ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคม2566
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมกราคม 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จากระดับ 50.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งปรับมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือน(นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562)สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.3 จากระดับ 41.3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 56.5 สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวมมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบและการเปิดประเทศของจีนอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ การเพิ่มเงินพิเศษให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ การตรึงค่าไฟฟ้าของครัวเรือน เป็นต้น รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสูงขึ้น ขณะที่การเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.86รองลงมาคือ ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 12.93ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 10.33ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 9.09ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.30 ด้านสังคม/ความมั่นคงคิดเป็นร้อยละ6.70 ด้านการเมืองคิดเป็นร้อยละ 5.70ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 4.64และด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.46ตามลำดับ
กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลกและมาตรการของภาครัฐเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 48.0 มาอยู่ที่ระดับ 52.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 51.5มาอยู่ที่ระดับ 52.0โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก
ภาคกลาง จากระดับ 49.5มาอยู่ที่ระดับ 50.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และมาตรการของภาครัฐ
ภาคใต้ จากระดับ 50.5มาอยู่ที่ระดับ 51.1โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาสินค้าเกษตร
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคเหนือ จากระดับ 50.3 มาอยู่ที่ระดับ 49.7 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 49.3มาอยู่ที่ระดับ 50.5กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ 52.6 และกลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 47.4 มาอยู่ที่ระดับ 48.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 55.7 มาอยู่ที่ระดับ 56.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก
กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 45.6มาอยู่ที่ระดับ 46.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร จากระดับ 50.9มาอยู่ที่ระดับ 50.6โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ
กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 51.1มาอยู่ที่ระดับ 50.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และสังคม/ความมั่นคง
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดง จากระดับ 50.6มาอยู่ที่ระดับ 50.2
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์