ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 3, 2023 11:28 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเมษายน 2566ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 53.5จากระดับ 52.3ในเดือนก่อนหน้าและอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สูงสุดในรอบ 52 เดือน (นับจากเดือนมกราคม 2562) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.3 จากระดับ 43.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 59.6 จากระดับ 58.2 สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวมมาจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะเดือนเมษายนที่อยู่ในช่วงของเทศกาลสงกรานต์ จึงเกิดการเดินทางของประชาชนทั้งในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม (2) การใกล้เข้าสู่ช่วงของการเลือกตั้งในกลางเดือน พ.ค. ส่งผลให้ประชาชนมีการคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศและ (3) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทดีเซลปรับลดลง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายค่าไฟฟ้าที่ปรับสูงขึ้นจากการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นในช่วงของฤดูร้อน ทำให้ประชาชนมีความกังวลต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.27 รองลงมาคือ การเมือง/การเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 13.40 มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.85 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 8.92 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.04 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.02ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 4.44 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 2.65และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.42 ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากระดับ 51.1มาอยู่ที่ระดับ 57.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคงและผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภาคเหนือ จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ52.3 และภาคใต้ จากระดับ 52.1มาอยู่ที่ระดับ52.4 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และมาตรการของภาครัฐ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคกลาง จากระดับ 54.6มาอยู่ที่ระดับ 54.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 51.6มาอยู่ที่ระดับ51.3 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง/การเลือกตั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลุ่มอาชีพ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เกษตรกร จากระดับ 50.8 มาอยู่ที่ระดับ 52.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตรและมาตรการของภาครัฐ

พนักงานเอกชน จากระดับ 50.2 มาอยู่ที่ระดับ52.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 55.7 มาอยู่ที่ระดับ 57.0โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง/การเลือกตั้ง

กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 51.1และพนักงานของรัฐ จากระดับ 57.1มาอยู่ที่ระดับ 57.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยการเมือง/การเลือกตั้ง และมาตรการของภาครัฐ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 52.9มาอยู่ที่ระดับ 52.2โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และมาตรการของภาครัฐ

กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 52.5 มาอยู่ที่ระดับ 49.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง/การเลือกตั้ง

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 56.4 อยู่ที่ระดับ57.2

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ