ดัชนีราคาส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 108.6 ดัชนีราคานำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 112.1 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกุมภาพันธ์ 2565 (YoY)สูงขึ้น2.1 1. เดือนกุมภาพันธ์ 2565 (YoY)สูงขึ้น2.6 2. เดือนมกราคม 2566 (MoM) ลดลง0.1 2. เดือนมกราคม 2566 (MoM) ลดลง0.3 3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2566
สูงขึ้น2.5 3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2566
สูงขึ้น4.0 เทียบกับปี 2565 (AoA)เทียบกับปี 2565 (AoA)Highlights
ดัชนีราคาส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นในอัตราชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 2.1 (YoY) สาเหตุหลักเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าชะลอตัวทำให้ความต้องการสินค้าในหลายกลุ่มสินค้าลดลง และส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกชะลอลงทุกหมวดสินค้าประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 7.0จากร้อยละ 19.1 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามราคาพลังงานโลกที่ทยอยปรับลดลง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.1 จากร้อยละ 5.4 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง น้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆตามความต้องการสินค้าเกษตรแปรรูปที่ชะลอลง แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 5.3 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และข้าว ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมถึงเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวได้ดีจากความต้องการเพื่อนำไปใช้ประกอบอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 1.7 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาง แม้สถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์จะเริ่มคลี่คลาย แต่ความต้องการสินค้าชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
ดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2566เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นในอัตราชะลอลงเช่นกัน ที่ร้อยละ 2.6 (YoY) เป็นการชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน และส่งผลให้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.4 จากร้อยละ 5.0 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ตามความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าเทคโนโลยีที่ชะลอลง ขณะที่เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ ราคายังสูงขึ้นตามความต้องการนำเข้าเพื่อใช้อุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นแต่อยู่ในอัตราชะลอลงค่อนข้างมาก ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 16.8 เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง ตามความต้องการใช้น้ำมันที่เริ่มชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ประกอบกับผลของฐานราคาปีก่อนหน้าที่ทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาชะลอลงตามปริมาณการสำรองก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูงหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 3.6 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการนำเข้าลดลง และหมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 2.6 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอลงจากผลของเศรษฐกิจโลก ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 กลับมาปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 1 ปี 7 เดือน หลังจากช่วงก่อนหน้าหดตัวต่อเนื่องซึ่งเป็นผลจากราคารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ที่ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นรวมถึงได้รับอานิสงส์จากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มฟื้นตัว และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก/ดัชนีราคานำเข้า และอัตราการค้า เดือนมีนาคม 2566 คาดว่ามีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง โดยปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ดัชนีมีทิศทางชะลอลง ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลของเศรษฐกิจประเทศหลักที่มีแนวโน้มชะลอตัว 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง 4) ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และ 5)ความผันผวนของค่าเงินบาท สำหรับอัตราการค้า คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามราคาน้ำมันที่เริ่มชะลอตัว และฐานราคาที่เริ่มสูงมากในปี 2565 อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนกุมภาพันธ์ 2566
อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 96.9 (เดือนมกราคม 2566 เท่ากับ 96.7) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกันสะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับเดือนมีนาคม 2566แนวโน้มอัตราการค้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก ประกอบกับฐานราคานำเข้าที่สูงมากในปี 2565 1. เทียบกับเดือนมกราคม 2566 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 2.0 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกผ่านท่าเรือ Ceyhanของประเทศตุรกีที่กลับมาดำเนินการได้ตามปกติหลังจากหยุดดำเนินการชั่วคราวจากเหตุแผ่นดินไหว ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ผักกระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่ม เนื่องจากต้นทุนและวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบเป็นอาหารแปรรูปสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น และน้ำตาลทราย เนื่องจากอินเดียจำกัดการส่งออกน้ำตาล ประกอบกับความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงความต้องการเอทานอลในภาคขนส่งเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามอุปทานที่มีจำกัด และความต้องการสินค้าใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ผลจากความต้องการบริโภคของตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ข้าว ราคาลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และความต้องการจากประเทศคู่ค้าชะลอตัว สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานตึงตัวจากการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรายใหญ่ และความต้องการใช้เป็นวัสดุทางการเกษตรเพิ่มขึ้น สำหรับรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และการกลับมาฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ทองคำ ผลจากความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้าเนื่องจากความต้องการที่ลดลงมากหลังจากช่วงก่อนหน้ามีการซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ไปแล้วจำนวนมาก เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงกำลังซื้อที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว 2.เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 2.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกแม้จะมีทิศทางชะลอลง แต่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 7.0 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ราคายังสูงขึ้น แต่มีทิศทางชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.1 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ โดยเฉพาะสินค้าน้ำมันปาล์ม สูงขึ้นตามทิศทางในตลาดโลก เนื่องจากมีการใช้น้ำมันปาล์มในภาคพลังงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับอินโดนีเซียปรับลดสัดส่วนการส่งออกน้ำมันปาล์ม สำหรับน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงประกอบกับความต้องการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.6 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ข้าว และไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยในช่วงปลายฤดูกาลผลิต และความต้องการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า จากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง ราคายังขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ ยางล้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทยอยฟื้นตัว เป็นต้น 3. เฉลี่ยม.ค. -ก.พ. ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 2.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 12.9 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ราคายังปรับตัวสูงกว่าช่วงปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมถึงรัสเซียปรับลดกำลังการผลิตทำให้อุปทานมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.2 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากผลของนโยบายควบคุมการส่งออกน้ำตาลของอินเดียหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ได้แก่ ข้าว ผลจากความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัว สำหรับยางพารา ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่อง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการสินค้ายังมีอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2566 1. เทียบกับเดือนมกราคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลงประกอบด้วยหมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 1.6 ได้แก่ น้ำมันดิบซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์น้ำมันปรับลดลง ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวสำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ลดลงจากปริมาณการสำรองก๊าซที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นไปอย่างช้า ๆ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำปรับตัวลดลง เนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่แข็งค่าทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง สำหรับปุ๋ย และยาจำกัดศัตรูพืชและสัตว์ ราคาลดลงตามสถานการณ์ราคาในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เนื่องจากกำลังซื้อชะลอตัวลง และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำให้ระดับราคาสินค้าเริ่มชะลอตัวลง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นตามสังคมผู้สูงอายุ และจากการทำงานของคนวัยทำงานที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น2. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 2.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือที่มีการเปิดตัวด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง สำหรับเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคที่มีความต้องการสูงขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และความต้องการมีสุขภาพที่ดี หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นในอัตราชะลอลงค่อนข้างมาก ร้อยละ 2.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.8 ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เชื้อเพลิงอื่น ๆ และถ่านหิน เนื่องจากมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เคมีภัณฑ์ และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอลูมิเนียมและทองแดง เนื่องจากอุปสงค์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศของจีน การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์โลหะ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ตามต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น และเริ่มกลับมาผลิตรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ผลิตหลายรายทยอยปรับขึ้นราคาจำหน่ายรถยนต์ ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2566 3. เฉลี่ยม.ค. -ก.พ. ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.0โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 9.4 ได้แก่ น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันโดยเฉพาะในภาคขนส่งเพิ่มขึ้น รวมถึงการกลับมาเติบโตของธุรกิจการบินนอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาปรับสูงขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับเกือบปกติ อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว ส่งผลให้ราคาสินค้าพลังงานมีแนวโน้มชะลอตัวลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตามความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพัฒนารุ่นใหม่ ๆ ที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรค จากการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ยังไม่คลี่คลาย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นผลจากความต้องการใช้ICที่สูงขึ้นมาก และการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลในทุกอุตสาหกรรมสำหรับสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะอลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ตามความต้องการใช้อลูมิเนียมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้นในยุโรปและจีน และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำด้วยเหล็ก จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในภาคก่อสร้าง และการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 96.9(เดือนมกราคม 2566 เท่ากับ 96.7) แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก
อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 96.9 (เดือนมกราคม 2566 เท่ากับ 96.7) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับเดือนมีนาคม 2566แนวโน้มอัตราการค้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก ประกอบกับฐานราคานำเข้าที่สูงมากในปี 2565
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบและกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ ทองคำ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทย เดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก ประกอบกับฐานราคานำเข้าที่สูงมากในปี 2565
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์