ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 7, 2023 15:23 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 52.5

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4ปี(นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2562)สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 43.6 จากระดับ 42.3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 57.2 สาเหตุการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวมมาจาก(1)การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการบริการ จากจำนวนเที่ยวบินและนักท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น(2)มาตรการช่วยเหลือด้านการลดค่าครองชีพและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ยังคงดำเนินการ อาทิ การตรึงค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน และโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น (3)ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวดีขึ้น และ (4)ราคาน้ำมันบางชนิดปรับตัวลดลงสอดคล้องกับราคาในตลาดโลก ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคตว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อไป

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.05 รองลงมาคือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 12.55 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 9.36 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 8.22 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 7.84 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.37 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.98 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 4.18 และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.44 ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคกลาง จากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ53.3และภาคใต้ จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ53.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลกและมาตรการของภาครัฐ

ภาคเหนือ จากระดับ 49.7 มาอยู่ที่ระดับ 50.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐและการเมือง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 52.0 มาอยู่ที่ระดับ 53.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของภาครัฐและเศรษฐกิจโลก

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากระดับ 52.2 มาอยู่ที่ระดับ 51.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและมาตรการของภาครัฐ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร จากระดับ 50.6 มาอยู่ที่ระดับ 51.8 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยราคาสินค้าเกษตรและมาตรการของภาครัฐ

กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 56.9มาอยู่ที่ระดับ 58.0 และกลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 48.4มาอยู่ที่ระดับ 50.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก

กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 52.6มาอยู่ที่ระดับ 54.2 และกลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 50.5มาอยู่ที่ระดับ 51.2โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 50.9มาอยู่ที่ระดับ 52.0โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ

กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจโลก และการเมือง

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 50.2มาอยู่ที่ระดับ 54.0

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ