ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 56.6 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 46.5 จากระดับ 44.3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 63.3 จากระดับ 59.6 โดยมีปัจจัยสำคัญจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว (2) ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา และ (3) มาตรการจากภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชนในหลาย ๆ ด้าน จะเห็นได้ว่า หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน น่าจะช่วยให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤษภาคม 2566 ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 56.6 จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สูงสุดในรอบ 53 เดือน (นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562) และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 46.5 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.40รองลงมาคือ การเมือง/การเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 19.89 มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.66 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.77 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 6.92 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 5.75 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 4.07ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 2.12และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.41ตามลำดับ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากระดับ 57.2มาอยู่ที่ระดับ 59.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และสังคม/ความมั่นคง
ภาคกลาง จากระดับ 54.4มาอยู่ที่ระดับ 57.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และมาตรการของภาครัฐ
ภาคเหนือจากระดับ 52.3มาอยู่ที่ระดับ 55.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 51.3มาอยู่ที่ระดับ 56.5 และภาคใต้จากระดับ 52.4มาอยู่ที่ระดับ 54.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้งและมาตรการของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกกลุ่มอาชีพปรับตัวเพิ่มขึ้น เกษตรกรจากระดับ 52.1 มาอยู่ที่ระดับ 53.7 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตรและการเมือง/การเลือกตั้ง
พนักงานของรัฐ จากระดับ 57.3 มาอยู่ที่ระดับ 60.2 กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 57.0มาอยู่ที่ระดับ 59.3 พนักงานเอกชน จากระดับ 52.5มาอยู่ที่ระดับ 55.5และกลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 51.1มาอยู่ที่ระดับ 56.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยการเมือง/การเลือกตั้งและมาตรการของภาครัฐ
กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 52.2มาอยู่ที่ระดับ 58.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และสังคม/ความมั่นคง
กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 49.8มาอยู่ที่ระดับ 57.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง/การเลือกตั้ง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง จากระดับ 57.2อยู่ที่ระดับ 56.0 ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์