ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกรกฎาคม 2566 ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 53.3จากระดับ 56.1ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8(นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 44.6จากระดับ 46.2และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 59.1จากระดับ 62.6สาเหตุการปรับลดลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมคาดว่ามาจาก 1)เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่คาด 2)ปัจจัยทางการเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่มีความชัดเจน และ 3)ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนยังอยู่ในระดับเชื่อมั่นและมีมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ต่างๆว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อไปปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.99รองลงมา คือ การเมือง คิดเป็นร้อยละ 21.27 มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 8.75สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.48ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็น ร้อยละ 7.17ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 5.84 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ4.95 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.63และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.92ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงทุกภาค
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 56.6มาอยู่ที่ระดับ 53.5เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และการเมือง
ภาคกลาง จากระดับ 56.6 มาอยู่ที่ระดับ 53.4 ภาคเหนือจากระดับ 54.3มาอยู่ที่ระดับ 53.6 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 57.7 มาอยู่ที่ระดับ 54.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของภาครัฐ
ภาคใต้จากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 51.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และราคาสินค้าเกษตร
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงทุกกลุ่มอาชีพ
เกษตรกร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง จากระดับ 56.5มาอยู่ที่ระดับ 52.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และการเมือง
พนักงานของรัฐ จากระดับ 59.6 มาอยู่ที่ระดับ 57.9 นักศึกษา จากระดับ 56.8 มาอยู่ที่ระดับ 49.5 พนักงานเอกชน จากระดับ 54.4 มาอยู่ที่ระดับ 52.4 และไม่ได้ทำงาน จากระดับ 55.0มาอยู่ที่ระดับ 48.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และสังคม/ความมั่นคง
ผู้ประกอบการ จากระดับ 57.3 มาอยู่ที่ระดับ 55.7 และรับจ้างอิสระ จากระดับ 54.5 มาอยู่ที่ระดับ 50.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง จากระดับ 54.7มาอยู่ที่ระดับ 46.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ