ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2566 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 6, 2023 13:16 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 107.83(ปีฐาน 2562 =100)

Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนมิถุนายน 2566เท่ากับ 107.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.23 (YoY)ชะลอตัวจากร้อยละ 0.53 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักจากการชะลอตัวของราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -16.03ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 35 เดือน และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 0.60 (MoM)โดยมีสาเหตุหลักจากสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.05 จากการสิ้นสุดมาตรการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาทต่อครัวเรือน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ในขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.02 เนื่องจากราคาผักสดมีแนวโน้มลดลง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก และราคาเนื้อสุกรยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น เมื่อเทียบเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 2.49 (AoA)

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.32 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM) และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. มิ.ย.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.87 (AoA)1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.23(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.37 ตามการสูงขึ้นของกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 2.98 จากการสูงขึ้นของราคาขนมอบ ข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 8.87 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 18.07จากการสูงขึ้นของราคามะนาว ผักคะน้า และกะหล่ำปลี กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 11.97จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ แตงโม และทุเรียน กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.25 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 3.48 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 3.32 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้าและอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -3.00 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และไส้กรอก และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -2.28จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.88 ตามการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -6.91 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -16.03 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.45 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดสตรี เครื่องแบบนักเรียนอนุบาลและมัธยม หมวดเคหสถานร้อยละ 2.04 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.80 จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย แป้งทาผิวกาย และกระดาษชำระ หมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯร้อยละ 0.70 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียนค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และอาหารสัตว์เลี้ยง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.65 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ สุรา และไวน์ และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.13จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุ 2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566สูงขึ้นร้อยละ 0.60(MoM)ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศเดือนมิถุนายน 2566และไตรมาสที่ 2ปี 2566 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.05 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.02จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล ค่าจ้างซักรีด และเครื่องแบบมัธยมชายและหญิงหมวดเคหสถานร้อยละ 2.90 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน และน้ำยาปรับผ้านุ่ม และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.06 จากการสูงขึ้นของราคาค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ -0.06จากการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว และโฟมล้างหน้า หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -0.06 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.04จากการลดลงของราคาเครื่องถวายพระ ค่าทัศนาจรในประเทศและต่างประเทศ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ และไวน์ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.02 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -0.02 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าแป้งข้าวเจ้า และเส้นหมี่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.31 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู กลุ่มผักสดร้อยละ -2.08 จากการลดลงของราคามะเขือ มะนาว และผักบุ้ง กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ -0.04จากการลดลงของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 1.61 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ด และนมเปรี้ยว กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.46 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน ส้มเขียวหวาน และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.03จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย เครื่องปรุงรส และซอสพริก กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.23 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำดื่ม และน้ำหวาน และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.01จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า

3. เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.49(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.07 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าทุกกลุ่ม โดยกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 4.32จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ขนมอบ และข้าวสารเหนียว กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 1.67 จากการสูงขึ้นของราคาไก่สด ปลาทูและปลานิล กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 7.31 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 16.08 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว มะเขือ และต้นหอม กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 9.49 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ แตงโม และลองกอง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.80 จากการสูงขึ้นของราคาซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.47 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 5.04 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 4.47 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.72 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.33 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดสตรี เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล และค่าจ้างซักรีดหมวดเคหสถานร้อยละ2.29 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.92 จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน และแป้งทาผิวกาย หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.32จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.80 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ ไวน์และสุรา และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.06จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และ ค่าส่งพัสดุ ในขณะที่หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.05จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ

4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.14(YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.96 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 3.88 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.32 กลุ่มผักสดร้อยละ 16.49 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 9.30 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.33 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 3.92 และ 3.49 ตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ -0.28และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -1.16 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.79 จากการลดลงของสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -3.92ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -9.80 ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.40 หมวดเคหสถานร้อยละ 1.45 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.85 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.22 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.67และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.09

5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลงร้อยละ -0.31(QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.66 จากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดเคหสถานร้อยละ -0.89 และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -0.95 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -2.41ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.23หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.37 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.20 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.08 และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ0.07 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.17 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 1.91 กลุ่มผักสดร้อยละ 5.92 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 3.82 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.92 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.28 และ 0.21 ตามลำดับ ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -0.06กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ -2.26 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -0.25

ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศเดือนมิถุนายน 2566 และไตรมาสที่2 ปี 2566

สนักงนนโยบยและยุทธศสตร์กรค (สนค.)6. อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนมิถุนายน 2566

อัตราการเปลี่ยนแปลง(YoY) จำแนกรายภาค มีรายละเอียดดังนี้

รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1.04 4.87 -1.31 2. ภาคกลาง -0.01 2.83 -1.85 3.ภาคเหนือ0.05 3.00 -2.11 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.13 3.03 -2.06 5. ภาคใต้-0.48 2.58 -2.63 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยขยายตัวร้อยละ 1.04 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.13 และ 0.05 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคกลางและภาคใต้ หดตัวที่ร้อยละ -0.01 และ -0.48 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) กับข้าวสำเร็จรูป ไข่ไก่และก๊าซหุงต้ม เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันพืช เป็นต้น

7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มทรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง ราคาอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ที่คาดว่าจะลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป มีแนวโน้มสูงขึ้นจากอิทธิพลของภัยแล้ง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งของโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค และมาตรการรัฐต่าง ๆรวมทั้งภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาด ยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดได้

ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7 -2.7 (ค่ากลาง 2.2)ในเดือนเมษายน 2566 เป็นระหว่างร้อยละ 1.0 -2.0(ค่ากลาง 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ