สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 113.3
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤษภาคม 2565 (YoY)ลดลง1.5 2. เดือนเมษายน 2566 (MoM)ลดลง0.2 3. เฉลี่ย5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2566
สูงขึ้น0.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA)Highlights
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 113.3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 ลดลงร้อยละ 1.5 (YoY)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลง (บิลเล็ต เศษเหล็กสินแร่เหล็ก) ขณะที่ดัชนีหมวดอื่น ๆ ราคาสูงขึ้นทุกหมวด อาทิ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากต้นทุนการผลิต ราคาพลังงานและค่าขนส่งที่สูงขึ้น หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.7 จากผลิตภัณฑ์สีประเภทต่าง ๆที่สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ และเคมีภัณฑ์
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.1 เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงก่อนหน้านี้ (บิลเล็ต เศษเหล็ก) รวมทั้งมีปริมาณเหล็กในตลาดสูงหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของสินค้าประเภทท่อพีวีซีและข้อต่อท่อประปา เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก) ปรับลดลง1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565(YoY)ลดลงร้อยละ 1.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ ไม้ฝา ไม้พื้น ไม้คาน วงกบหน้าต่าง และไม้โครงคร่าว เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทั้งวัตถุดิบและพลังงาน
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสมและปูนฉาบสำเร็จรูป เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน) และพลังงาน (ถ่านหิน) ปรับเพิ่มขึ้นและทรงตัวในระดับสูงจากปีก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตซีเมนต์
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตบล็อก พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และชีทไพล์คอนกรีต เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นจาก ราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย) และราคาพลังงาน
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 9.8 จากการลดลงของเหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อสแตนเลส ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี เหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลง (บิลเล็ต เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา กระเบื้องแกรนิตและกระเบื้องปูพื้น ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี วัสดุแต่งสี) และราคาพลังงาน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.7 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะคริลิค ทาภายในและภายนอก และน้ำมันเคลือบแข็ง ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ และความต้องการใช้ในการซ่อมแซมอาคารเพื่อรองรับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 สินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ที่ใส่กระดาษชำระ ราวแขวนผ้าติดผนัง และฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป จากความต้องการใช้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของท่อพีอี สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCTเป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง) ที่มีราคาสูงขึ้นก่อนหน้านี้ และความต้องการใช้สายไฟฟ้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มวัสดุธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นจากราคาพลังงาน และการขนส่ง รวมทั้งแหล่งผลิตที่มีน้อย 2.เทียบกับเดือนเมษายน 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ และหมวดวัสดุฉาบผิว รวมทุกหมวด-0.2 ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของ ผนังคอนกรีต
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของ ผนังคอนกรีตเสาเข็มคอนกรีต คอนกรีตบล็อก และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (หิน ทราย) รวมทั้งมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.1 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อสแตนเลส และ เหล็กแผ่นเรียบดำ เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงก่อนหน้านี้ (บิลเล็ต เศษเหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคากระเบื้องยางพีวีซีปูพื้น และกระเบื้องเคลือบปูพื้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ดิน หินแร่ สี วัสดุแต่งสี)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของกระจกเงา ราวแขวนผ้าติดผนัง และฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของท่อระบายน้ำเสียพีวีซี ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซี ท่อประปาและข้อต่อท่อประปา จากการลดลงของต้นทุนวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของวัสดุตามธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น และแหล่งผลิตที่มีน้อย
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.8 จากการสูงขึ้นของวงกบหน้าต่าง ไม้แบบไม้ฝา ไม้พื้น ไม้โครงคร่าว และบานประตู เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาพลังงาน(ถ่านหิน) รวมทั้งมีความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างของภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ชีทไพล์คอนกรีต คอนกรีตบล็อก พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีต และคานคอนกรีต เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย) และพลังงานสูงขึ้น
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็ก เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กตัวซี เหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี และท่อเหล็กสำเร็จรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลง (บิลเล็ต เศษเหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแกรนิต กระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องยางพีวีซีปูพื้น และกระเบื้องเคลือบบุผนัง ตามต้นทุนการผลิตทั้งราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นโลหะ สีทาถนน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน-นอกสีรองพื้นปูน และซิลิโคน เนื่องจากราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์สูงขึ้น (ผงสี ส่วนผสมที่เป็นเคมีภัณฑ์)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของสายน้ำดี ที่ใส่กระดาษชำระ กระจกเงา ราวแขวนผ้าติดผนัง และฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของท่อพีอี ตะแกรงกรองผง ถังบำบัดน้ำเสีย สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCT ตามการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (ดิน หิน ทราย) และฉนวนกันความร้อนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและราคาพลังงานที่สูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง มิถุนายน 2566 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ตามราคาสินค้าหมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ลดลงตามราคาพลังงานและสินค้าวัตถุดิบ (เศษเหล็ก บิลเล็ต) ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง อาจมีส่วนชะลอการซื้อและความต้องการลงทุนของเอกชนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีราคา มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สินค้าวัสดุก่อสร้างหมวดสำคัญ เช่น หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตจะยังคงขยายตัว เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ภาคการท่องเที่ยวและกำลังซื้อในประเทศ การขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน4. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2566 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง มิถุนายน 2566 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์