เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 0.4 โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงตามราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลงต่อเนื่องทั้งตลาดเอเชียและจีน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงจากราคาวัสดุธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) ลดลงเนื่องจากต้นทุนลดลงจากค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตปรับลดลงตามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขณะที่ดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า1. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565(YoY)ลดลงร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.6 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน ไม้โครงคร่าว และไม้แบบ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน) ที่สูงขึ้นจาก ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีต ท่อระบายน้ำคอนกรีต คอนกรีตหยาบ ผนังคอนกรีต และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.1 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ข้ออ้อย เหล็กฉาก ท่อเหล็กดำ และเหล็กแผ่นเรียบดำ ตามราคาเหล็ก ในตลาดโลกทั้งตลาดเอเซียและจีนที่ลดลงเนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากปัญหา ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ซบเซา
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องยาง PVCปูพื้น และกระเบื้องเคลือบปูพื้น ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี วัสดุแต่งสี)
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.4 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน และสีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก กระจกเงา และสายฉีดชำระ จากความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงการภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของสายไฟฟ้า VCT สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายเคเบิล THWสูงขึ้นตามความต้องการใช้สายไฟฟ้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐและภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของอลูมิเนียมแผ่นเรียบ อลูมิเนียมเส้น และวงกบอลูมิเนียม ที่ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) รวมทั้งยางมะตอยที่ราคาปรับลดลงจากการแข่งขันที่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมา
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากกการสูงขึ้นของไม้คาน ไม้แบบไม้โครงคร่าว วงกบประตูและบานประตู จากการสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต 0.2 หมวดซีเมนต์ ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง0.0 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กดำ และเหล็กแผ่นเรียบดำ 0.0 ตามราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงทั้งตลาดเอเชียและจีน
หมวดกระเบื้อง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของซิลิโคน เนื่องจาก0.0 ผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
หมวดสุขภัณฑ์ ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.7 จากการลดลงของสินค้า
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.7 จากการลดลงของสินค้า วัสดุธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) เนื่องจากต้นทุนลดลงจากค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตปรับลดลง และยางมะตอยที่ราคาปรับลดลงเนื่องจากการแข่งขันสูงขณะที่ความต้องการใช้ชะลอลง3. เฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. -ก.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.7 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ และแผ่นไม้อัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป ตามความต้องการใช้อย่างต่อเนื่องในโครงการก่อสร้างของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบคอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และท่อระบายน้ำคอนกรีต เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.4 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี และท่อเหล็กดำ ตามราคาเหล็ก ในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงทั้งตลาดเอเชียและจีน
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องยาง PVCปูพื้น กระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องแกรนิต จากความต้องการใช้ ในการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.6 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ และน้ำมันเคลือบแข็ง เนื่องจากราคาวัตถุดิบบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก ที่ใส่สบู่ และกระจกเงา เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของ สายเคเบิล THWสายไฟฟ้า VAFและสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYตามการสูงขึ้น ของต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (ดิน หิน ทราย) เนื่องจากแหล่งผลิตมีน้อย และฉนวนกันความร้อนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ 4. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2566
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนสิงหาคม ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย ตามการสูงขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นปัจจัยการผลิต (วัตถุดิบ) เนื่องจากการจำกัดการผลิตและส่งออกน้ำมันของผู้ผลิตรายสำคัญของโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ทั้งการอุปโภคบริโภค ตลอดจนด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่มีส่วนให้อุปสงค์และราคาสินค้าดังกล่าวมีโอกาสสูงขึ้นได้ ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่องและอาจจะมีการเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จเพื่อการเบิกจ่ายในปลายปีงบประมาณนี้ นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตบางประเภท อาทิ ค่าขนส่ง ค่าแรง และค่ากระแสไฟฟ้า ที่อยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ราคาสินค้าบางหมวด อาทิ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุฉาบผิว ปรับตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจชะลอความต้องการซื้อและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับราคาเหล็กที่ยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมา จะส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์