ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมีนาคม 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.5 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 43.4 จากระดับ 43.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 58.2 จากระดับ 58.5 สาเหตุการปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น โดยรวมมาจาก (1)เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะไม่ใช่ฤดูกาลของการท่องเที่ยวแต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (2)ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งประเภทดีเซลและเบนซิน (3)มาตรการช่วยเหลือด้านการลดค่าครองชีพและ การกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ยังคงดำเนินการ อาทิ การตรึงค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เป็นต้นและ (4)การอยู่ในช่วงเริ่มหาเสียงเพื่อเลือกตั้งในกลางเดือน พ.ค. ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งประชาชนส่วนมากมีการคาดหวังที่จะมี ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการเมือง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ประชาชนมีความกังวลต่อภาระค่าครองชีพที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าครัวเรือนที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.97รองลงมาคือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.39 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 9.23 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.68 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 8.16สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.04ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.40ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ3.67และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.46ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคกลาง จากระดับ 53.3มาอยู่ที่ระดับ 54.6 และภาคเหนือ จากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ51.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากระดับ 51.9มาอยู่ที่ระดับ51.1 โดยปัจจัยที่ส่งผล ต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และมาตรการของภาครัฐ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 53.0มาอยู่ที่ระดับ51.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐและการเมือง
ภาคใต้ จากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 52.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลกดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์