ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)สูงขึ้น0.1
ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ลดลง-1.5 Highlights
ดัชนีราคาส่งออก เดือนมิถุนายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 108.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.4 (YoY)เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 31 เดือน จากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปัจจัยหลักเป็นผลจากฐานราคาในเดือนมิถุนายน 2565 ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอลง และส่งผลให้หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 24.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกยังคงปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และข้าว เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการสินค้าเกษตรยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการบริโภค และต้นทุนวัตถุดิบสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตที่เริ่มคลี่คลาย สำหรับทองคำ ราคายังปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 108.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหดตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง ที่ร้อยละ 5.2 (YoY) จากเดือนก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 3.6 โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ที่ลดลงร้อยละ 27.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากฐานราคาน้ำมันในช่วงก่อนหน้าที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ายังปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลสำหรับทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภคเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน เป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มกลับมาฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เล็กน้อย โดยมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ 4) ราคาน้ำมันปรับลดลงจากปี 2565 ค่อนข้างมาก ตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 5)ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ปัญหาสถาบันการเงินภายในประเทศเศรษฐกิจหลัก ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ อาจส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง อาจทำให้แนวโน้มราคาส่งออกและราคานำเข้าในระยะข้างหน้าไม่ปรับลดลงมาก
อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมิถุนายน 2566 อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7 (เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราการค้า เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้าจะมีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์โทร 0 2507 5821 1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.9โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่น้ำมันดิบ เป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และกดดันให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับเพิ่มขึ้นสำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาลดลงเนื่องจากความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลง รวมถึงปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติยังอยู่ในระดับสูง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำโดยเฉพาะทองคำ ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯ กลับมาแข็งค่า ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง สำหรับเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลจากการบริโภคหดตัวตามอุปสงค์เหล็กในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงซบเซา โดยความต้องการใช้เหล็กที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อาจลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตลดลง ประกอบกับเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลงขณะที่ปุ๋ย ราคาลดลงตามทิศทางราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง รวมถึงจีน อิหร่าน และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตอีกแหล่งที่สำคัญขายในราคาที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกอ่อนตัวลง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.4 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์เป็นสำคัญ ตามความต้องการชะลอลง และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ทำจากยาง ตามความต้องการลงทุนที่ลดลงโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการซื้อ คอมพิวเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กาแฟ ชา เครื่องเทศ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เนื่องจากความต้องการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ และสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เนื่องจากความต้องการใช้ในการบริโภคมีแนวโน้มลดลง2. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 5.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 27.3 ติดลบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 22.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามความต้องการใช้ที่ชะลอลง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ อาทิ ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรพิมพ์ มีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ วิกฤตสถาบันการเงินธนาคาร ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง และเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน ขยายตัวตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เป็นผลจากการฟื้นตัวของตลาดยานยนต์ในประเทศประกอบกับสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลาย ทำให้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นประกอบกับความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวดีตามภาคการก่อสร้าง และการเปิดตัวรถยนต์โมเดลใหม่โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบเนื่องจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ส่งผลให้ความต้องการใช้เครื่องมือแพทย์มีมากขึ้น3. เฉลี่ย(ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA)ลดลงร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือหมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 10.7 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ทั่วโลกปรับตัวลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.9 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนและวัตถุดิบของผู้ผลิตยาในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับเคมีภัณฑ์ ตามทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ขยายตัวดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลเรื่องนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ราคายังปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ราคาปรับตัวสูงขึ้น จากตลาดยานยนต์ทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพื่อการผลิตเริ่มคลี่คลาย รวมถึงแนวโน้มความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการก่อสร้าง4. ไตรมาสที่ 2ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY) ลดลงร้อยละ 3.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 19.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามทิศทางราคาพลังงานโลกที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ที่ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูปตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความต้องการในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการใช้ในการอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มขึ้นและผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ตามความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการปรับตัวดีขึ้นของภาคเอกชน และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ 1.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงจากสภาวะอากาศที่อบอุ่นขึ้น ประกอบกับปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง หมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โควิด -19 ที่คลี่คลาย ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอลง ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอตัวและหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงตามรุ่นสินค้าที่มีการยกเลิกสายการผลิตและ0.3 ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ 0.3 ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลายส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ตามความต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง6. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม2566 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศอาจปรับตัวสูงขึ้น ภายหลังรัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ราคาน้ำมันที่ยังปรับลดลงมากกว่าปี 2565 และค่าระวางเรือที่ลดลง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลงได้
อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7(เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก
อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7 (เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
แนวโน้มอัตราการค้า เดือนกรกฎาคม 2566 อาจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้าจะมีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก