว และธัญพืช ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการในการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบของอุทกภัยครั้งใหญ่ในปากีสถานส่งผลให้ผลผลิตข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมถึงอินเดียมีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าว ทำให้ไทยส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลจากฐานราคาปีก่อนหน้าอยู่ในระดับต่ำ และตลาดต่างประเทศมีความต้องการต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ตามความต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในหลายอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งการใช้ชิ้นส่วนที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น สิ่งทอ ผลจากปัจจัยการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับการเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองในไตรมาสสุดท้ายของปีเม็ดพลาสติก ผลจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักยังคงขยายตัวประกอบกับเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น 5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.7 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศสำคัญชะลอตัว ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มประกาศเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดชะลอลง ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะข้าวสาลีแนวโน้มราคาปรับสูงขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ สำหรับน้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากนโยบายควบคุมการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ประกอบกับปริมาณผลผลิตน้ำตาลของบราซิลและอินเดียที่ลดลงและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ทองคำ เนื่องจากนักลงทุนต้องการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามคำสั่งซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ราคาปรับตัวลดลงเนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง

6. ภาพรวมดัชนีราคาส่งออก ปี 2565 และแนวโน้มดัชนีราคาส่งออกปี 2566 ภาพรวมดัชนีราคาส่งออก ปี2565 มีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.2 เป็นการขยายตัวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาและการส่งออกให้กับสินค้าไทย และราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และน้ำตาลทราย จากผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลงหมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารขยายตัว และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ผลจากราคาน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องปรับตัวสูงขึ้นแนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ปี 2566 คาดว่ามีแนวโน้มชะลอลง เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างยูเครนและรัสเซีย และความขัดแย้งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐฯ จากกรณีไต้หวัน นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว และทำให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง (2) ราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง (3)ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง และ (4) ความผันผวนของค่าเงินบาทที่อาจมีแนวโน้มแข็งค่า ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออก

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนธันวาคม 2565 และปี 2565

1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 6.2 ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สำหรับก๊าซธรรมชาติ ราคาลดลงจากฐานสูงของปีก่อนหน้า ประกอบกับความต้องการก๊าซที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากยุโรปสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ในระดับสูง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ตามความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต และความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น หมวดสินค้าทุน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เนื่องจากกลุ่มสินค้าประเภทยา ยังคงมีความต้องการสูง สำหรับสบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง เป็นผลจากสภาพอากาศ มลภาวะต่างๆ ทำให้ความต้องการเครื่องสำอางที่ช่วยปกป้อง หรือซ่อมแซมผิวหรือร่างกายได้รับความนิยมมากขึ้นและเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น

2. เทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 6.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 27.3 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 30.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงของปีก่อนประกอบกับราคาน้ำมันชะลอลง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ตามความต้องการใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ตามความต้องการที่ชะลอลง ขณะที่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 3.0ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ราคาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตและช่วยลดต้นทุน และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการ HardDiskDriveที่มีความจุสูง เพื่อรองรับความต้องการใช้งาน ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 2.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

3. เฉลี่ยม.ค. -ธ.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 11.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 51.8 ได้แก่ น้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงกว่าช่วงปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาปรับสูงขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.9 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตามความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรค ที่ความต้องการใช้ในช่วงโควิด-19 ยังสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะอลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการอลูมิเนียมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร ไปถึงภาคการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 3.7 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า และความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 6.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 31.2ชะลอตัวลงจากร้อยละ 53.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามอุปสงค์ของน้ำมันที่ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.8 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลจากการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่เน้นพัฒนาฟังก์ชันด้านสุขภาพ สำหรับเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการสินค้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น และความต้องการนำเข้าเพื่อใช้ประกอบการผลิต อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ราคาลดลง คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นผลมาจาการชะลอตัวของราคาสินค้าที่สำคัญ เช่น เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ตามราคาน้ำมันที่ลดลง รวมทั้งเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการในประเทศจีนลดลง สำหรับปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ราคาลดลง เนื่องจากสต๊อกปุ๋ยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และปริมาณการใช้ลดลง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ที่ร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามรุ่นสินค้าที่มีการยกเลิกสายการผลิตและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ 1.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ปรับตัวลดลงตามมาตรการใช้เชื้อเพลิงอื่นทดแทนและความต้องการซื้อในแถบเอเชียลดลง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ จากการเปลี่ยนผ่านสายการผลิตของรถยนต์สันดาป หมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นไปตามกำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไอที อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ให้สามารถกลับไปทำงานและไปโรงเรียนได้ สำหรับเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอตัวและหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 0.3จากไตรมาสก่อนหน้า ขยายตัวร้อยละ 0.4 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 0.8 ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ รวมถึงการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ทำให้ความต้องการวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น

6. ภาพรวมดัชนีราคานำเข้า ปี 2565 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ปี2566

ภาพรวมดัชนีราคานำเข้า ปี 2565 มีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11.1 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวดีขึ้น จากผลของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงปีก่อนหน้า นอกจากนี้ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาปรับสูงขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตามความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรค ที่ความต้องการยังสูงขึ้นต่อเนื่อง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามความต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต และหมวดสินค้าทุนได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า และความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ราคาลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลต่อราคาสินค้าที่มิใช่อาหาร นอกจากนี้ ค่าระวางเรือที่ลดลง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง ประกอบกับฐานราคาของปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าในปี 2566ชะลอตัว

ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนธันวาคม 2565 และปี 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 97.3(เดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน แสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 97.3 (เดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน สะท้อนว่า ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า (การนำเข้าน้ำมันมีสัดส่วนสูงกว่าการส่งออกน้ำมัน) ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ารวมสูงกว่าดัชนีราคาส่งออกรวม

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม และทองคำ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทย ปี 2566คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาส่งออก

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ