ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 107.19(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤษภาคม2565 (YoY)สูงขึ้น0.53 2. เดือนเมษายน 2566 (MoM) ลดลง-0.71 3.เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2566
สูงขึ้น2.96 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 107.19 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.53 (YoY)เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวมากขึ้น (เดือนเมษายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 2.67) โดยมีสาเหตุหลัก ดังนี้ ราคาค่ากระแสไฟฟ้าลดลง จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน ได้แก่ การต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่ากระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า 1 -300 หน่วยต่อเดือน การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150บาทต่อครัวเรือน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย และการปรับลดค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) รอบเดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2566 รวมทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงถึงร้อยละ 11.30 ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.83 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 26 เดือน นับจากเดือนมีนาคม 2564 ประกอบกับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และน้ำมันพืช เป็นสำคัญ และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ -0.71 (MoM)เมื่อเทียบเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 2.96 (AoA)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.55 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.06 (MoM) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.98 (AoA)1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.53(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.99 ตามการสูงขึ้นของกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 3.56 จากการสูงขึ้นของราคาขนมอบ ข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 5.13 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดร้อยละ 23.48 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว ต้นหอม และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 6.48 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม เงาะ และมะม่วง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.22 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม และกาแฟผงสำเร็จรูป กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 4.03 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 3.57 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.88 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาช่อน และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -1.21 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะขามเปียก และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.83 ตามการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -4.58 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -11.30 เป็นสำคัญ และหมวดเคหสถานร้อยละ -0.70 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และเครื่องซักผ้า สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.47 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดสตรี และเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.92 จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย แป้งทาผิวกาย และยาสีฟัน หมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯร้อยละ 1.49 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และอาหารสัตว์ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.69 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ สุรา และไวน์ และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุ 2. เทียบกับเดือนเมษายน 2566ลดลงร้อยละ -0.71(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.59 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของหมวดเคหสถานร้อยละ -2.87จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -1.41จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารเครื่องบิน สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.26 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล และเครื่องแบบมัธยมชายและหญิงหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.39 จากการสูงขึ้นของราคาโฟมล้างหน้า แป้งทาผิวกาย และสบู่ถูตัว หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ร้อยละ 0.25จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.02 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา และเบียร์ ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.51 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 0.97 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมเปรี้ยว กลุ่มผักสดร้อยละ 11.07 จากการสูงขึ้นของราคา ต้นหอม ผักคะน้า และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 0.25 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน ลองกอง และมังคุด กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.06 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต และกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.08จากการสูงขึ้นของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) ข้าวหมูแดง และปลากระป๋อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -0.69 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าเต้าหู้ และวุ้นเส้น กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.88 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และกุ้งขาว และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -0.01 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะทิสำเร็จรูป
*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.42 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าทุกกลุ่ม โดยกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 4.60 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ขนมอบ และข้าวสารเหนียว กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 2.64 จากการสูงขึ้นของราคาไก่สด ปลาทูและปลานิล กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.99 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมผง กลุ่มผักสดร้อยละ 15.67 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว มะเขือ และต้นหอม กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 8.98 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม เงาะ และส้มเขียวหวาน กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 1.44 จากการสูงขึ้นของราคาซีอิ๊ว น้ำพริกแกง และซอสหอยนางรม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.51 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 5.35 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 4.72 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.27 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.30 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดสตรี เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล และค่าจ้างซักรีดหมวดเคหสถานร้อยละ2.33 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.94จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย สบู่ถูตัว และยาสีฟัน หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 0.19จากการสูงขึ้นของราคา ค่ารถรับส่งนักเรียน และค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.45 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.83 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ ไวน์ และสุรา และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.04จากการสูงขึ้นของค่าส่งพัสดุในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ -0.45
รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค
การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 0.76 5.14 -1.92 2. ภาคกลาง 0.15 3.01 -1.71 3.ภาคเหนือ0.74 4.23 -1.82 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.82 4.01 -1.59 5. ภาคใต้0.11 3.38 -2.19 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอทุกภาค ซึ่งในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 0.82 รองลงมา ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 0.76 ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.74 และภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ0.15ในขณะที่ภาคใต้ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าทุกภาคที่ร้อยละ 0.11
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ อาหารเช้า อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) กับข้าวสำเร็จรูป ไก่สด และก๊าซหุงต้ม เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันพืช เป็นต้น
5. แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2566
คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่อง หรือมีโอกาสหดตัวได้ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มพลังงงาน โดยเฉพาะราคาน้ามันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มลดลงและอยู่ระดับต่ากว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก และค่ากระแสไฟฟาที่ปรับลดลงจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ฐานราคาที่ใช้คานวณเงินเฟอในเดือนมิถุนายน 2565 ค่อนข้างสูง ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพ และการกากับดูแลราคาสินค้าและบริการของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดาเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการยังอยู่ระดับสูง ทั้งราคาก๊าซหุงต้ม ค่าแรง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะทาให้เงินเฟอมีโอกาสผันผวนได้บ้าง ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟอทั่วไป ปี 2566 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7-2.7 (ค่ากลาง 2.2) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสาคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์