ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนพฤษภาคม 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 26, 2023 14:34 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาส่งออกเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 108.7 ดัชนีราคานำเข้าเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 109.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤษภาคม 2565 (YoY)สูงขึ้น0.3 1. เดือนพฤษภาคม 2565 (YoY)ลดลง3.6 2. เดือนเมษายน 2566 (MoM) ลดลง0.3 2. เดือนเมษายน 2566 (MoM) ลดลง2.1 3. เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2566

สูงขึ้น1.4 3. เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2566

สูงขึ้น0.5 เทียบกับปี 2565 (AoA)เทียบกับปี 2565 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤษภาคม 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 108.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 0.3 (YoY)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 0.9 สาเหตุหลักเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อในหลายสินค้า และส่งผลให้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นในอัตราชะลอลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 3.4 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอาหารสัตว์เลี้ยงน้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการของตลาด และต้นทุนวัตถุดิบสินค้าเกษตรเพื่อใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.1จากร้อยละ 2.4 ได้แก่ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวตามความต้องการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 1.2 ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตที่เริ่มคลี่คลาย สำหรับทองคำ ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่า ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวเร่งขึ้น ที่ร้อยละ 19.6 จากเดือนก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 9.2 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 109.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหดตัวเร่งขึ้น ที่ร้อยละ 3.6 (YoY) จากเดือนก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 0.3เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงมาก ที่ร้อยละ 22.2 จากลดลงร้อยละ 9.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากฐานราคาน้ำมันในช่วงก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ายังปรับสูงขึ้น แต่อยู่ในทิศทางชะลอลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ชะลอลงเล็กน้อย ที่ร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 2.2 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัล สำหรับทองคำ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และความต้องการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภคเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากร้อยละ 2.3 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 1.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น สำหรับหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และรถยนต์นั่ง เป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มกลับมาฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ 4) ราคาน้ำมันปรับลดลงจากปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก ตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 5)ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง และปัจจัยฐานที่เริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง อาจทำให้แนวโน้มราคาส่งออกและนำเข้าในระยะข้างหน้าไม่ปรับลดลงมากอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนพฤษภาคม 2566

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0 (เดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 17ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราการค้า เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2566 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นบางหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออกสำคัญอย่างจีนที่กลับมาเปิดประเทศ ข้าว ราคาสูงขึ้นจากสต๊อกข้าวโลกลดลง ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาส่งออกข้าวไทยสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลและอาหารสัตว์ ประกอบกับผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังปรับเพิ่มประมาณการผลผลิต จึงทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นจากการทยอยรับรองมาตรฐานโรงงานส่งออกไก่ของไทย ตลอดจนประเทศคู่แข่งอย่างมาเลเซียระงับการส่งออกไก่ชั่วคราวจากปัญหาอุปทานไก่ที่ขาดแคลน และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากน้ำตาลทราย ตามอุปทานน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่ตึงตัวและผลผลิตของหลายประเทศลดลง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวตามความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องที่ไทยเป็นผู้ส่งออกลำดับต้นๆ ของโลก และสิ่งปรุงรสอาหาร ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 8.5 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกที่หดตัวแตะระดับ 75-78 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หลังเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ ความกังวลต่อภาคเศรษฐกิจและการธนาคารของหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโลก และความต้องการใช้น้ำมันเช่นกัน และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 จากแรงหนุนของหลายกลุ่มสินค้า ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยราคามีแนวโน้มลดลงจากความร่วมมือระหว่างจีนและเกาหลีใต้ ที่จะแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานของชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งยอดสั่งซื้อลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้พนักงานทั่วโลกกลับมาทำงานที่สำนักงาน และเม็ดพลาสติก ราคาลดลงจากความกังวลด้านเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน และประกอบกับกลุ่มสินค้าเอทิลีนที่ยังมีสต็อกอยู่มาก

2.เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ3.0 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวตามความต้องการใช้ประกอบอาหารโดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋อง สะท้อนจาก AtunaIndexของเว็บไซต์ชั้นนำด้านอุตสาหกรรมปลาทูน่า เดือนพฤษภาคม 2566ขยายตัวร้อยละ 5.2(YoY)อาหารสัตว์เลี้ยง ยังเติบโตได้ดี โดยได้รับอานิสงส์จาก0.3 ความต้องการสัตว์เลี้ยงในช่วงโควิด -19น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้อากาศร้อนและแห้งเล้ง กระทบต่อผลผลิตในประเทศผู้ผลิตหลัก และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ2.1 โดยเฉพาะข้าวสาลี ที่ราคาสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า จากสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครนหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ที่ราคายังคงสูง3.0 เมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP)ไก่ ตามความต้องสินค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการส่งออกเพื่อทดแทนประเทศคู่แข่งอย่างมาเลเซีย ที่ระงับการส่งออกไก่ชั่วคราวจากปัญหาอุปทานไก่ที่ขาดแคลน ข้าว ราคาสูงขึ้นตามความต้องการของประเทศคู่ค้าต่อเนื่อง รวมถึงเวียดนามซึ่งเป็นผู้ค้าข้าว1.0

รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ปรับกลยุทธ์การส่งออกข้าวโดยตั้งเป้าลดส่งออกข้าวปกติ เน้นส่งออกข้าวพรีเมี่ยมแทน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่ยังคงมีความต้องการสูงจากจีนที่ผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์และอาหารสัตว์ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์นั่งและรถกระบะที่เพิ่มขึ้น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ที่การผลิตขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี ตามสภาพอากาศที่ร้อน ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวร้อยละ 19.6 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ในกลุ่มน้ำมันดีเซล ที่ราคาปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจากตลาดที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปทานในภูมิภาคที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งน้ำมันดิบ ที่ราคาลดลงจากความกังวลต่อภาคเศรษฐกิจและธนาคารของหลายประเทศ และการเพิ่มกำลังการผลิตของสหรัฐฯ จากแหล่งชั้นหินดินดานขนาดใหญ่ที่สุดจำนวน 7 แห่ง

3. เฉลี่ยม.ค. -พ.ค. ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 1.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ราคาสูงขึ้นจากความต้องการของตลาดโลก น้ำตาลทราย จากผู้ส่งออกสำคัญอย่างอินเดียที่ยังไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลเพิ่ม และได้ปรับประมาณการการผลิตน้ำตาลทรายลง เพราะปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวสูงสุดในรอบกว่า 2ทศวรรษ อาทิ จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวและข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.2 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการนำเข้าเพิ่มหลังจากจีนเปิดประเทศ ข้าว ราคาสูงจากสต็อกข้าวโลกที่ลดลง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่ได้รับอานิสงส์จากสต็อกข้าวโพดซึ่งเป็นสินค้าทดแทนลดลง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปตามความต้องการอย่างต่อเนื่องจากประเทศคู่ค้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จากความต้องการใช้ชิ้นส่วนเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยี ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งราคาเพิ่มตามตลาดยานยนต์ทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเพื่อการผลิตเริ่มคลี่คลาย ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.3 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง

4. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนมิถุนายน 2566

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นผลมาจาก(1) เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ายังคงเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ (2) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง(3) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว (4)ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง (5) ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนพฤษภาคม 2566

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 2.1โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 8.9 ได้แก่น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ประกอบกับอุปทานน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาลดลงเนื่องจากความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคาปรับตัวลดลง เนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 16 ปี ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง สำหรับเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตลดลง ขณะที่ปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณสต็อกยังอยู่ในระดับสูง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.4 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการชะลอลงและหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ลดลงโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากสินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง และความต้องการใช้ปรับตัวลดลง ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรค ซึ่งเป็นผลจากกระแสการใส่ใจในสุขภาพ และความต้องการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เนื่องจากความต้องการใช้ในการบริโภคมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 3.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 22.2 ติดลบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 9.2 ได้แก่น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามความต้องการใช้ที่ชะลอลงขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนโลยี 5Gและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคInternet of Thingและเคมีภัณฑ์ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคาปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตสถาบันการเงินธนาคารสหรัฐฯ และการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ความต้องการซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆและสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ยังขยายตัวตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และรถยนต์นั่ง เป็นผลจากสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลาย ทำให้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และการเปิดตัวรถยนต์โมเดลใหม่โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนพฤษภาคม 2566 3. เฉลี่ยม.ค. -พ.ค. ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเคมีภัณฑ์ ตามทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ขยายตัวดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนที่เริ่มฟื้นตัว ขณะที่หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 6.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ทั่วโลกปรับตัวลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวสำหรับหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ รถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยานราคาปรับตัวสูงขึ้นจากตลาดยานยนต์ทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซิมิคอนดักเตอร์เพื่อการผลิตเริ่มคลี่คลาย

ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนพฤษภาคม 2566

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0(เดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0 (เดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

          แนวโน้มอัตราการค้าไทย เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นหากราคาน้ำมันยังอยู่ในทิศทางชะลอลง          ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ