สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 113.0
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมิถุนายน 2565 (YoY)ลดลง-0.9 2.เดือนพฤษภาคม 2566 (MoM)ลดลง-0.3 3.เฉลี่ย6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2566
สูงขึ้น0.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA)4.ไตรมาสที่2ปี 2566เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ลดลง-1.3 ของปี 2565 (YoY)5. ไตรมาสที่2ปี 2566
ไม่เปลี่ยนแปลง0.0 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ)Highlights
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 113.0 เมื่อเทียบกับ เดือนมิถุนายน 2565 ลดลงร้อยละ 0.9 (YoY)เป็นผลจากการลดลงของหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 6.5 สอดคล้องกับราคาตลาดโลกที่ลดลง เนื่องจากราคาวัตถุดิบและพลังงานลดลง (บิลเล็ต สินแร่เหล็ก เศษเหล็ก น้ำมัน) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของยางมะตอย ขณะที่ดัชนีหมวดอื่น ๆ สูงขึ้น เกือบทุกหมวด อาทิ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์ เนื่องจากความต้องใช้ในโครงการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากอานิสงส์ของการขยายตัวในภาคการท่องเที่ยว ยกเว้นหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีทิศทางชะลอลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสุขภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น สาเหตุจาก การก่อสร้างภาคเอกชนชะลอตัว โดยมีปัจจัยลบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565(YoY)ลดลงร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากการสูงขึ้นของไม้โครงคร่าว วงกบประตู-หน้าต่าง แผ่นไม้อัด ไม้แบบ ไม้ฝา และไม้พื้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน) ปรับสูงขึ้น จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบ พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 6.5 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ข้ออ้อย และท่อเหล็กเคลือบสังกะสี เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลง (บิลเล็ต เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี วัสดุแต่งสี)
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากการสูงขึ้นของสีน้ำอะคริลิคทาภายในและภายนอก สีรองพื้นปูน -พื้นโลหะ และสีเคลือบน้ำมัน ตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของอ่างล้างหน้าเซรามิก และที่ปัสสาวะเซรามิก จากความต้องการใช้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ไม่เปลี่ยนแปลงหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของอลูมิเนียมแผ่นเรียบ อลูมิเนียมเส้น และวงกบอลูมิเนียม ที่ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ราคาปรับลดลงจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2.เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากการก่อสร้างชะลอตัวทำให้ผู้ประกอบการต้องการระบายสินค้าจึงปรับราคาลง
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของท่อเหล็กดำ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย เหล็กตัวซี เหล็กฉาก และเหล็กรางน้ำ เนื่องจาก ราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต เศษเหล็ก) และราคาน้ำมันที่ปรับราคาลง
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก ที่ปัสสาวะเซรามิก และที่ใส่กระดาษชำระ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าสูงขึ้น จากค่าเงินบาทอ่อน
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของท่อ PVC ข้องอท่อประปา ข้อต่อท่อประปา สามทางท่อประปา และท่อระบายน้ำเสียPVC จากการลดลงของต้นทุนวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของอลูมิเนียมแผ่นเรียบ ที่ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) และยางมะตอย ที่ปรับลดลงตามราคา
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดกระเบื้อง และหมวดวัสดุฉาบผิว ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.7 3. เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้(%) AoA หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.7 จากการสูงขึ้นของไม้โครงคร่าว วงกบประตู-หน้าต่าง บานประตู ไม้แบบ ไม้ฝา และไม้พื้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตรวมทุกหมวด0.4 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า6.7 หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ(แร่ยิปซั่ม หินดินดาน) ปรับสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของพื้นคอนกรีต3.2 หมวดซีเมนต์สำเร็จรูปอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตสำเร็จรูป ท่อระบายน้ำคอนกรีต คอนกรีตหยาบ และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต1.8 สูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.4 จากการลดลงของเหล็กตัวซี -4.4 เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี และท่อสแตนเลส เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลง (บิลเล็ต เศษเหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องแกรนิต หมวดกระเบื้อง
0.9
และปูพื้น จากความต้องการใช้ในการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นปูน -พื้นโลหะ หมวดวัสดุฉาบผิว3.4 สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอกน้ำมันเคลือบแข็ง และซิลิโคน เนื่องจาก ราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์สูงขึ้น (ผงสี กาว)หมวดสุขภัณฑ์1.2 หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก ที่ใส่สบู่ และกระจกเงา เนื่องจาก ความต้องการใช้ในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น0.8 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของสายไฟฟ้า VCT สายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ1.7 ตามการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.7 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (ดิน หิน ทราย) เนื่องจากแหล่งผลิตลดลง และฉนวนกันความร้อนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)4.ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลงร้อยละ 1.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้(%) YoY หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.0 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น รวมทุกหมวด-1.3 ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น6.0 หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน)หมวดซีเมนต์1.5 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากการสูงขึ้นของ เสาเข็มคอนกรีต พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และคานคอนกรีต เนื่องจากราคาวัตถุดิบหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต
4.0
ปรับสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก-2.8 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.8 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย เหล็กตัวซี เหล็กฉาก และเหล็กรางน้ำ หมวดกระเบื้อง
-0.5 จากการลดลงของราคาวัตถุดิบในการผลิต (บิลเล็ต เศษเหล็ก) 5.4 หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของกระเบื้องมุงหลังคา หมวดวัสดุฉาบผิวกระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องเคลือบปูพื้น เนื่องจากการก่อสร้างภาคเอกชนชะลอตัว
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 5.4 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน หมวดสุขภัณฑ์ 1.2 สีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะครีลิคทาภายในและภายนอก สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ (ผงสี กาว)หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา-1.6 หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ-1.3 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 1.6 ลดลงจากท่อPVC และข้อต่อท่อประปา ต้นทุนลดลงตามราคาของวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.3 จากการลดลงของอลูมิเนียมเส้น อลูมิเนียมแผ่นเรียบ ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) และยางมะตอย ที่ลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม5.ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีรายละเอียด ดังนี้(%) QoQ
รวมทุกหมวดหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง0.0
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้0.0
อุปสงค์ ในภาคการก่อสร้างที่สูงขึ้นทั้งโครงสร้างภาครัฐและภาคเอกชน
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นในกลุ่มคอนกรีตหมวดซีเมนต์0.6
ประเภทโครงสร้าง ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีต พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และคานคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต
0.5
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของเหล็กตัวซีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก-0.9
ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลกและวัตถุดิบ (เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบบุผนัง หมวดกระเบื้อง
0.5
กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องแกรนิต เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น หมวดวัสดุฉาบผิว2.6 หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากการสูงขึ้นของสีน้ำอะครีลิค ทาภายในและภายนอก น้ำมันเคลือบแข็ง น้ำยากันซึม และซิลิโคน หมวดสุขภัณฑ์0.7 จากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ผงสี กาว)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นจากสินค้าประเภทเซรามิก หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา0.2 ได้แก่ อ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก เป็นต้น ตามความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ0.0 สายเคเบิล THWสายไฟฟ้า VCTและสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYเนื่องจากต้นทุน
เล็กน้อย ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดวัสดุฉาบผิว จากต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งค่าแรง และ ค่ากระแสไฟฟ้า อีกทั้งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการใช้งานในโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนตามกำลังซื้อในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์ ราคาพลังงานและสินค้าปัจจัยการผลิต (น้ำมันดิบ ถ่านหิน) ที่มีแนวโน้มอยู่ระดับต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง เงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะมีส่วนให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น อาจชะลอการซื้อและความต้องการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับลดลงกว่าที่คาดไว้6. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสที่ 3 ปี 256 6ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เล็กน้อย ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์